ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

มิติใหม่แห่งวงการบำบัด เปิดตัว "ทีมสุนัขนักบำบัดฯ" รุ่นแรกของไทย การันตีด้วยหลักสูตรอบรมมาตรฐานระดับโลกจากสวิส

วันที่ลงข่าว: 03/07/23

          วันที่ 1 ก.ค.2566 สมาคมสุนัขนักบำบัดจัดงาน First in Thailand, Therapy Dog Thailand Team Bebut!" เพื่อเปิดตัวทีมสุนัขนักบำบัดแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 1 ที่ผ่านการอบรม "หลักสูต Cerined' Therapy Dog Thailand" ซึ่ง alline เป็นผู้ริเริ่มโครงการและพัฒนาหลักสูตรสุนัขนักบำบัดแห่งประเทศไทยขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2563 เพื่อฝึกฝนเจ้าของสุนัขและสุนัขที่มีศักยภาพให้เป็น "ทีมสุนัขนักบำบัด" มาตรฐานระดับโลก เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ตามแนวทางของ Therapy Dog "Association Switzerland VTHS ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยหวังว่างานในครั้งนี้จะสร้างการรับรู้ให้สังคมในวงกว้างถึงความพร้อมของทีมสุนัขนักบำบัดแห่งประเทศไทย ในการต่อยอดความรู้ไปสู่ การลงมือปฏิบัติหน้าที่ เพื่อสร้างความรัก และความสุขให้แก่สังคมไทย ภายในงาน ยังมีการจัดเสวนาในหัวข้อ "Therapy Dog for All Well-Being in Thailand" โดยคุณ ขรรค์ ประจวบเหมาะ ที่ปรึกษาและกรรมการกิตติมศักดิ์ มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และผู้อำนวยการสำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย, พญ.นาฎ ฟองสมุทร ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้สูงอายุชื่อดังแห่งสภากาชาดไทย สพ.ญ.กฤติกา ชัยสุพัฒนากุล ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหาร บริษัท โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ จำกัด และ รศ.ดร.สิงห์ อินทรซูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) บริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) เพื่อฉายภาพอนาคตของชุมชนสุนัขนักบำบัดที่สอดแทรกอยู่ในมิติต่างๆของการดำเนินชีวิต เพื่อนำไปสู่การมีสุขภาวะที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีของเจ้าของสุนัขและสุนัขผ่านการเลี้ยงดูการจัดพื้นที่เพื่อสร้างสุขภาวะที่ดีต่อการอยู่ร่วมกันของคนและสุนัขและการพัฒนาต่อยอดไปสู่การทำงานภาคสังคมเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาสุนัขชุมชนต่อไป ร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงส่งเสริมภาคธุรกิจที่กำลังขยายตัวและเติบโตอย่างรวดเร็วในอนาคต เช่น เทรนด์ธุรกิจเพื่อผู้สูงวัย และเทรนด์ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสัตว์เลี้ยง กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ รวมไปถึง งานออกแบบเชิงสถาปัตย์

          คุณวรกร โอสถารยกุล ผู้ก่อตั้งโครงการและหลักสูตรสุนัขนักบำบัดแห่งประเทศไทย (TherapyDog Thailand) และนายกสมาคมสุนัขบำบัด กล่าวว่า ตั้งแต่ปี 2563 allfine ได้มีการเปิดอบรมหลักสูตร Certified Therapy Dog Thailand จนวันนี้มี "ทีมสุนัขนักบำบัดแห่งประเทศไทยรุ่นที่ 1" ที่ผ่านการทดสอบและทำงานในฐานะจิตอาสา เพื่อทดลองบำบัดผู้รับบริการกว่า 150 ราย ในหลากหลายสถานที่ เช่น การบำบัดเด็กหูหนวก ที่โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์, การบำบัดผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าของโรงพยาบาลศรีธัญญา, การบำบัดผู้สูงวัยที่มีภาวะสมองเสื่อม ที่ศูนย์เวชศาสตร์ ฟื้นฟูหลอดเลือดสมองที่

The Senizens และการบำบัดเด็กพิเศษที่อยู่ภายใต้การดูแลของศูนย์การศึกษาพิเศษ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

          สำหรับก้าวต่อไปของโครงการ คุณวรกร เผยว่า ภายหลังมีการจัดตั้งสมาคมสุนัขบำบัด จะให้ทีมสุนัขนักบำบัดฯ ที่จบการศึกษาได้สิทธิ์เข้าเป็นสมาชิกของสมาคมสุนัขบำบัด เพื่อร่วมเป็นคณะกรรมการกำหนดทิศทางและการทำงานภาคการบำบัด เพื่อสร้างความรักและความสุขให้แก่สังคมไทยในมิติต่างๆ เช่น การเป็นหนึ่งในทางเลือกของเครื่องมือแพทย์ในการบำบัดผู้ป่วย, การเป็นสื่อการเรียนการสอน สำหรับเด็กพิการหรือด็กที่มีความต้องการพิเศษ, การเป็นผู้นำในการส่งเสริมการสร้างความสัมพันธ์อันดีของเจ้าของสุนัขและสุนัขผ่านการเลี้ยงดู ตลอดจนการจัดพื้นที่เพื่อสร้างสุขภาวะที่ดีต่อการอยู่ร่วมกันของคนและสุนัข ไปจนถึงการพัฒนาต่อยอดไปสู่การทำงานภาคสังคมร่วมกับภาครัฐในการพัฒนาสุนัขชุมชนต่อไป

          "จากนี้การทำงานของเราจะดำเนินไปแบบคู่ขนานทั้งการฝึกอบรมและการบำบัด ดังนั้น ก้าวแรกที่สำคัญคือ การสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับสุนัขนักบำบัด ว่าเป็นการฝึกอบรมให้เจ้าของได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผู้รับการบำบัดในแต่ละกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นภาวะโรค ลักษณะพื้นฐานที่พึงรู้ สภาวะทางร่างกายและจิตใจ การออกแบบการบำบัดซึ่งเป็นหลักสำคัญในการเข้าบำบัดให้เกิดผลสำเร็จ ได้อย่างดี ทั้งหมดเป็นเหมือนวิชาชีวิต ที่เราสามารถนำไปใช้ได้ตลอดชีวิต ไม่ว่ากับคนในครอบครัว หรือคนรอบตัวเราเรียนกันจริงจังทั้งเจ้าของและสุนัข ตามแนวทางมาตรฐานหลักสูตรระดับโลก เพื่อสร้างความมั่นใจและอุ่นใจในการไปทำงานร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงส่งเสริมภาคธุรกิจในการพัฒนาสังคม ต่อไป อีกส่วนหนึ่งคือ การสร้างทีมสุนัขนักบำบัดฯ ซึ่งตอนนี้เรากำลังเปิดรับสมัครรุ่นที่ 3 เพื่อเชิญชวนผู้ที่สนใจมาร่วมเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญในการร่วมสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของวงการบำบัดไทย ด้วยการใช้ "ทีมสุนัขนักบำบัด" เป็นอีกหนึ่งทางเลือกเครื่องมือแพทย์สำหรับการบำบัดผู้ป่วยหรือผู้ที่ต้องการบำบัด

          เกี่ยวกับหลักสูตรสุนัขนักบำบัดแห่งประเทศไทย เป็นหลักสูตที่ lfine เป็นผู้ริเริ่มโครงการและพัฒนาหลักสูตรเพื่อฝึกฝนเจ้าของสุนัขและสุนัขที่มีศักยภาพ ให้เป็น "ทีมสุนัขนักบำบัด" มาตรฐานระดับโลกเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ตามแนวทางของ Therapy Dog Association Switzerland VTHS ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีการออกแบบให้สอดคล้องกับบริบทของคนไทย โดยการเข้าไปพูดคุยกับผู้ใหญ่ในหน่วยงาน องค์กรหรือมูลนิธิต่างๆ เพื่อเข้าใจบริบทที่สุนัขสามารถเข้าไปมีส่วนช่วยเหลือได้ เช่น รมต.จุติ ไกรฤกษ์ รมว.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ คุณขรรค์ ประจวบเหมาะ ที่ปรึกษาและกรรมการกิตติมศักดิ์ มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์, ดร.มลิวัลย์ ธรรมแสง มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวกในพระบรมราชินูปถัมภ์, พญ.นาฏ ฟองสมุทร คณะกรรมการกองทุนผู้สูงวัย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์,

          ดร.สมพร หวานเสร็จ อดีตผู้อำนวยการ ศูนย์การศึกษาพิเศษส่วนกลาง ที่ดูแลเด็กพิเศษและเด็กพิการ, นายศิริศักดิ์ ธิติดิลกรัตน์ อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีธัญญา และ แพทย์หญิง มธุรดา สุวรรณโพธิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีธัญญา กลุ่มดูแลผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า อ.ดร.น.สพ.ปรารมภ์ ศรีภวัศราคม สัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมสัตว์,คุณครูรุ้งจิต ตั้งจิตเจริญ นักปรับพฤติกรรมสุนัข และกองกำกับการสุนัขตำรวจ เป็นต้น

          สำหรับผู้เข้ารับการอบรมจะมี 2 รุ่น รุ่นเยาวชนอายุ 14-18 ปี และรุ่นผู้ใหญ่อายุ 18-65 ปี โดยเจ้าของจะต้องอยู่อาศัยร่วมกันกับสุนัขตัวที่จะนำมาฝึกไม่น้อยกว่า 1 ปี และมีเวลาที่จะเข้ามาเรียนให้ครบตามเวลาที่กำหนด 30 ชั่วโมงขึ้นไป โดยรูปแบบการเรียนการสอนจะสะดวกขึ้น มากกว่ารุ่น 1 เพราะเราได้รับการสนับสนุนทุนจากสำนักนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) พัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อให้สามารถอบรมภาคทฤษฎีบนออนไลน์ (Onine Theory) และการอบรมภาคปฏิบัติ ซึ่งพาสุนัขมาพร้อมกับเจ้าของฝึกในสถานที่จริง (On-Floor Practice ) จึงทำให้ผู้อบรมสามารถจัดเวลาเรียนได้ง่ายมากขึ้น ในส่วนของตัวสุนัข ไม่ได้มีการกำหนดสายพันธุ์ แต่ต้องสามารถฟังคำสั่งเบื้องต้นได้ และไม่กลัวการใช้ชีวิตนอกสถานที่ ได้รับวัคซีนครบถ้วน และมีสุขภาพแข็งแรง

          หลักสูตรดังกล่าวจะฝึกทั้งเจ้าของสุนัขและสุนัขทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ครอบคลุมตั้งแต่การเรียนรู้ และทำความเข้าใจในเรื่องลักษณะพื้นฐาน อาการโรค ความต้องการ และความเหมาะสมในการดูแลทั้งร่างกายและจิตใจคนในกลุ่มต่างๆ ที่ต้องการรับการบำบัด เช่น ผู้สูงวัย เด็กที่มีความต้องการพิเศษ เด็กสมาธิสั้น ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า คนตาบอด คนหูหนวก เป็นต้น

         นอกจากนั้น วันนี้เรายังได้พัฒนาหลักสูตรใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสัตว์เลี้ยง, การแพทย์ และการออกแบบพื้นที่ เพื่อให้เกิดสุขภาวะที่ดีแบบองค์รวมในการอยู่ร่วมกับสัตว์เลี้ยงในพื้นที่ต่างๆ เพื่อสร้างความสุขให้แก่สังคมไทย

         ทั้งนี้ สำหรับองค์กรใดที่สนใจทำงานหรือรับบริการในด้านต่างๆ จากโครงการสุนัขนักบำบัดแห่งประเทศไทย สามารถติดต่อได้ที่ โทร. 06-2707-7999

ที่มาของข่าว หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก