ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

ทำไมเด็กออทิสติกจึงเป็นเป้านิ่งให้คนรังแกที่โรงเรียน

โดย Maia Szalavitz วันที่ 5 กันยายน 2555

การถูกข่มเหงรังแก อาจนำไปสูความซึมเศร้า การเรียนตกต่ำ มีปัญหาทางด้านพฤติกรรม และแม้แต่ความเจ็บป่วยทางกาย จากความกดดันที่เกิดขึ้น และเด็กที่มีอาการออทิสติกอาจต้องทนทรมานกับผลกระทบที่รุนแรงจากการถูกทำร้าย
 
การศึกษาวิจัยชิ้นใหม่พบว่า เด็กที่มีความผิดปกติจากอาการของโรคในกลุ่มออทิสซึ่ม มักถูกรังแกบ่อยๆ มากกว่าเพื่อนวัยเดียวกันที่มีพัฒนาการตามปกติ บ่อยมากถึงห้าเท่าทีเดียว แต่พ่อแม่ผู้ปกครองของเด็กออทิสติกคิดว่า ตัวเลขของอัตราส่วนดังกล่าวน่าจะสูงกว่านี้อีกด้วย
 
ในงานวิจัย ประมาณร้อยละสี่สิบหกของเด็กออทิสติกที่กำลังเรียนชั้นมัธยมต้นและมัธยมปลายฟ้องพ่อแม่ผู้ปกครองของตนว่า พวกเขาตกเป็นเหยื่อเมื่ออยู่ที่โรงเรียน
 
หลายปีก่อนหน้านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับตัวเลขกว่าร้อยละสิบของเด็กปกติ “สิ่งนี้ถูกเรียกว่า “ปัญหาทางสาธารณสุขที่ซับซ้อน” Paul Sterzing นักวิจัยของ Washington University ใน St. Louis บอกกับหนังสือพิมพ์ New York Times ว่า “อัตราการถูกรังแกและตกเป็นเหยื่อในกลุ่มวัยรุ่นเหล่านี้ สูงขึ้นอย่างน่าตกใจ
 
คนเป็นโรคออทิสซึ่มจำนวนมากมีปัญหาในการยอมรับกับสิ่งเร้าจากสังคม (social cues) ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกอึดอัด เด็กเหล่านี้ยังต้องต่อสู้กับพฤติกรรมซ้ำซากของตน และออกจะมีความรับรู้ต่อสิ่งกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมได้ไวกว่าปกติ สิ่งกระตุ้นทั้งหลายนี้ทำให้เด็กที่มีความผิดปกติเหล่านี้กลายเป็นเป้าอย่างดีที่เหมาะต่อการข่มเหงรังแกจากคนในชายคาเดียวกันเพราะความแตกต่าง และสนุกกับการยั่วยุให้เหยื่ออารมณ์เสีย หนึ่งในสามของเด็กออทิสติกเหล่านี้มีความพิการในระดับสูงมาก ได้แก่ เด็กที่ป่วยเป็นโรคออทิสซึ่มจากการมีไอคิว IQ) ต่ำ และพูดไม่ได้ แต่คนเป็นออทิสติกส่วนใหญ่มีไอคิวตามเกณฑ์เฉลี่ยหรือไม่ก็สูงกว่า และสามารถทำทุกอย่างได้ตามปกติ หากมีการจัดการกับปัญหาทางด้านสังคมและการรับรู้ความรู้สึกของพวกเขาได้อย่างเหมาะสม
 
สิ่งนี้อาจมาช่วยอธิบายว่า เหตุใดเด็กออทิสติกที่มีความสามารถสูงสุดในการเรียนรู้ และสติปัญญาดีในงานศึกษาวิจัยชิ้นนี้ จึงมีความเสี่ยงต่อการถูกข่มเหงรังแกมากอย่างที่สุดได้ ในขณะที่ความอึดอัด เคอะเขินเมื่อต้องออกสังคมของเด็กเหล่านี้ จะแสดงออกมาอย่างเด่นชัดขึ้น เพราะเด็กจะมีปฏิกิริยาตอบโต้กับเพื่อนร่วมชั้นของตนมากกว่า และนี่เองที่ทำให้มองไม่ค่อยเห็นความผิดปกติของพวกเขาซึ่งดูเหมือนกับจะทำให้เพื่อนๆ ของเขา เข้าใจในสภาวะของเด็กพวกเขาได้ยากขึ้น
 
ยกตัวอย่างเช่น เด็กออทิสติกที่สามารถพูดจาได้เป็นปกติ มีโอกาสถูกรังแกได้มากกว่าเด็กออทิสติกที่ความสามารถทางการพูดจำกัดหรือไม่มีเลยถึงสามเท่า นอกจากนี้ เด็กออทิสติกที่นั่งเรียนร่วมกับเพื่อนในชั้นเรียนปกติ ก็มีโอกาสถูกรังแกมากกว่าเด็กที่ใช้เวลาส่วนใหญ่ในชั้นเรียนพิเศษถึงสามเท่าเช่นกัน งานวิจัยที่ได้นำลงพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ Archives of Pediatric and Adolescent Medicine นี้ เกี่ยวข้องกับการสำรวจข้อมูลจากพ่อแม่ผู้ปกครองของเด็กออทิสติก 920 คน ซึ่งถูกสัมภาษณ์เรื่องประสบการณ์เกี่ยวกับเด็กที่เคยถูกรังแกมาก่อน
 
มีรายงานว่า เด็กออทิสติกประมาณร้อยละ 15 ถูกรายงานว่า เป็นคนรังแกคนอื่นเสียเองด้วย — ประมาณว่าอยู่ในอัตราเดียวกันกับเด็กหนุ่มสาวทั่วไป — และร้อยละ 9 เป็นทั้งคนรังแกเองและเป็นเหยื่อด้วย การรังแก ในรูปแบบของการหยอกล้อ การกีดกัน การทำให้ขายหน้า หรือ การทำร้ายร่างกาย เหล่านี้สามารถทำให้เหยื่อต้องพบกับความซึมเศร้า มีปัญหาด้านสุขภาพจิตอื่น ๆ รวมทั้งการเรียนตกต่ำ และจนอาจถึงกับล้มหมอนนอนเสื่อจากความกดดันอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้น
 
พ่อแม่ผู้ปกครองของเด็กออทิสติกคิดว่า อัตราของการตกเป็นเหยื่อในความเป็นจริงสูงกว่าที่ผลการวิจัยระบุไว้มากมายนัก และคิดว่าอัตราของการข่มเหงรังแกที่ก่อกรรมทำเข็ญนี้จะต่ำกว่าที่ระบุไว้ ที่เห็นชัดเพราะความผิดปกติจากโรคออทิสซึ่มนั้นถูกกำหนดโดยการไร้ความสามารถในการอ่านสิ่งกระตุ้นทางสังคมที่เข้าใจยาก ๆ และโดยปัญหาของการสื่อสาร ในการแจ้งความหรือฟ้องร้องว่าตนถูกรังแกนั้น คุณจำเป็นต้องเข้าใจว่าเมื่อไหร่ที่คุณกำลังจะตกเป็นเป้าหมาย ยกตัวอย่างเช่น ในทางตรงกันข้าม คุณยังจำเป็นต้องทำความเข้าใจและรู้จักจัดการกับข้อมูลทางสังคมที่มุ่งเข้ามารบกวนเพื่อข่มเหงรังแกอย่างได้ผล ซึ่งเป็นสิ่งที่เด็กออทิสติกทั่วไปจะทำไม่ได้
 
“สิ่งเดียวที่ฉันพอจะคิดออกคืออาจเป็นเพราะพ่อแม่ผู้ปกครองของเด็กพวกนั้นแปลความหมายของความพยายามที่ดูเงอะงะเวลาพบปะผู้คนของลูกอย่างผิด ๆ”
 
Eileen Riley-Hall ครูโรงเรียนมัธยมปลาย ผู้มีลูกสาวเป็นออทิสติก และเป็นผู้เขียนบทความเรื่อง Parenting Girls on the Autism Spectrum: Overcoming the Challenges and Celebrating the Gifts กล่าวถึงอัตราส่วนของการถูกข่มเหงรังแกของเด็กออทิสติกที่เธอเขียนไว้ในงานวิจัยชิ้นใหม่ “ฉันมองการข่มเหงรังแกกันนี้เป็นการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมอย่างมีระบบ แต่คนเป็นออทิสติกนั้นใสบริสุทธิ์มากเหลือเกิน จนไม่สามารถคิดวางแผนล่วงหน้าและคิดร้ายกับคนอื่นได้ขนาดนั้น
 
ทักษะทางภาษาที่บกพร่องและการไร้ความสามารถในการอ่านสิ่งกระตุ้นจากคนรอบข้าง ยังหมายความด้วยว่าเด็ก ๆ ถูกข่มเหงรังแกโดยไม่ได้รู้ตัวเลยว่าถูกรังแก หรือมีโอกาสจะบอกกล่าวแก่ใคร Riley-Hall ยังคงจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับลูกสาวเมื่อครั้งยังเรียนอยู่ชั้นประถมได้ “เด็กผู้ชายตัวเล็ก ๆ หลายคนพยายามให้เธอพูดคำลามก แล้วพากันหัวเราะชอบใจ ลูกสาวฉันคิดว่านั่นคือเรื่องดีที่ควรทำและคิดว่าเด็กพวกนั้นเข้ามาเป็นเพื่อนด้วย แต่ที่จริงเธอกำลังถูกแกล้งให้เป็นตัวตลก เธอเล่าว่าเด็กผู้หญิงอีกคนหนึ่งที่รู้ว่านั่นเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ก็ไปฟ้องครู แต่กว่าเพื่อนของลูกจะบอกครู Riley-Hall ก็ไม่รู้เลยว่าลูกสาวของเธอถูกรังแกไปแล้ว
 
สืบเนื่องจากการให้ความสำคัญระดับชาติกับความเสียหายที่เกิดจากการข่มเหงรังแกกันในโรงเรียน รวมทั้งการฆ่าตัวตายจากการถูกรังแก โรงเรียนในเขตการศึกษาต่างๆ หลายแห่ง กำลังปรับปรุงนโยบายเกี่ยวกับการข่มเหงรังแกในโรงเรียนของตน และรัฐเองก็กำลังให้ความสนใจในแง่กฎหมายกับปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ งานวิจัยพบว่าโครงการต่อต้านการถูกข่มเหงรังแกที่ดีที่สุดนั้นจะต้องครอบคลุมผู้เกี่ยวข้องทุกส่วนอย่างทั่วถึง ทุกฝ่ายในโรงเรียน และไม่แค่เพียงเด็กนักเรียนเฉพาะรายเท่านั้น โครงการที่จะประสบผลสำเร็จอย่างดี ควรจะส่งเสริมให้เกิดสภาพแวดล้อมที่อบอุ่นขึ้นในโรงเรียนโดยให้มีความหลากหลาย ทั้งยังต้องอาศัยคนที่เป็นผู้ใหญ่กว่าในโรงเรียน ตั้งแต่ระดับครูใหญ่ลงมาจนถึงคนเสิร์ฟอาหารกลางวันเด็ก ในการสร้างบรรยากาศที่บ่งบอกอย่างชัดเจนว่าการข่มเหงรังแกนั้นไม่เป็นที่ยอมรับในสถานที่นี้ การศึกษาพบว่าเด็ก ๆ ในโรงเรียนที่ช่วยกันสร้างบรรยากาศที่เป็นมิตรดังกล่าวขึ้น จะไม่เพียงแต่มีผลการเรียนดีขึ้นเท่านั้น หากยังช่วยลดอัตราการเกิดปัญหาทางด้านพฤติกรรมเกี่ยวกับการดื่มแอลกอฮอล์และการใช้ยาลงไปได้ด้วย
 
แต่ถึงแม้จะมีความพยายามส่งเสริมให้มีการผนวกเรื่องดังกล่าวแล้ว การรับนักเรียนที่มีความพิการเข้ามาเรียนโดยรวมยังคงมีน้อย Riley-Hall ให้ความเห็นว่า “(คงเป็นเพราะ) ยังคงมีความรู้สึกที่ว่า พวกเด็กพิการไม่ใช่คนสมบูรณ์เต็มที่อย่างคนอื่น ๆ อยู่”
 
ปัจจัยอีกอย่างหนึ่งที่มักนำไปสู่การกีดกันและการหัวเราะเยาะ ก็คือ ความกลัว
“เรามีคนในหลายๆ ชั่วอายุที่ผ่านมา ซึ่งไม่เคยมีประสบการณ์ส่วนตัวกับคนที่มีความต้องการพิเศษ จึงทำให้เกิดความกลัวคนพวกนี้” Riley-Hall ตั้งข้อสังเกต
“แล้วพวกเขาก็ส่งผ่านความไม่รู้จริงแบบนั้นมายังคนรุ่นลูกรุ่นหลาน”
 
อย่างที่ผู้เขียนงานวิจัยสรุปไว้ว่า “ห้องเรียนที่มีการแบ่งแยก จำเป็นต้องเพิ่มบูรณาการทางสังคมหรือการทำงานร่วมกันของคน [ที่เป็นออทิสติก] ที่เป็นผู้ใหญ่เข้ามาอยู่ในกลุ่มเพื่อนของเด็กออทิสติก ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมด้านความเห็นอกเห็นใจ และทักษะในการพบปะผู้คนในสังคมในเด็กนักเรียนที่มีพัฒนาการตามปกติ เพื่อปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมชั้น [ที่เป็นออทิสติก] และเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการอื่นๆ
 
อันที่จริง แม้ว่าคนที่เป็นออทิสติก มักจะถูกเหมาว่าเป็นคนที่ไม่มีความเห็นอกเห็นใจคนอื่น ปัญหาของพวกเขาอยู่ที่ความไม่สามารถเข้าใจจิตใจคนอื่นได้ —ไม่ใช่คนประเภทที่เมื่อรู้ว่าใครสักคนกำลังมีความทุกข์ ก็ไม่เคยคิดจะเป็นห่วงเป็นใยแต่อย่างใด ในขณะเดียวกัน ก็ไม่มีใครคาดหวังให้คนที่ไม่ได้เป็นออทิสติก ไม่ยอมเข้าใจในความเจ็บปวดของคนอื่นเช่นกัน แล้วเราจะแก้ตัวกันอย่างไรดี?

แปลและเรียบเรียง Why Autistic Kids Make Easy Targets for School Bullies จาก Time.com

ภาพประกอบบทความออทิสติก

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก