รู้จัก มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม เปลี่ยนชีวิต สร้างงานเพื่อผู้พิการ
เป็นเรื่องราวของ 2 ผู้พิการที่ได้รับการเปิดเผยถึงเรื่องราวชีวิตจากคนที่เคยมีอนาคตสดใส แต่วันหนึ่งต้องกลายเป็นผู้พิการ คนหนึ่งตาบอดเพราะการจ่ายยาหยอดตาแรงเกินขนาด และ อีกคนพิการเพราะสู้กับโจรแต่ถูกยิงใส่กลางหลัง
โดยเรื่องราวของทั้งสองคนพบว่า ได้รับการช่วยเหลือให้กลับมามีอนาคตสดใสอีกครั้ง มีอาชีพหาเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ ด้วยความช่วยเหลือของ “มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม” สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
รู้จัก “มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม”
มูลนิธิทำงานประสานกับเครือข่ายที่ทำงานด้านคนพิการและหน่วยงานที่มีภารกิจทางสังคมในระดับชุมชนทุกจังหวัด เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรคนพิการในพื้นที่ ฯลฯ และเชื่อมโยงกับหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงาน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงสาธารณสุข ทำให้สามารถเข้าถึงคนพิการในระดับพื้นที่
รู้จัก มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม เปลี่ยนชีวิต สร้างงานเพื่อผู้พิการ
ทั่วประเทศผ่านเครือข่ายข้างต้น โดยเครือข่ายหน่วยงานต่างๆ เป็นผู้เปิดตำแหน่งงานให้คนพิการเข้าไปปฏิบัติงาน (โดยสถานประกอบการเป็นผู้สนับสนุนการจ้าง) ปัจจุบันมีคน พิการที่อยู่ในวัยทำงานแต่ยังไม่มีงานทำจำนวนกว่า 350,000 คน
มูลนิธิฯ มีหน้าที่อะไร และได้อะไรจากโครงการจ้างงานคนพิการ
มูลนิธิฯ ประสาน ระดมการสนับสนุนจากสถานประกอบการ โดยเชิญชวนให้เปลี่ยนจากการส่งเงินเข้ากองทุนฯ (ม.34) ไปเป็นการจ้างงานคนพิการเพื่อทำงานสาธารณประโยชน์ใกล้บ้าน (ม.33) หรือส่งเสริมอาชีพคนพิการ (ม.35) โดยมูลนิธิฯช่วยสถานประกอบการดำเนินการในทุกขั้นตอนทั้งที่เกี่ยวข้องกับคนพิการและหน่วยงานราชการ และติดตามการดำเนินการกับทุกฝ่ายตลอดโครงการ มูลนิธิฯ ขับเคลื่อนงานโดยงบประมาณสนับสนุนจาก สสส. และกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ จึงสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องมีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากสถานประกอบการและคนพิการแต่อย่างใด มูลนิธิฯ มีเป้าหมายหลักเพื่อให้คนพิการมีอาชีพ มีงานทำและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
แผนงานคนพิการ หรือ การจ้างงานรูปแบบใหม่ คืออะไร
ด้วยสถานประกอบการในประเทศไทยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ด้วยการจ้างคนพิการเข้าทำงานในอัตราส่วน 100:1 โดยภาคธุรกิจเอกชนทั้งระบบ จะต้องจ้างงานคนพิการรวมทั้งสิ้นประมาณ 55,000 อัตรา แต่ในระหว่างปี 2557-2559 เกิดการจ้างงานและส่งเสริมอาชีพคนพิการเพียงปีละประมาณ 35,000 อัตรา จำนวนที่เหลืออีกกว่า 20,000 อัตราที่จ้างได้ไม่ครบ
ยังมีบริษัทจดทะเบียนอีกจำนวนมากที่ไม่สามารถจ้างงานคนพิการได้ครบจึงต้องส่งเงินเข้ากองทุนตามมาตรา 34 ทุกปี ประมาณการว่าสูงถึงกว่า 1,000 ล้านบาท ทั้งที่บริษัทเหล่านี้ มีศักยภาพที่จะเข้าร่วมโครงการและสนับสนุนคนพิการให้มีอาชีพและมีงานทำได้อีกกว่า 10,000 อัตรา โดยบริษัทไม่ได้มีภาระทางงบประมาณเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด
อีกทั้งยังเป็นการขยายงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทให้กว้างขวางขึ้น ?การขับเคลื่อนให้เกิดการจ้างงานและส่งเสริมอาชีพคนพิการ จึงถือเป็นเป้าหมายที่จะสร้างโอกาสให้แก่ผู้พิการเพิ่มขึ้นได้
... อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_9386336