ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ นำหัวหน้าส่วนราชการลงเรือ กว่า 2 ชั่วโมง ลงพื้นที่เยี่ยมครอบครัวกลุ่มเปราะบางในพื้นที่ห่างไกล ที่บ้านห้วยต้า อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์

วันที่ลงข่าว: 19/11/24

          วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน 2567 เวลา 08.30น.นายศิริวัฒน์  บุปผาเจริญ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ พร้อมด้วยนางสายสมร ทองกองทุน รองนายกเหล่ากาชาดจังหวัด คลังจังหวัด พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงเรือไปบ้านห้วยต้า หมู่ที่ 4 ตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อเยี่ยมและให้กำลังใจผู้ประสบปัญหาทางสังคมในพื้นที่ห่างไกล ตามโครงการ พม.หนึ่งเดียวจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ได้มอบถุงยังชีพ เงินสงเคราะห์ ไม้เท้ากั้านร่ม ให้กับผู้เปราะบาง จำนวน 5 คนครอบครัว จากนั้นสำนักงานคลังจังหวัดอุตรดิตถ์ได้เยี่ยมกลุ่มเปราะบางที่ได้รับเงินดิจิทัล10,000บาท ชึ่งกลุ่มเปราะบางที่ได้รับเงินจำนวนนี้ต่างขอบคุณที่รัฐบาลจัดโครงการดีๆนี้เพื่อประชาชน เงินที่ได้เอามาซื้อของใช้ของกินที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน  ทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

          นางส่น วีระธิ อายุ 56 ปี  ผู้ป่วยติดเตียงกล่าวว่าตนเองป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว ได้สามีคอยดูแล ทุกวันนี้ได้เบี้ยคนพิการเดือนละ800 บาทได้รับสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐและได้รับเงินตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ10,000 บาทรู้สึกดีใจมากอยากให้รัฐบาลมีโครงการแบบนี้ไปเรื่อยๆและขอบคุณท่านผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ห่วงใยและไม่ทอดทิ้งประชาชนในพื้นที่ห่างไกล ถึงแม้ว่าจะเป็นวันหยุดก็ตาม หลังจากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์และคณะได้ลงพื้นที่ไปดูแลบำรุงต้นไม้ทรงปลูก ได้แก่ตะเคียนเต็งและต้นโมกมัน เป็นต้นไม้ที่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงปลูกไว้เมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2537 และ15 กุมภาพันธ์ 2548

           บ้านห้วยต้า ตั้งอยู่หมู่ 4 ต.นางพญา อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ อยู่กลางหุบเขา เหนืออ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ มีประชากรทั้งหมดประมาณ 474 คน มี 221 หลังคาเรือน เป็นหมู่บ้านที่อพยพออกจากพื้นที่เดิมเพื่อเสียสละที่อยู่อาศัยให้กับการสร้างเขื่อนสิริกิติ์ ไม่มีถนนสำหรับรถยนต์เพื่อเชื่อมกับโลกภายนอก การสัญจรต้องใช้ทางเรือโดยสารอย่างเดียว ต้องใช้เวลาเดินทางนานกว่า 2 ชั่วโมง กว่าจะถึงฝั่งที่บ้านท่าเรือ หากเป็นเรือเร็วก็ใช้เวลา 30 นาที อาชีพของชาวบ้านส่วนใหญ่ทำการเกษตรและประมง วิถีชีวิตชีวิตเป็นไปอย่างเรียบง่ายและสงบ.

ที่มาของข่าว สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก