ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

อย่าปล้น...คนพิการ

May 31, 2018

by ปรีดา ลิ้มนนทกุล

   

คลี่ปม "กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ" ที่กำลังจะกลายเป็นอากาศทั้งๆ ที่ยังไม่ได้ใช้เต็มศักยภาพ

HIGHLIGHTS

คนพิการ 1.8 ล้านคน จะได้รับงบประมาณสนับสนุนประจำปี กว่า 28,000 ล้านบาท

ประเด็นร้อนล่าสุด ในแวดวงคนพิการ ที่กำลังออกมาคัดค้านรัฐบาลอย่างหนักหน่วง จากการที่รัฐบาลเห็นว่า กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ มีเงินสะสมเกินเพดาน จึงขอให้นำส่งเงินส่วนเกิน จำนวน 2,000 ล้านบาท เข้าคลัง ทำให้ สภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย (ซึ่งเป็นองค์กรสูงสุดด้านคนพิการ) ออกมาค้านอย่างถึงที่สุด

ที่มาของกองทุนฯ นี้มาจากมาตรา 34 แห่ง พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 และแก้ไข พ.ศ.2556 หากสถานประกอบการไม่จ้างงานคนพิการ ต้องสมทบเงินเข้ากองทุนฯ อัตรา ค่าแรงขั้นต่ำคูณ 365 วัน ปรากฎว่า เมื่อมีการประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท กองทุนฯ นี้จึงได้อานิสงส์มีเงินสะสมทะลุเกินหลัก 1 หมื่นล้านบาทเมื่อปี พ.ศ.2559 ที่ผ่านมา 

 

คนพิการ 1.8 ล้านคน จะได้รับงบประมาณสนับสนุนประจำปี กว่า 28,000 ล้านบาท งบประมาณรอใช้สิทธิ์เพียงครั้งเดียวอีก 9,000 ล้านบาท และงบประมาณสำหรับการขอรับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ จากกองทุนอีก 12,000 ล้านบาท และยังมีอีกหลายสิทธิ์ หลายกองทุน ที่จะได้นำมาขยายความให้ได้ทราบกัน

 

skynews-wheelchair-disabled_4202778

 

ประเด็นร้อนล่าสุด ในแวดวงคนพิการ ที่กำลังออกมาคัดค้านรัฐบาลอย่างหนักหน่วง จากการที่รัฐบาลเห็นว่า กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ มีเงินสะสมเกินเพดาน จึงขอให้นำส่งเงินส่วนเกิน จำนวน 2,000 ล้านบาท เข้าคลัง ทำให้ สภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย (ซึ่งเป็นองค์กรสูงสุดด้านคนพิการ) ออกมาค้านอย่างถึงที่สุด เนื่องจากเงินในกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ สามารถนำออกมาช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุน คุณภาพชีวิตคนพิการได้อย่างมาก

 

ที่มาของกองทุนฯ นี้มาจากมาตรา 34 แห่ง พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 และแก้ไข พ.ศ.2556 หากสถานประกอบการไม่จ้างงานคนพิการ ต้องสมทบเงินเข้ากองทุนฯ อัตรา ค่าแรงขั้นต่ำคูณ 365 วัน ปรากฎว่า เมื่อมีการประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท กองทุนฯ นี้จึงได้อานิสงส์มีเงินสะสมทะลุเกินหลัก 1 หมื่นล้านบาทเมื่อปี พ.ศ.2559 ที่ผ่านมา 

 

เมื่อมีเงินเข้ามามากแบบรวดเร็ว ทำให้หลายฝ่ายรวมถึงหน่วยงานที่รับผิดชอบเงินกองทุนนี้โดยตรงคือ กรมส่งเสริมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) ต้องปรับแผนการใช้เงินให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับคนพิการ หากแต่การบริหารจัดการอาจจะยังไม่ลงตัว จึงทำให้รัฐบาลมองว่า เงินมีมากจึงขอส่งเข้าคลัง

 

disabled-people

 

ผู้เขียนขออ้างอิงแผนการใช้เงินจากกองทุนฯ นี้เพื่อเกิดประโยชน์กับคนพิการ ดังนี้

 

1. หลายหน่วยงานมีการจ้างคนพิการทำงาน แต่ใช้งบประมาณจากกองทุน (ผู้เขียนไม่เห็นด้วย ควรใช้งบของแต่ละหน่วยงานเอง)

 

2. พมจ. ประจำแต่ละจังหวัด กำลังจัดตั้ง “ศูนย์บริการคนพิการ” คาดว่าใช้เงินศูนย์ละ 30 ล้านบาท รวมน่าจะประมาณ 2.5 พันล้านบาท (ผู้เขียนไม่เห็นด้วย เป็นงานที่เจ้าหน้าที่ พม. ต้องทำอยู่แล้ว และมีผู้นำคนพิการระดับพื้นที่ ที่มีความตั้งใจ ควรให้มีส่วนร่วมมากกว่า)

 

3. งบประมาณส่งเสริมอาชีพแบบบูรณาการ ปีละ 200 ล้านบาท (ผู้เขียนไม่เห็นด้วย ควรส่งมอบงบนี้ให้กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานดำเนินการจะมีความเชี่ยวชาญกว่า)

 

4. งบสำหรับการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้แก่คนพิการ รวมทั่วประเทศประมาณ 30 ล้านบาท (ผู้เขียนเขียนในตอนที่ 3 ควรเพิ่มเป็น 300 ล้านบาท เพราะทำให้คนพิการมีที่อยู่อาศัยที่ดีขึ้นปีละ 15,000 หลังคาเรือน)

 

5. งบสำหรับ “ผู้ช่วยคนพิการ” ซึ่งคนพิการสามารถร้องขอให้มี “ผู้ช่วยคนพิการ” เวลาคนพิการออกนอกบ้านได้ เช่น จะไปโรงพยาบาล จะไปธุระ เป็นต้น พก. กำลังเร่งสร้างให้มีจำนวนมากขึ้น เพราะปัจจุบันมีเพียง 200 กว่าคนเท่านั้น ใช้เงินในส่วนนี้ประมาณ 30 ล้านบาทต่อปี

 

6. เงินกู้ปลอดดอกเบี้ย ให้คนพิการกู้ได้สูงสุดถึงคนละ 120,000 บาท แต่ของจริงกู้ยากมาก หลายจังหวัดอาจมีคอรัปชั่นส่วนนี้ด้วย จึงผ่านง่าย หลายจังหวัดมีขั้นบันไดในการปล่อยกู้ เช่น 20,000 – 40,000 – 60,000 บาท เป็นต้น หากคิดที่ปล่อยกู้พร้อมๆ กัน ทั่วประเทศ รายละ 40,000 บาท จำนวน 10,000 ราย ใน 1 ปีใช้เงินส่วนนี้ 400 ล้านบาท ซึ่งเป็นเรื่องสมควร เพราะเป็นเงินต้นทางจากการไม่จ้างงานคนพิการ

 

7. หลายหน่วยงานของรัฐ เช่น กองงานวิจัย มหาวิทยาลัย หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และองค์กรด้านคนพิการที่ขึ้นทะเบียนกับทาง พก. สามารถทำโครงการขออนุมัติเงินได้ หากโครงการดังกล่าวเป็นประโยชน์กับคนพิการ ซึ่งมีหัวข้อในการส่งโครงการอยู่หลายหมวด

 

ส่วนตัวผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับการบริหารเงินในกองทุนนี้ ตัวอย่างเช่น เรื่องการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้แก่คนพิการ หรือ การส่งเสริมอาชีพ ทาง พก. 

 

ไม่ใช่หน่วยงานโดยตรง ควรให้กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน รับผิดชอบ ผู้เขียนทำงานใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่ของกรมการจัดหางาน ที่ส่วนกลางเพียงไม่กี่ท่าน จะบอกว่าคนเดียวก็จะดูเกินจริงไป หลอกผู้อ่านว่า ไม่เกิน 3 คนก็ได้

 

ไม่ได้เข้าใจผิดนะครับ ดูแลทั้งประเทศ เพียงไม่เกิน 3 คน เพราะไม่มีงบประมาณ เรื่องนี้ทางผู้บริหาร ระดับกระทรวง กับระดับประเทศ ท่านลองนึกภาพเอาเอง ควรแก้ไขเร่งด่วนหรือไม่ ยกตัวอย่าง จะให้กระทรวงแรงงานเพิ่มอัตราเจ้าหน้าที่ หรือจะไปต่อรองกับทาง พก. เพื่อให้ตั้งงบประมาณให้กรมการจัดหางานทุกปี ก็ต้องสรุปกัน

 

group-418449_1280

 

สำหรับผู้เขียนนั้น จุดเสียหายตรงนี้เป็นมะเร็งระยะสุดท้ายแล้ว ดีกว่าเอางบประมาณจากกองทุนฯ ไปบริหารจัดการแบบไร้ทิศทาง จนทำให้ต้องส่งเงินเข้าคลัง และกรุณาอย่าเห็นว่าคลังจะมาเอาเงินไป จึงใช้แบบสุรุ่ยสุร่าย ไร้ประสิทธิภาพก็ไม่ดีแน่ อีกเช่นกัน

 

อีกตัวอย่างที่ผู้เขียนมีประสบการณ์ตรง ของการใช้เงินกองทุนแบบไร้ประสิทธิภาพ คือ คนพิการทางการได้ยิน (แบบหูหนวก) กลุ่มนี้ไม่สามารถใช้เครื่องช่วยฟังได้ ดังนั้น เรื่องเดียวที่คนพิการกลุ่มนี้จะร้องขอเงินจากกองทุนฯ เพื่อการศึกษาเรียนรู้แบบระยะยาว เช่น 30 วัน หรือ 3-6 เดือน โดยการขอใช้งบประมาณในการจ้างล่ามภาษามือ กองทุนฯ นี้จะไม่ยอมอนุมัติ ทั้งๆ ที่เป็นโอกาสในการพัฒนาตนเองสู่การมีงานทำ ของคนพิการหูหนวก

 

ผู้เขียนก็ไม่เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลจะนำเงินบางส่วนเข้าคลัง แต่ผู้เขียนก็อยากให้หน่วยงานตรงที่บริหารเงินกองทุนนี้ บริหารจัดการเงินอย่างมีเหตุมีผล ควรใช้ทำเรื่องใด ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงไปบริหาร จะเหมาะสมกว่า หรือปรับปรุงระเบียบเพื่อให้คนพิการเข้าถึงสิทธิ์ เช่น สิทธิ์กู้เงินประกอบอาชีพ อย่ากอดเงินไว้เอง พอจะใช้ก็ไม่กล้าเพราะไม่ถนัด ถ้าพลาดก็ผิดวินัย พอเก้ๆ กังๆ คลังก็ต้องขอคืน

 

สำหรับในส่วนของสิทธิคนพิการนั้น อย่างน้อยในตอนนี้ผู้เขียนอยากให้คนพิการได้ทราบเพิ่มเติมว่า 

 

คนพิการมีสิทธิในการกู้เงินมาประกอบอาชีพสูงสุดรายละ 120,000 บาท แบบกลุ่มไม่เกิน 1 ล้านบาท แบบไม่เสียดอกเบี้ย 

 

ลองนึกภาพตามว่า ในชนบท ในตำบลมีคนพิการอยู่เป็นร้อยคน รวมตัวกันกู้ยืมเงินมาให้ครอบครัวลงทุนแบบไม่ต้องไปกู้นอกระบบ และไม่มีดอกเบี้ยจะวิเศษแค่ไหน 

 

เมื่อคนพิการจะออกนอกบ้านสามารถร้องขอให้มีผู้ช่วยติดตามไปด้วย โดยภาครัฐจะเป็นผู้จ่ายค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เอง ติดต่อสอบถามทั้ง 2 เรื่องนี้ได้ที่ ศูนย์บริการคนพิการ ประจำจังหวัด ที่ พมจ. ทั่วประเทศครับ สิทธิคนพิการยังมีอีกมาก ผมจะได้นำมาเพิ่มเติม และบางส่วนจะขยายความจากที่ได้เกริ่นนำไปแล้ว เพื่อให้คนพิการสามารถนำไปปฏิบัติ ได้จริงต่อไป

 

บริหารเงินกองทุน 1.2 หมื่นล้าน ต้องทำเป็น ต้องโปร่งใส ต้องให้มืออาชีพช่วย และให้คนพิการเข้าถึงสิทธิ์ได้จริง

 

http://www.judprakai.com/life/479?utm_source=homepage&utm_campaign=bangkokbiznews

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก