“การต่อยอดทางการศึกษาของคนพิการ ตอน 1”
คุณอรุณี ลิ้มมณี กล่าวว่า ตนเป็นเด็กต่างจังหวัด อยู่ที่ จ.สระบุรี พิการจากโรคโปลิโอ จนเข้าเรียนชั้นประถม 1 แล้วไปเรียนต่อที่ จ.ลำปาง ต้องย้ายตามพ่อและแม่เพราะพ่อทำงานรถไฟจำเป็นต้องย้ายหลายจังหวัด จนได้มาอยู่ที่กรุงเทพฯ ได้เรียนชั้นมัธยมต้นจนจบมัธยมปลาย ที่ โรงเรียนหอวัง และไปเรียนต่อปริญญาตรีที่ คณะศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาอังกฤษ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังจากนั้นรับราชการที่ กรมชลประทาน ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่นิเทศสัมพันธ์ และได้สอบชิงทุนฟูลไบรท์ (Fulbright Scholarship) ที่ สหรัฐอเมริกา จนจบปริญญาโท กลับมาเป็นอาจารย์ที่ วิทยาลัยราชสุดา วิทยาลัยมหิดล ต่อมาทางดุริยางค์ศิลป์ มหิดลได้เปิดสาขาดนตรีบำบัด ต้องการคนสอนทางด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพ จึงย้ายไปสอนที่ดุริยางค์ศิลป์ และต่อมาไปเรียนต่อปริญญาเอก ที่ สถาบันวิจัยพฤติกรรม ของ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) จบมาก็เป็นอาจารย์ที่ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สอนมาถึงปัจจุบัน
หลังจากจบปริญญาตรีมีความฝันอยากไปเรียนที่สหรัฐอเมริกา พยายามสอบชิงทุนแต่ไม่ได้ บางทีตกสัมภาษณ์ อย่างทุนฟูลไบร์ทค่อนข้างยากเพราะเป็นทุนที่มีแต่คนเก่ง แม้แต่เรื่องทัศนคติตั้งแต่ตอนที่ได้ทุนไปเรียนต่อ ต้องให้แพทย์เซ็นเพื่อรับรองในการขอวีซ่า เขาไม่เซ็นให้เดี๋ยวมีความผิดเพราะคุณป่วยจะเซ็นว่าคุณมีสุขภาพดีได้อย่างไร พอบอกไปว่าได้ทุน เขาบอกว่าทำไมไม่ดูตามความเหมาะสม ก็เพราะเราเหมาะสมสุดแล้วถึงได้ เป็นผมจะไม่ดูแค่ความเก่งจะดูความเหมาะสมด้วย ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเขาไม่มองถึงเรื่องความพิการหรือไม่พิการ เขาดูที่ความสามารถ แต่สุดท้ายยอมเซ็นให้
ต่อให้เก่งแค่ไหน ถ้าไปโรงเรียนไม่ได้ก็จบ เหมือนเด็กในชนบทหลาย ๆ คนไปเรียนไม่ได้เพราะต้องเดินเท้า ที่เรียนเป็นบันไดขึ้นชั้น 2 ชั้น 3 ไม่ได้ ดิฉันเองกว่าจะจบประถมถึงมัธยม อยู่โรงเรียนเช้าถึงเย็นไม่เข้าห้องน้ำ ทานอาหารต้องระวัง ดื่มน้ำพอประทังชีวิต เพราะไม่สามารถเข้าห้องน้ำได้ และตอนเด็กอยู่ต่างจังหวัดหรือแม้แต่โรงเรียนที่กรุงเทพ ไม่มีลิฟต์ ต้องเดินเรียนกว่าจะเดินไปถึงแต่ละห้องที่เรียนใช้เวลา 20 นาที แต่ละคาบใช้เวลาเรียน 50 นาที เหลือเวลาเรียนน้อยนั่งยังไม่ทันหายเหนื่อย มือพองมือมือด้าน ทั้งข้อศอกและมือมีผิวหนังที่แตกเหมือนเกล็ดพญานาค
ตอนที่ไปศึกษาที่ สหรัฐอเมริกา คุยกับเพื่อนเขาบอกว่า เขาก็เล่น ครูหาเครื่องเล่นที่เล่นได้ด้วย จะอย่างไรให้เล่นด้วยกันไม่จำเป็นหวังผลแพ้ชนะแต่ให้ทุกคนมีส่วนร่วม เมื่อถึงชั่วโมงพละเพื่อนๆจะมาเล่นด้วยมาทำอะไรด้วยกัน ในช่วงที่เรียนที่ หอวัง เพื่อน ๆ ได้เรียนรู้ว่ามีเพื่อนที่มีความหลากหลาย เพื่อนรู้สึกว่าเราเป็นเพื่อนคนหนึ่ง เพื่อนจะช่วยเหลือ ช่วยถือกระเป๋า เราเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันช่วยกันแก้ปัญหา แต่ปัญหาบางอย่างไม่จำเป็นถ้าหากมีสิ่งอำนวยความสะดวกให้ทั้งเพื่อนและตนเองไม่ต้องลำบาก จะได้มีเวลาเล่น/เรียนได้เต็มที่ และคอยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
... สามารถติดตามรับฟังรายการรวมใจเป็นหนึ่ง ได้ทางสถานีวิทยุศึกษา FM 92 MHz หรือ www.moeradiothai.net