ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

“ภารกิจและการทำงานทั้ง 8 แขนงของสมาคมวัฒนธรรมความพิการเชียงใหม่ ตอน 1”

บทสัมภาษณ์ : นายยุทธพล ดำรงชื่นสกุล นายกสมาคมวัฒนธรรมความพิการเชียงใหม่

         คุณยุทธพล ดำรงชื่นสกุล กล่าวว่า ในส่วนของสมาคมมาจากการรวมตัวของกลุ่มสมาชิกกรรมการอยากยกระดับเป็นนิติบุคคล ได้ทำเรื่องยื่นจดแจ้งที่ว่าการอำเภอสันกำแพง ได้รับอนุญาตเมื่อเดือนพฤษภาคม 2559 ความตั้งใจอยากให้เป็นร่มใหญ่ในการทำงานขับเคลื่อนงานสำคัญหลายด้าน และเชื่อว่าในการที่เป็นนิติบุคคลสามารถทำได้หลายอย่าง
         1.งานด้านสมาคมวัฒนธรรมด้านความพิการ สมาคมฯ ทำหน้าที่เป็นร่มใหญ่ในการทำนุบำรุงรักษาผู้นำในการประสานงาน และเป็นที่พึ่งให้น้องนักศึกษาพิการท่านหนึ่ง เรียนปริญญาเอก คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอความช่วยเหลือในเรื่องการขอรับทุนจากหน่วยงานรัฐ หากขอผ่านสถาบันการศึกษาเกิดความล่าช้า ไม่ทันใจ จึงขอความช่วยเหลือจากสมาคมฯ แต่ในความเป็นจริงต้องผ่านเงื่อนไข
         2.องค์กรภายใต้การกำกับ เช่น ชมรมโกลบอลแคมปัสเชียงใหม่ ในปีนี้มีโอกาสเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 20 ปี ผลงานที่โดดเด่น คือการจดแจ้งเป็นองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค ผ่านสำนักปลัดนายกรัฐมนตรี เนื่องจากว่ามีผลงานเป็นเชิงประจักษ์มากกว่า 2 ปีขึ้นไป งานคุ้มครองผู้บริโภค มีสมาชิกคนพิการประสานทางเรา ว่าวีลแชร์ที่ได้รับไม่ตรงกับสรีระของคนพิการตัวใหญ่แต่ได้วีลแชร์เด็กทำให้ไม่สามารถนั่งได้ เขารู้สึกเหมือนไม่มีที่พึ่ง ณ ตอนนั้นยังไม่มีงานเรื่องคุ้มครองผู้บริโภคอย่างจริงจัง นึกถึงมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค โทรติดต่อแล้วแจ้งเรื่องทิ้งไว้ ปรากฏว่า พี่ ๆ คนพิการรู้สึกหวาดกลัว เพราะเขารู้สึกว่าถ้าร้องเรียนไปแล้วจะได้รับผลกระทบ ซึ่งจริงแล้วเรื่องนี้เป็นเรื่องของการคุ้มครองผู้บริโภค เพราะฉะนั้นเวลาร้องเรียน เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องได้รับการจัดการเร่งด่วน หลายคนเป็นเหยื่อถูกกระทำ เป็นเรื่องน่าเศร้าใจ บางทีเรื่องที่มันถูกต้องควรได้รับการจัดการอย่างเป็นระเบียบระบบ กลับทำให้รู้สึกว่า ช่างมันเหอะ มันเป็นเวรเป็นกรรม อย่างคนเหนือจะพูดว่า “จ้างมันเต๊อะ” ซึ่งทำให้หลายคนที่ตกเป็นเหยื่อไม่ได้รับการแก้ไข ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนเครือข่ายคนพิการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นงานด้านสุขภาพ (สปสช.) เรื่องการให้ความรู้ความเข้าใจสิทธิบัตรทอง รับเรื่องร้องเรียน เวลาลงพื้นที่พบว่า คนพิการหลาย ๆ คนถูกเรียกเก็บเงิน คนพิการที่พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด มักคิดว่าจะได้รับสิทธิการรักษาพยาบาลด้วยใช่หรือไม่ แท้จริงแล้วพบว่า ต้องขึ้นทะเบียนเป็นคนพิการถึงจะได้สิทธิ ท.74 แม้กระทั่งสิทธิพิเศษ ต้องขอบคุณทาง สปสช. ที่สร้างเครื่องมือเข้ามาเพื่ออำนวยความสะดวก เช่น ระบบไลน์ และแอพพลิเคชั่น ที่ประชาชนสามารถตรวจสอบสิทธิได้ด้วยตนเอง เป็นต้น ชมรมฑูตอารยสถาปัตย์จังหวัดเชียงใหม่ ขับเคลื่อนหลักคือ คุณกฤษนะ ละไล ในองค์กรได้รับการจ้างงานจาก มูลนิธิอารยสถาปัตย์ จำนวน ๓ คน ภารกิจหลักคือ การสำรวจสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน สถานที่ท่องเที่ยว วัด และสร้างการเปลี่ยนแปลง ให้ความรู้ความเข้าใจ
         3.มูลนิธิโกลบอลแคมปัสเซส (Global Campuses Foundation) เป็นองค์กรแม่ที่ให้การสนับสนุนสำนักงาน มีการทำ MOU กับทางมหาลัยเชียงใหม่ เพื่อสร้างความร่วมมือทางวิชาการร่วมกัน โดยเฉพาะวิชาพหุวัฒนาธรรม  เป็นแขนงหนึ่งภายใต้คณะศึกษาศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ซึ่งทางอาจารย์ส่งนักศึกษามาเรียนรู้กับพี่ ๆ คนพิการในเรื่องแนวคิด วัฒนธรรมความพิการ การแสวงหาพื้นที่ในการทำงานร่วมกับคณะต่าง ๆ เช่น คณะทันตกรรมล่าสุด คณะทันตแพทย์มีเครื่องช่วยให้คนที่นั่งวีลแชร์สามารถไปถอนฟันได้ เป็นต้น
 

... สามารถติดตามรับฟังรายการรวมใจเป็นหนึ่ง ได้ทางสถานีวิทยุศึกษา FM 92 MHz หรือ www.moeradiothai.net


รายการรวมใจเป็นหนึ่ง ออกอากาศทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 18.30-19.00 น. ทางสถานีวิทยุศึกษา FM 92 MHz

ภาพประกอบรายการวิทยุรวมใจเป็นหนึ่ง

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก