ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

มาทำความเข้าใจว่าคนเป็นออทิสติกปฏิเสธการเข้าสังคมด้วยเหตุใด

Maia Szalavitz

Ryan McGinnis / Getty Images
 
สิ่งท้าทายยากที่สุดอย่างหนึ่งของครอบครัว ที่กำลังเผชิญกับโรคออทิสซึ่ม คือปัญหาของการการสัมผัส บ่อยครั้งทีเดียว ที่เด็กออทิสติกจะต่อต้านการกอดและการสัมผัสทางกายในรูปแบบอื่นๆ อันเป็นเหตุให้ครอบครัวตกอยู่ในความซึมเศร้า
 
เวลานี้ การศึกษาวิจัยชิ้นใหม่ แสดงถึงความเข้าใจลึกซึ้งว่าเหตุใด คนบางคนจึงรังเกียจการสัมผัสทางกาย และวิธีการที่สมาชิกในครอบครัวที่ต้องเกี่ยวข้องกับโรค ออทิสซึ่ม อาจต้องเรียนรู้ถึงการสัมผัสด้วยการกอด โดยไม่ทำให้เด็กที่เป็นออทิสติกต้องรู้สึกเหมือนกับตนตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้
 
นักประสาทวิทยาแห่งมหาวิทยาลัย Yale ได้รับคนหนุ่มสาวจำนวน 19 คน มาจำลองภาพการทำงานของสมองของพวกเขา โดยที่นักวิจัยคนหนึ่ง ใช้พู่กันระบายสีน้ำอันอ่อนนุ่ม ปัดเบา ๆ ตรงบริเวณท้องแขนของหนุ่มสาวเหล่านั้น ในบางราย ก็ใช้แปรงปัดอย่างรวดเร็ว แต่ในบางราย ก็จะปัดช้าลงไปอีก การศึกษาก่อนหน้านี้ แสดงให้เห็นว่า คนส่วนใหญ่ชอบการใช้แปรงปัดเบาๆ และรับรู้ได้ว่า นั่นคือสัมผัสของความรักใคร่ ในขณะที่การปัดเร็วกว่านั้น จะทำให้รู้สึกว่า ให้ความเพลิดเพลินลดลง และให้ความรู้สึกเหมือนจั๊กจี้มากกว่า
 
ไม่มีผู้ร่วมในการศึกษาวิจัยที่ทำอยู่นี้เป็นออทิสติกแม้แต่สักคน แต่นักวิจัยกลับประเมินพวกเขาว่า มีลักษณะของคนเป็นออทิสติก —ประเภทที่มีความพึงพอใจในความไม่แตกต่างและความเป็นระบบระเบียบ มากกว่าการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เหล่านักวิจัยพบว่า ผู้เข้าร่วมในการศึกษาวิจัยที่มีลักษณะอาการออทิสติกอยู่ในระดับสูง จะมีการตอบสนองในระดับต่ำกว่า — บริเวณสมองส่วนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสังคม (Social Brain) หรือ สมองส่วน superior temporal sulcus (STS) และสมองส่วน orbitofrontal cortex (OFC) — เมื่อถูกปัดด้วยแปรงอย่างช้า ๆ
 
ตามที่ Martha Kaiser นักเขียนอาวุโสในการศึกษาวิจัย และรองศาสตราจารย์แห่งหน่วยห้องปฏิบัติการประสาทวิทยาเด็ก (Child Neuroscience Laboratory) ที่ศูนย์ศึกษาเด็กเยล (Yale Child Study Center) กล่าวไว้ สมองส่วน superior temporal sulcus (STS) คือ ศูนย์กลางสำคัญของสมองส่วนที่รับรู้ด้านสังคม
“สมองส่วนนี้มีความสำคัญต่อการรับรู้กับผู้คนรอบๆ ตัวเรา สำหรับตัวกระตุ้นทางสังคม ในรูปแบบของภาพ และสำหรับการรับรู้ทางสังคมที่ขัดแย้งกับเสียงที่ไม่ยอมรับรู้ทางสังคม
 
เธอบอกด้วยว่า การค้นพบในปัจจุบัน ทำให้เรารู้ว่า สมองส่วนดังกล่าว ยังเชื่อมโยงกับการทำให้เกิดการสัมผัสทางสังคม และการตอบสนองที่ตามมา ก็มีความเชื่อมโยงกับความสามารถทางสังคมของแต่ละคนด้วย
 
ในทางตรงกันข้าม สมองส่วน orbitofrontal cortex (OFC) นั้น ช่วยให้สมองสามารถประเมินประสบการณ์ที่ผ่านมาต่าง ๆ ได้ —ว่าบางสิ่งบางอย่างนั้นดูดีหรือร้าย และเกี่ยวข้องกับความสุขหรือความเจ็บปวด Kaiser พูดถึงการค้นพบครั้งนี้ว่า
“สมองของคนที่มีลักษณะออทิสติกในระดับสูง จะไม่แปลรหัสคำสั่งเรื่องการสัมผัสว่ามีความเกี่ยวข้องกับสังคม นี่คือการตีความทางหนึ่งของเรา สมองส่วน OFC นี้ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการแปลรหัสคำสั่งเรื่องการให้รางวัลหรือสิ่งตอบแทน ดังนั้น ก็เป็นไปได้ที่พวกเขารับความรู้สีกในสัมผัสได้ ทว่าในหมู่คนที่มีลักษณะออทิสติกนี้ สมองของพวกเขาจะไม่แปลรหัสคำสั่งว่า การสัมผัสแบบนั้นเท่ากับเป็นการให้รางวัล ต่างจากคนซึ่งมีลักษณะออทิสติกน้อยกว่ารับรู้ได้” หากเป็นในกรณีนั้น การหาทางที่จะทำให้เกิดประสบการณ์ทางสังคม ซึ่งรวมถึงการสัมผัสที่มากกว่าเป็นการให้รางวัลทั่วไป อาจเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้คนที่เป็นออทิสติก สามารถติดต่อหรือสมาคมกับคนอื่นๆ ได้ดีขึ้น
 
แท้จริงแล้ว Temple Grandin ผู้เขียนและนักสัตวศาสตร์ที่เป็นที่รู้จักกันดี ผู้ที่เป็นออทิสติก และเป็นเจ้าของเรื่องราวที่มีการนำไปสร้างภาพยนตร์อัตตชีวประวัติออก อากาศทางช่อง HBO ในปี 2010 ได้สร้างเครื่อง “hug machine” อันโด่งดัง ขึ้น มาเพื่อบีบรัดร่างกายของเธอเอง ทั้งนี้เพราะเธอมีความปรารถนาอย่างยิ่งที่จะได้รับรู้ถึงสัมผัสจากการโอบกอดอย่างมั่นคง แต่เธอก็ยังต้องการให้ตนเองสามารถควบคุมความรู้สึกต่อการสัมผัสนั้นได้ด้วย เนื่องจากเธอเคยรับการสัมผัสจากคนอื่นที่แรงเกินกว่าเหตุมาก่อน
 
ความเข้าใจมากขึ้นว่าเหตุใดการสัมผัสทางสังคมที่เกิดขึ้นระหว่างคนเป็นออทิสติกและไม่ได้เป็นนั้น มีความแตกต่างกัน ซึ่งอาจนำไปสู่การพัฒนากลวิธีที่สมาชิกในครอบครัวและคนผู้เป็นที่รัก จะนำไปใช้ในการสัมผัสผู้เป็นออทิสติก ด้วยการให้ความรู้สึกของการปลอบโยนและการอุ้มชูเมื่อเข้าไปหา มากกว่าทำให้พวกเขาเกิดความรู้สึกว่าเป็นผู้พ่ายแพ้ (เพราะต้องยอมคนอื่นมาสัมผัสด้วยการกอดรัด ที่ตนต่อต้าน)
 
Kaiser และผู้ร่วมงานได้ดำเนินการศึกษากลุ่มคนที่มีความผิดปกติในกลุ่มอาการออทิสซึ่ม เพื่อค้นหาคำตอบให้กับคำถามต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็ก การให้สัมผัสทางสังคมที่ทำให้รู้สึกเหมือนเป็นรางวัลตอบแทนตั้งแต่ในระยะแรกของพัฒนาการ ยังอาจช่วยให้เด็กที่เป็นออทิสติกได้เรียนรู้ทักษะทางสังคม เนื่องจากการเรียนรู้นั้นขึ้นอยู่กับความสุขเป็นสำคัญ กลวิธีนี้อาจช่วยปรับปรุงพัฒนาการโดยรวมของเด็กได้ Kaiser กล่าวเสริมว่า “ฉันคิดว่า เรายังมีวิธีเยียวยาอีกมากมายที่นำมาใช้ในงานนี้ได้”



Maia Szalavitz คือ นักเขียนบทความทางด้านประสาทวิทยาของเว็บไซต์
TIME.com และเป็นผู้เขียนร่วมของหนังสือชื่อ Born for Love: Why Empathy Is Essential — and Endangered.

แปลและเรียบเรียง Understanding Why Autistic People May Reject Social Touch จาก TIME.com

ภาพประกอบบทความออทิสติก

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก