ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

การศึกษาวิจัยเรื่อง: ความหวังใหม่เรื่องการสแกนสมองสำหรับโรคออทิสซึ่ม

Meredith Melnick วันที่ 3 ธันวาคม 2553

Thomas Tolstrup / Getty Images
 
ทีมนักวิจัยจาก University of Utah และ Harvard รายงานเรื่องการทดสอบด้วยการถ่ายภาพสมอง (brain-imaging) ที่สังเกตถึงการเชื่อมต่อต่างๆ ในสมอง เพื่อแยกแยะคนที่เป็นโรคออทิสซึ่มออกจากคนที่ไม่ได้เป็น ในการทดลองเมื่อไม่นานมานี้ นักวิจัยพบว่า การทดสอบดังกล่าวประสบความสำเร็จ สามารถระบุสมองที่มีอาการของโรคออทิสซึ่มได้มากกว่าร้อยละ 90 ของการทดสอบแต่ละครั้ง
 
การวิจัยดังกล่าว มีผู้ร่วมในการวิจัยเป็นเด็กชายและผู้ใหญ่เพศชายจำนวน 30 คนที่เป็นโรคออทิสซึ่มชนิดที่มีความสามารถสูงในการเรียนรู้ และ สติปัญญาดี (High-functioning autism) อายุระหว่าง 7-28 ปี และคนในกลุ่มคล้ายกันที่เป็นปกติอีก 30 คน ผู้ร่วมการวิจัยทุกคนได้รับการตรวจ MRI โดยเฉพาะเพื่อดูโครงสร้างของสมอง มากกว่าจะหาว่า where it “lights up” in activity นักวิจัยมุ่งเน้นไปที่พื้นที่สองแห่งในสมองกลีบขมับ (temporal lobe) คือ temporal gyrus - STG และ temporal stem – TS  ซึ่งรู้จักกันดีว่าเป็นส่วนของสมองที่เกี่ยวข้องกับวิธีการสื่อสารโดยใช้ภาษา อารมณ์ และทักษะด้านสังคม
 
ผลการวิจัยแสดงว่า สมองของคนที่เป็นออทิสติกและไม่ได้เป็น มีความแตกต่างที่วัดได้ในระบบเครือข่ายในสมองเนื้อขาว (เนื้อสมองและไขสันหลัง) ตรงบริเวณที่กล่าวมาแล้ว ด้วยพื้นฐานของความแตกต่างนี้เอง ทำให้นักวิจัยสามารถแยกแยะคนที่เป็นอออทิสติกออกจากคนที่มีพัฒนาการตามปกติ ด้วยร้อยละ 94 ทางด้านความไวต่อสิ่งกระตุ้น ร้อยละ 90 ทางด้านความจำเพาะ และร้อยละ 90 ทางด้านความถูกต้อง ตามที่กล่าวไว้ในงานวิจัยซึ่งลงพิมพ์ในวารสาร Autism Research นักวิจัยได้ทำการวิจัยซ้ำอีกครั้งกับผู้ชาย 12 คนที่เป็นโรคออทิสซึ่ม ซึ่งได้ผลตรงกับมาตรฐานเปรียบเทียบในการทดลอง จำนวน 7 คน
 
ถ้าผลจากการวิจัยนี้สามารถยืนยันได้กับคนจำนวนมากกว่านี้ และที่สำคัญ คือ กับเด็กๆ ก็จะเท่ากับว่า การทดสอบนั้นมีความเป็นไปได้ที่จะช่วยให้การหาสาเหตุของโรคทำได้เร็วขึ้น จนถึงปัจจุบัน มีการหาสาเหตุของโรคออทิสซึ่ม โดยอาศัยเพียงขั้นตอนยืดยาวในการเฝ้าสังเกตพฤติกรรม รวมทั้งวิธีการสื่อสารโดยใช้ภาษา การสื่อสารระหว่างกันทางสังคม และการเคลื่อนไหวของสรีระ แต่หากการหาสาเหตุหรือวินิจฉัยโรคตั้งแต่แรกเริ่มมีความเป็นไปได้ ก็ย่อมหมายถึงการบำบัดรักษาที่รวดเร็วทันการณ์ ซึ่งในบางกรณี อาจทำได้ถึงขนาดช่วยขัดขวางพัฒนาการของโรคออทิสซึ่มไปพร้อมๆ กันได้ด้วย
 
งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่ใช้การสแกนสมอง ทำให้ได้รู้ถึงความแตกต่างของโครงสร้างที่น่าสนใจในสมองของคนเป็นออทิสติก จากการศึกษาวิจัย ที่ลงพิมพ์ใน Science Translational Medicine นักวิทยาศาสตร์พบว่า ในคนที่เป็นออทิสติก สมองแสดงให้เห็นถึง “การเชื่อมต่อที่แน่นขนัดเกินไปในวงจรประสาทของสมองกลีบหน้า และการเชื่อมโยงจากระยะไกลที่มีน้อยเกินไประหว่างสมองกลีบหน้าและสมองส่วนที่เหลือ” ตามที่เว็บไซต์ Healthland ของ Maia Szalavitz ได้รายงานไว้ในเดือนพฤศจิกายน
 
Szalavitz อธิบายไว้ว่า:
งานวิจัยนี้เชื่อมโยงความแปรปรวนของยีน CNTNAP2 เข้ากับการสร้างวงจรเชื่อมโยงภายในสมองที่ไม่ปกติธรรมดานี้ ยีนดังกล่าวผลิตโปรตีนชื่อ CASPR1ซึ่งจะทำงานอยู่ตลอดพัฒนาการของสมอง ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับพัฒนาการของสมองกลีบหน้า “ระหว่างระยะแรกของพัฒนาการ มันจะอยู่ตรงส่วนต่างๆของสมองที่ ‘เจริญกว่า’ ที่หมายถึงบริเวณที่การเรียนรู้และการสื่อสารด้วยภาษาเกิดขึ้น ได้แก่ สมองกลีบหน้าซึ่งเป็นบริเวณที่ความคิดแบบซับซ้อนเกิดขึ้น” Ashlee Scott-van Zeeland ผู้รับทุนนักวิจัยหลังปริญญาเอก ที่ Scripps Translational Science Institute ที่เมือง La Jolla รัฐ California และนักเขียนนำของงานวิจัยนี้กล่าว “เชื่อกันว่ามันจะช่วยสร้างโครงสร้างของสมอง” ยีนนี้ยังมีอิทธิพลต่อพัฒนาการของสมองในบริเวณสมองส่วนอยาก (brain reward) ที่เกี่ยวข้องกับแรงกระตุ้น ความพึงพอใจ และการเรียนรู้
 
และในการศึกษาวิจัยที่ลงพิมพ์ใน Journal of Neuroscience  เมื่อเดือนสิงหาคม นักวิจัยที่ King’s College London ได้รายงานด้วยเช่นกันถึงการใช้การสแกน MRI นาน 15 นาที เพื่อสังเกตโครงสร้างของสมองเนื้อเทาในบริเวณสมองส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารโดยใช้ภาษาและพฤติกรรมทางสังคมในคนที่เป็นออทิสติกปรากฏว่า ผลการทดสอบสามารถระบุสมองของคนออทิสติกได้ถูกต้องแม่นยำถึงประมาณร้อยละ 90 ในขณะที่ผลจากการวิจัยดูท่าทางจะไปได้ดี แต่ก็เป็นเพียงขั้นต้นเท่านั้น นักวิจัยยังจำเป็นต้องแสดงให้เห็นว่า การสแกนนั้น สามารถแยกแยะโรคออทิสซึ่มออกจากความผิดปกติของพัฒนาการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับบริเวณต่างๆ ของสมองเหมือนกัน และจะต้องแสดงด้วยว่าการทดสอบเหล่านั้นได้ผลในเด็ก
แปลและเรียบเรียง Study_ More Hope for a Brain Scan for Autism จาก Time.com

ภาพประกอบบทความออทิสติก

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก