“คัมภีร์กลยุทธ์ฝ่าวิกฤต ตอนที่ 3”
นายสุชาติ โอวาทวรรณสกุล กล่าวว่า ข้อ 7 ถูกหวยทุกชมรม เรียกร้องให้มีการกระจายสลากกินแบ่งรัฐบาลให้คนพิการอย่างทั่วถึง ในปัจจุบันทางกองสลากควรมีการติดตามตรวจสอบว่า ค้าขายจริงหรือไม่ แจกให้คนพิการทั่วถึงจริงหรือไม่ ถ้าผู้นำกองสลากจัดเจ้าหน้าที่ลงตรวจสอบ คนที่ขายสลากอย่างแท้จริงที่เป็นคนพิการ ทำอย่างไรให้ผลประโยชน์ตกถึงคนพิการอย่างแท้จริง เป็นจุดแข็งคือ ไม่ให้ขายเกิน 80 บาท เพื่อเป็นอาชีพสำหรับผู้ปกครองคนพิการทางสติปัญญา ล่าสุดพยายามอยากให้ได้ถึงหมื่นเล่ม ถ้าได้หมื่นเล่มคนพิการอยู่ได้อย่างสบาย หรือสงวนให้ได้เฉพาะคนพิการยิ่งดี จึงคิดว่าทำอย่างไรให้ถูกหวยทุกชมรม เวลามีเรื่องร้องเรียน ประท้วงสลาก พยายามไปทุกจุด อยากให้กองสลากเข้าไปดูในแต่ละองค์กร คุณได้มาพันเล่ม หมื่นเล่ม คุณแจกจ่ายตรงรายชื่อหรือไม่ ขายอยู่ที่ไหน จะเกิดประโยชน์กับคนพิการโดยตรง ผมมองว่าเป็นอาชีพหนึ่งที่สร้างความมั่นคงให้กับครอบครัวได้ ถ้าหากได้ 10 เล่ม ขายได้ 2 งวด ส่วนใหญ่ที่ผ่านมาขายหมด หากการจ้างงานของภาครัฐ โดยภาครัฐจับมือกับกองสลาก จ้างงานคนพิการเอาสิทธิสลากไปเลย เป็นอีกแนวคิดหนึ่ง สมมุติหน่วยงานกระทรวงศึกษาธิการจ้างคนพิการหกพันกว่าคนเอาสลากไปคนละสิบเล่ม คนพิการได้ไปแสนกว่าบาท แทนที่ภาครัฐต้องจ่ายให้สิทธิสลากกินแบ่งรัฐบาล
ข้อ 8 ผู้ประสานงานสิบทิศ ชมรมหรือองค์กรที่ได้มาตรฐานแล้ว ส่วนใหญ่จะรอที่เงิน พมจ. จริงแล้วทุกกระทรวงมีเรื่องคนพิการ การศึกษาพิเศษ สกร.(กศน.เดิม) สสส. กสทช. เป็นต้น มีเรื่องคนพิการแน่นอนเพียงแต่ว่าได้เข้าไปติดต่อหรือไม่ ได้เข้าไปร่วมงานหรือไม่ ต้องเปิดตัวเราให้กว้างมากขึ้น และโดยเฉพาะในข้อที่ 1 ดิจิทัล คนจะรู้จักเรามากขึ้น ใกล้เลือกตั้งสส. หรือ อบต. ผมคิดว่าอยากได้พลังมวลชนจากคนพิการ เป็นโอกาสที่จะประสานงานกับทุก ๆ ฝ่าย ทำให้สามารถทำงานได้ง่ายขึ้น อย่าอยู่โดดเดี่ยวคนเดียว ต้องเป็นผู้ประสานงานสิบทิศ
ยกตัวอย่าง สสส. ผมเชิญ ผอ.สำนัก 9 ซึ่งดูแลเกี่ยวกับเรื่องคนพิการ สตรี ผู้สูงอายุ เช่น มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม ทำโครงการร่วมกับ สสส. ในการขับเคลื่อนการจ้างงานที่ผ่านมา ถ้ามีโครงการที่น่าสนใจสามารถไปขอโครงการได้ กองทุนสื่อสร้างสรรค์ ตอนนี้ผมเป็นคณะกรรมการสื่อสร้างสรรค์ของกลุ่มคนพิการ ถ้าใครสนใจสามารถทำโครงการไปของบประมาณได้ ระหว่างทำโครงการมีการให้เข้าไปรายงานผลการดำเนินงานด้วย ทำโครงการไปแล้วเป็นอย่างไร มีปัญหาอุปสรรคอย่างไร กลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างไร
ข้อ 9 การลงมือทำ ถ้าวางกลยุทธ์แล้วแต่ไม่ลงมือทำจะไม่เกิดผล ส่วนทำแล้วจะผิดหรือถูกไม่เป็นไร คนเราล้มแล้วต้องลุกให้เร็ว จนวันหนึ่งเราจะประสบความสำเร็จ เหมือนเปิดร้านอาหารต้องลองผิดลองถูก ทำให้เพื่อนบ้านชิม
คุณสุชาติ ทิ้งท้ายว่า “จริงแล้วผมชอบอ่านหนังสือ โดยเฉพาะเรื่องธุรกิจ การดำรงชีวิตส่วนตัวชอบปรัชญาของญี่ปุ่น วะบิ - ซะบิ Wabi-Sabi คือปรัชญาญี่ปุ่นที่โอบรับความไม่สมบูรณ์แบบ มีตำหนิ และร่องรอยอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาของทุกสิ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับคนพิการ คือ ความไม่สมบูรณ์แต่คนญี่ปุ่นมองให้สวยงามได้ โดยใช้คำว่า วะบิ เบิกบานในใจ ไม่ว่ายามใด การใช้ชีวิตที่เรียบง่ายโดยไม่ต้องเดือดร้อนในความเปลี่ยนแปลงในชีวิต ส่วนคำว่า ซะบิ ประกอบด้วยความสัมพันธ์ ความเคารพ สุข และความสงบ ทั้งสองมาผสมผสานกันให้เกิดมุมมองใหม่ โดยให้เห็นการมองชีวิตที่เรียบง่าย ไม่สั่นไหวกับรอยแผล เราเป็นคนพิการแต่เมื่อเกิดรอยแผลจะไม่หวั่นไหว เพียงแต่ยอมรับและเรียนรู้ อย่าลดคุณค่าในชีวิตเรา แต่ให้เติมแต่งชีวิตให้สวยงาม มีภาพประกอบคือ มีชาที่ทำเสร็จแล้วไม่สมบูรณ์ มีรอยร้าว รอยแหว่ง แต่คนญี่ปุ่นมองว่าเป็นความสวยงาม เป็นสิ่งหนึ่งที่ไม่เหมือนใครในโลก อยากให้ทุกคนมีปรัชญาแบบนี้”
... สามารถติดตามรับฟังรายการรวมใจเป็นหนึ่ง ได้ทางสถานีวิทยุศึกษา FM 92 MHz หรือ www.moeradiothai.net