ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

กระทรวงอุตสาหกรรม เร่งผลักดันจังหวัดอุบลราชธานีและมุกดาหารเขตเศรษฐกิจพิเศษ เร่งสร้างความเข้มแข็งเอสเอ็มอี รองรับการขยายตัวบนเส้นทาง ระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC)

วันที่ลงข่าว: 06/07/17

        ที่ห้องรับรองท่าอากาศยานานาชาติอุบลราชธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยคณะ ร่วมหารือกับนายสมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อเร่งผลักดันจังหวัดอุบลราชธานีและมุกดาหารเขตเศรษฐกิจพิเศษ เร่งสร้างความเข้มแข็งเอสเอ็มอี รองรับการขยายตัวบนเส้นทาง ระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) ที่สามารถออกไปสู่ด้านตะวันออกทะเลจีนใต้ เมืองท่าดานัง เวียดนาม และไปสู่มหาสมุทรอินเดีย โดยนายสมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัด อุบลราชธานี ได้นําเสนอแนวทางการยกระดับศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือเอสเอ็มอี (SME Support and Rescue Center) ของกระทรวงอุตสาหกรรม จัดตั้งเป็นศูนย์ในระดับสากล โดยนําร่องที่จังหวัดอุบลราชธานีเป็นแห่งแรก เพื่อให้สามารถขยายการให้บริการข้อมูลสนับสนุนต่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ของ สปป.ลาว และเร่งดำเนินการผลักดันการเชื่อมโยงการค้าระหว่างไทย-สปป.ลาว ซึ่งคาดว่าจะพร้อมขยายการ ให้บริการในช่วงเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้

        นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า สำหรับการจัด “คลินิกเอสเอ็มอีสัญจรแนวประชารัฐ” ตามนโยบายของรัฐบาล ที่กระทรวงอุตสาหกรรมมุ่งเน้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามนโยบายอุตสาหกรรม 4.0 โดยผลักดันการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจอุตสาหกรรมจากการ “เพิ่มมูลค่า” ไปสู่การ “สร้างมูลค่า” และการสร้างความเข้มแข็ง จากเศรษฐกิจภายใน (Local economy) ด้วยการเร่งพัฒนาเอสเอ็มอี และเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เข้มแข็ง โดยปีนี้มีเป้าหมายลงพื้นที่ในจังหวัดมุกดาหาร ซึ่งนับเป็นหนึ่งในเขตเศรษฐกิจพิเศษเชื่อมโยงการค้าไทย-ลาว และเวียดนาม ที่มีความสําคัญในฐานะประตูเส้นทางการค้าเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) ที่สามารถออกไปสู่ด้านตะวันออกทะเลจีนใต้ เมืองท่าดานัง เวียดนาม และไปสู่มหาสมุทรอินเดีย โดยเส้นทางดังกล่าว ยังเชื่อมพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ) 10 แห่ง ใน 4 ประเทศ คือ 1. เมียนมา (เมาะละแหม่ง ผาอัน เมียวดี) 2. ไทย (แม่สอด มุกดาหาร) 3. ลาว (สะหวันนะเขต แดนสะหวัน) 4. (ลาวบาว กวางตริ ดานัง) รวมทั้งการเชื่อมต่อกับ พื้นที่เศรษฐกิจสําคัญอื่นๆ อีกกว่าครึ่งโลก ซึ่งล่าสุดทาง สปป.ลาวเองได้มีการตื่นตัวและให้ความสําคัญและก่อตั้งโซนอุตสาหกรรม "สะหวันปาร์ค" ขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการค้าบนเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก EWEC ที่รัฐบาลลาวได้ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ ทั้งด้านสิทธิประโยชน์ และการอํานวยความสะดวกให้กับนักลงทุน

        ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของเมืองหน้าด่านชายแดนไทย-สปป.ลาว ตามยุทธศาสตร์ของ จังหวัดมุกดาหาร “เมืองการค้าการเกษตร การท่องเที่ยวชายโขง เชื่อมโยงอาเซียน” กระทรวงฯ จึงได้ให้การช่วยเหลือเอสเอ็มอีด้วยเครื่องมือในการต่อยอดทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการไทยในทุกมิติอย่างสมดุล ทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การพัฒนา ผู้ประกอบการให้ก้าวสู่ SMART SMEs การเพิ่มผลิตภาพและมาตรฐาน การส่งเสริมการใช้ระบบดิจิทัลเพื่อเชื่อมโยงสู่โลกการค้า สมัยใหม่ และการบริการผ่านศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือเอสเอ็มอีที่มีอยู่ทั่วประเทศ รวมถึงการช่วยเหลือด้านมาตรการการเงิน ในรูปแบบสินเชื่อกองทุนต่างๆ ได้แก่ กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐวงเงิน 20,000 ล้านบาท โครงการสินเชื่อ SMEs Transformation Loan วงเงิน 15,000 ล้านบาท โครงการเงินทุนพลิกฟื้นวิสาหกิจขนาดย่อม วงเงิน 1,000 ล้านบาท และมาตรการฟื้นฟูวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมวงเงิน 2,000 ล้านบาท เพื่อให้ความช่วยเหลือเงินทุน และเพิ่มช่องทางการ เข้าถึงแหล่งเงินให้กับเอสเอ็มอีมีเงินทุนนําไปพัฒนาต่อยอดธุรกิจให้มีศักยภาพเพียงพอในการพัฒนาสินค้า และกําลังการผลิตที่จะไปแข่งขันในตลาดโลก โดยขณะนี้มีผู้ประกอบการจากทั่วประเทศยื่นคําขอทั้ง 4 มาตรการแล้ว 9,178 ราย วงเงิน 23,932 ล้านบาท อนุมัติแล้ว จํานวน 2,439 ราย ในวงเงิน 6,977.28 ล้านบาท

ที่มาของข่าว สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก