ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

ปัญหาบกพร่องทางการอ่านกับการสะกดคำ ตอนที่ 2

โดย สมาคมการบกพร่องทางการอ่านนานาชาติ (2008)

ระบบการสะกดคำในภาษาอังกฤษช่วยให้สามารถเดาคำศัพท์ ได้หรือไม่

ระบบ การสะกดคำในภาษาอังกฤษไม่ได้เป็นเรื่องที่ชวนปวดหัวและเดาไม่ได้  เราสามารถจะสอนอย่างเป็นระบบและเป็นเหตุเป็นผล  คำในภาษาอังกฤษเกือบครึ่งหนึ่งเป็นคำที่เดาได้และอยู่บนพื้นฐานของเสียงตัว อักษรจริงๆ เช่นคำว่า  slap  pitch  boy  อีก 37% เป็นคำธรรมดาที่คุ้นเคยที่เกือบจะเดาได้ ยกเว้น คำเสียงเดียว เช่น Knit และ boat

ข้อมูลอื่นๆ เช่น คำที่มาจากภาษาอื่น อย่าง ภาษาอังกฤษแบบเก่า  ภาษาละติน  ภาษากรีก หรือภาษาฝรั่งเศส ความหมายของคำเหล่านั้นจะช่วยให้สามารถอธิบายการสะกดคำได้  มีคำในภาษาอังกฤษ 4% เท่านั้นที่ผิดปกติไปจริงๆและอาจจะต้องเรียนรู้ผ่านวิธีการในเรื่องคำทั้ง หมด เช่น การสืบสาวที่มาของคำและการเอ่ยเป็นตัวอักษรขณะที่กำลังพยายามจดจำคำ  เพราะฉะนั้น จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ที่จะสอนการสะกดคำอย่างเป็นระบบและสนับสนุนให้นัก เรียนที่มีปัญหาอย่างยิ่งยวดในการจดจำคำมีวิธีสังเกตแบบเป็นเหตุเป็นผลอย่าง มาก

ผลกระทบต่อการสอนเป็นอย่างไร

การสอนการ สะกดคำโดยการสำรวจโครงสร้างคำ  ที่มาของคำ  และความหมายของคำถือเป็นเรื่องที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด  แม้ว่านักเรียนที่มีปัญหาบกพร่องทางการอ่านอาจจะยังต้องลำบากในการระลึกคำ ออกมาใช้  การเน้นย้ำเรื่องการจดจำโดยใช้วิธีขอให้นักเรียนปิดตาและจินตนาการเป็นคำ  หรือการขอให้เขาเขียนคำเหล่านั้นหลายๆครั้งจนกระทั่ง “ติดตา”  จะเป็นประโยชน์ได้เพียงหลังจากเมื่อนักเรียนได้ถูกสอนให้เข้าใจว่าทำไมคำๆ นั้นจึงสะกดอย่างนั้น  เป็นนักเรียนซึ่งได้เรียนรู้ความเชื่อมโยงระหว่างเสียงที่กล่าวออกมาและ สัญญลักษณ์ที่เขียน  เป็นนักเรียนที่เข้าใจรูปแบบตัวอักษรที่ประกอบขึ้นมาในพยางค์ภาษาอังกฤษ และเป็นนักเรียนที่รู้จักส่วนของคำที่มีความหมายได้ดีกว่าการจำคำทั้งหมด  ควรจะมีการจัดโปรแกรมการสะกดคำในชั้นเรียนเพื่อสอนความก้าวหน้าของรูปแบบการ สะกดคำที่เป็นปกติ  หลังจากเกรด 1 แล้ว  ควรสอนการสะกดคำตามมารวมทั้งสอนเรื่องการถอดคำเพื่อการอ่านด้วย  เด็กๆควรจะสามารถอ่านคำต่างๆในบทเรียนการสะกดคำ  ผู้เรียนส่วนใหญ่สามารถอ่านคำต่างๆได้มากกว่าการสะกดคำมาก

ความเข้า ใจเรื่องความเชื่อมโยงระหว่างเสียงและตัวอักษรเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญ อันดับแรก  ตัวอย่างเช่น  ก่อนการสะกดคำ  นักเรียนควรสามารถแยกเสียงในคำออกจากกันได้  จากนั้น  เขาควรสามารถระลึกได้ถึงตัวอักษรที่สะกดเสียงเหล่านั้น  ต่อจากนั้นจึงควรจะสอนรูปแบบเรื่องชนิดของพยางค์พื้นฐาน 6 ประเภทในภาษาอังกฤษ * เพราะว่ามันใช้แทนเสียงสระที่สามารถเดาได้  ประการที่สาม คือการสอนกฎพื้นฐานบางอย่างในการเติมและลงท้ายคำ  เช่น เมื่อไรตัวอักษรควรเป็นสองตัว  เมื่อไรที่ y เปลี่ยนเป็น I  และเมื่อไรเสียง e ถึงไม่ออกเสียง

ยังมีคำผิดปกติที่ควรจะฝึกฝนใช้ ทุกวัน เช่น  come  they  their  who  การสืบสาวที่มาของคำและการเอ่ยตัวอักษรออกมาดังๆ  การสร้างคำด้วยการต่อตัวอักษร  การคัดลอกและการเขียนเป็นประโยค ล้วนแต่ช่วยสร้างการจดจำคำที่ผิดปกติ  นักเรียนอาจจะสามารถจัดการกับคำใหม่ๆได้ถึงสองสามคำในครั้งหนึ่ง  และเขาอาจจะต้องการหลายๆ โอกาสที่จะเขียนคำต่างๆให้ถูกถ้วนพร้อมกับการรับคำปรึกษาก่อนที่เขาจะสามารถ จดจำมันได้  การเรียนรู้คำต่างๆและฝึกฝนทำแบบฝึกหัดเพื่อให้ใช้ได้อย่างคล่องแคล่ว โดยการเขียนคำหรือประโยคตามคำบอกก็จะช่วยได้มาก  การให้นักเรียนทำรายการ “ตัวอย่างการสะกดคำ” เป็นการเฉพาะของตนเองเพื่ออ้างอิงจะช่วยพัฒนาความสามารถในการอ่านพิสูจน์ อักษรและช่วยให้เชี่ยวชาญในการสะกดคำที่ยากๆเหล่านั้น

เป็นเรื่อง สำคัญสำหรับนักเรียนที่จะเรียนการสะกดคำเพื่อการเขียน ไม่ใช่เพียงเพื่อการทดสอบการสะกดคำ  การให้ความสำคัญกับการสะกดคำในการเขียนทุกๆวันเป็นเรื่องจำเป็น  มันจะช่วยมากถ้าได้สอนนักเรียนให้ใช้กระบวนการพิสูจน์อักษรโดยการทดสอบเพียง เรื่องเดียวในแต่ละครั้ง  เช่นเรื่อง  การใส่จุดเครื่องหมายวรรคตอน  การเลือกใช้อักษรตัวเล็กตัวใหญ่  การสะกดคำ  โครงสร้างประโยคและการจัดองค์ประกอบ

โปรแกรมตรวจสอบการสะกดคำใน คอมพิวเตอร์จะไม่ช่วยอะไรถ้านักเรียนไม่มีทักษะการสะกดคำพื้นฐาน ในระดับ เกรด 5  และถ้านักเรียนไม่ได้รับการช่วยเหลือในการพิสูจน์อักษรอื่นๆ โปรแกรมตรวจสอบการสะกดคำจะไม่ระบุจุดผิดพลาดทั้งหมด

การให้ความช่วยเหลือที่สำคัญและการปรับงานการบ้านให้กับนักเรียนที่มีปัญหาบกพร่องทางการอ่านมีดังต่อไปนี้

  • ให้คะแนนงานเขียนที่เนื้อหาเป็นหลัก
  • เขียนคำสะกดที่ถูกไว้เหนือคำที่เขียนผิดและจำกัดจำนวนครั้งการเขียนใหม่ด้วยจำนวนที่เหมาะสม
  • เตรียมการช่วยเหลือพิสูจน์อักษร
  • สนับสนุนนักเรียนให้คิดเป็นคำที่ชัดเจนก่อนการเขียนและสะกดคำที่เป็นข้อความสำคัญต่างๆให้ด้วยก่อนในการเขียน
  • อนุญาตให้นักเรียนในระดับมัธยมและระดับที่สูงกว่าใช้การพิมพ์ในการสอบและงานที่ส่ง  
  • สนับสนุนนักเรียนให้ส่งโครงร่างงานที่ให้หรือเรียงความให้ครูช่วยทบทวนก่อนให้คะแนน
แปลและเรียบเรียงจาก Spelling and Dyslexia by International Dyslexia Association (2008)
โดย พรรษชล ศรีอิสราพร ส่วนสื่อการศึกษาเพื่อคนพิการ ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก

Fatal error: Call to undefined function drupal_get_path() in /usr/local/www/apache22/data/Braille-new/sites/all/modules/better_statistics/better_statistics.module on line 181