ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

ทำให้การเขียนง่ายขึ้น: ช่วยให้เด็กติดต่อสื่อสารด้วยเสียง/สัญลักษณ์ได้โดยอัตโนมัติ ตอนที่ 2

Regina G. Richards (2008)
ความเชื่อมโยงแบบที่ 2: ความเชื่อมโยงทางหู/การได้ยินได้ฟัง
การแปลงข้อมูลให้เป็นคำรหัส หรือ การสะกดคำ เป็นทักษะที่เด็กจำเป็นต้องมีก่อน เมื่อเด็กได้ยินได้ฟังเสียง แล้วบอกชื่อตัวอักษร หรือเด็กได้ยินได้ฟังชื่อตัวอักษร แล้วออกเสียง ในความเชื่อมโยงเช่นนี้ เด็กจะไม่มองดูบัตรคำ
 
ชื่อ
 
เด็กมองดูบัตรคำ และบอกชื่อตัวอักษร
ตัวอย่างบทสนทนา:
ครู: อักษรตัวไหนออกเสียงว่า /p/
เด็ก: p
ครู: อักษรตัวไหนออกเสียงว่า /t/
เด็ก: t
หรือ
ครู: /m/
เด็ก: m
ครู: /h/
เด็ก: h
 
เสียง
 
เด็กได้ยินได้ฟังชื่อ และออกเสียงตัวอักษร (ไม่ใช้บัตรคำ)
ตัวอย่างบทสนทนา:
ครู:  เสียงของตัวอักษร p เป็นอย่างไร
เด็ก: /p/
ครู:  เสียงของตัวอักษร k เป็นอย่างไร
เด็ก: /k/
หรือ ใช้อีกทางเลือกหนึ่งเมื่อเด็กคุ้นเคยกับเทคนิคการฝึกซ้อมแบบนี้แล้ว:
ครู: m
เด็ก: /m/
ครู: a
เด็ก:  
 
การนำมารวมกัน
 
เด็กได้ยินได้ฟังชื่อตัวอักษร และบอกชื่อตัวอักษร คำรหัส และออกเสียง โดยใช้คำรหัสมาช่วยให้นึกถึงความเชื่อมโยงง่ายขึ้น
ตัวอย่างบทสนทนา:
ครู: m
เด็ก: m, monkey, /m/
ครู: a
เด็ก: a, apple,  
 
ความเชื่อมโยงแบบที่ 3: ความเชื่อมโยงทางความเคลื่อนไหวของร่างกาย
 
ความเชื่อมโยงนี้เป็นเงื่อนไขที่เด็กจำเป็นต้องมีก่อนที่จะไปถึงขั้น การเขียนตัวสะกด ในระหว่างขั้นตอนนี้ เด็กจะตามหาร่องรอย เลียนแบบ หรือเขียนตัวอักษรหลังจากได้ยินได้ฟัง ไม่ชื่อตัวอักษร ก็เสียงของตัวอักษร
 
ชื่อ
 
เด็กมองดูบัตรคำ หรือได้ฟังชื่อตัวอักษร แล้วตามหาร่องรอย หรือเขียนตัวอักษร บอกชื่อในขณะที่เด็กตามหาร่องรอยหรือเขียนตัวอักษร เพื่อช่วยให้ตัวเชื่อมโยงแข็งแกร่งขึ้น
 
ตัวอย่างบทสนทนา:
ครู: เขียนตัวอักษร m
เด็ก: (เขียนตัวอักษร m แล้วออกเสียง) /m/
ครู:  (ชูบัตรคำตัวอักษร t) เขียนตัวอักษร t
เด็ก: (เขียนตัวอักษร t แล้วออกเสียง)) /t/
 
เสียง
 
เด็กได้ฟังเสียงของตัวอักษร และตามหาร่องรอย หรือเขียนตัวอักษร บอกชื่อตัวอักษรในขณะที่ติดตามหาร่องรอย เพื่อช่วยให้ตัวเชื่อมโยงนั้นแข็งแกร่งขึ้น
ครู: จงเขียนตัวอักษรที่มีเสียง /m/ 
เด็ก: (เขียนอักษร m แล้วออกเสียง) /m/
 
แบบฝึกหัดที่ใช้ในที่นี้เหมือนกับที่ใช้กับความเชื่อมโยงแบบที่ 1 – ความเชื่อมโยงทางสายตา/การมองเห็น ความแตกต่างอยู่ตรงที่เด็กตอบสนองด้วยการเขียนและออกเสียงตัวอักษรในเวลาเดียวกัน เด็กสามารถจะเปลี่ยนแปลงการฝึกเขียนได้โดย: 
 
การเขียน
 
ตามหาร่องรอยของตัวอักษรขนาดใหญ่ที่เขียนไว้บนกระดานดำ (เขียนตามแนวนอน) และ
เขียนตัวอักษรในอากาศ ทั้งนี้ ให้ขึ้นอยู่กับวิธีเคลื่อนไหวทางกายของเด็กเองมากกว่า
และเขียนตัวอักษรตามแต่ใจเด็กบนกระดาษ
 
ควรใช้กิจกรรมที่มีความหลากหลายในขั้นตอนต่าง ๆ ของลำดับการเรียนรู้ การเขียนไปในขณะเดียวกันกับการบอกชื่อตัวอักษรนั้น ส่งผลที่เกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสหลายอย่าง ซึ่งเชื่อมโยงความเคลื่อน ไหวของกล้ามเนื้อเข้ากับภาพที่เห็น (การมองดูบัตรคำ) และเข้ากับการได้ยิน (การฟังชื่อตัวอักษร)
 
การเขียนตัวอักษรในอากาศมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเด็กที่มีความบกพร่องทางการอ่านเละการเขียน ตลอดจนการนำไปใช้ด้วยจุดมุ่งหมายหลายประการ การเขียนในอากาศช่วยทำให้ความจำบนกล้ามเนื้อของเด็กนั้นแข็งแกร่งมากขึ้นในการสร้างตัวอักษร ช่วยให้เกิดการนำข้อมูลเข้าสู่กล้ามเนื้อขนาดใหญ่ เด็กควรได้รับการส่งเสริมให้นึกภาพตัวอักษรในจินตนาการในขณะเขียนตัวอักษรนั้น ๆ ในอากาศ การทำดังนี้จะช่วยให้ทักษะในการสร้างจินตนาการของเด็กเข้มแข็งขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การทำได้โดยอัตโนมัติที่ยิ่งใหญ่กว่า นอกจากนี้ การเขียนในอากาศเป็นเทคนิคของการสอนเป็นกลุ่มที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากเทคนิคนี้จะช่วยครูในการเฝ้าสังเกตเด็กได้ในทันที เมื่อเด็กได้ตอบลงบนกระดาษ ครูจะสามารถเฝ้าสังเกตได้ต่อเมื่องานสำหรับเด็กส่วนมากนั้นจบลงแล้ว แต่ไม่ใช่จบกระบวนการ
 
เมื่อครูสอนการเขียนในอากาศให้เด็ก บอกเด็กด้วยว่า “คราวนี้ ทุกครั้งที่บอกชื่อตัวอักษร ครูอยากให้พวกหนูเขียนตัวอักษร t ในอากาศ เขียนตัวใหญ่ ๆ ใช้นิ้วสองนิ้วทำเป็น ไม้ชี้   ข้อมือและข้อศอกจะต้องตั้งตรง ครูอยากให้หนูรู้สึกได้ถึงความเคลื่อนไหวที่ทำอยู่ ในตอนที่กำลังเขียนตัว t ในอากาศ ครูจะเขียนไปพร้อม ๆ กันด้วย (ครูต้องยืนหันหน้าเข้าหาเด็ก และเขียนอักษร t ให้เส็จช้ากว่าเด็ก เพื่อให้เด็กตามอาการเคลื่อนไหวของครูได้ทัน) แล้วพวกหนูก็บอกคำรหัส และออกเสียงตัวอักษรนี้ไปพร้อมกับเขียนตัวอักษรในอากาศ”
เด็ก: (เขียนตัว t ในอากาศ) “t, tiny, /t/”
ครู: พวกหนูลองนึกภาพตัวอักษรในอากาศที่หนูเพิ่งเขียนไปได้ไหม? ลองมองให้เห็นว่ามันอยู่ตรงนั้นสิ”
ถ้าเด็กนึกภาพตัวอักษรได้ไม่ง่ายนัก  ขอให้บอกข้อความเป็นนัยเพิ่มเติม เช่นตัวอย่างต่อไปนี้:
 
ภาพที่ให้มองเห็น
  • สมมติว่านิ้วของหนูทำให้เกิดเงาขึ้นในขณะที่หนูเขียนตัวอักษร ลองมองให้เห็นเงานั่นสิ
  • สมมติว่านิ้วของหนูทำให้เกิดเส้นสีแดงสว่างไสวขึ้นในขณะที่หนูเขียนตัวอักษร ลองมองให้เห็นเส้นนั่นสิ
  • สมมติว่ามีเส้นสปาเก็ตตี้สีเขียวสว่างออกมาจากนิ้วของหนูตอนกำลังเขียนตัวอักษร ลองมองให้เห็นเจ้าสปาเก็ตตี้เส้นนั้นสิ
  • สมมติว่ามีเส้นสี Silly String ออกมาจากนิ้วของหนู มองให้เห็นเส้นสีนั้นสิ ของหนูสีอะไรล่ะ?
 
 
การใช้สิ่งช่วยเตือนความจำ
คำแนะนำต่อไปนี้ แสดงตัวอย่างในการใช้สิ่งช่วยเตือนความจำในระบบ MFR ที่สามารถใช้เป็นช่องทางในการแนะนำเรื่องคำรหัส ยกตัวอักษรตัวหนึ่งขึ้นมา ดังเช่นในบทสนทนาต่อไปนี้
 
ครู: วันนี้ เราจะมาเรียนเรื่องตัวอักษร m กัน อักษรนี้ ออกเสียงว่า /m/ ลองบอกคำที่ขึ้นต้นด้วยเสียง /m/ มาสักสองสามคำสิ
เด็ก: (เด็กบอกคำต่างๆ ที่ขึ้นต้นด้วยเสียง /m/ ขณะที่ครูเขียนคำแนะนำลงบนกระดาน)
ครู:  (ครูแนะนำเด็กจนกว่าเด็กคนใดคนหนึ่งเอ่ยคำว่า monkey ออกมา) ใช่แล้ว ทุกคำที่บอกมานั้นถูกต้องดี และคำหนึ่งในจำนวนนั้นคือ monkey เราน่าจะมาพูดกันถึง two monkeys ลิงสองตัว คราวนี้ มาดูรูปนี้กัน รูปนี้บอกว่า ‘เจ้าลิงน้อยกำลังจูบหมูตัวอ้วน’ หนูเห็นลิงสองตัวนั่นไหม? คำว่า monkeys ขึ้นต้นด้วยเสียงอะไร?
เด็ก: /m/
ครู: เรากำลังจะใช้คำ monkeys มาช่วยให้พวกเราจำได้ว่า ตัวอักษร m ออกเสียงว่า /m/ เด็กทุกคน พูดตามครู m, monkeys, /m/
เด็ก: m, monkeys, /m/
ครู: ดีแล้ว คราวนี้ ทุกครั้งที่เราคิดถึงตัวอักษร m เราอาจใช้วิธีจำลิงสองตัวนี้ และจำว่า ตัวอักษร m นี้ ออกเสียงว่า /m/
 
สำหรับเด็กนักเรียนที่กำลังขวนขวายอย่างจริงจัง จะดีที่สุดถ้าจะเริ่มสอนด้วยเสียงพยัญชนะ 5 เสียงแรกเสียก่อน (t, m, k, f, p) และสระเสียงสั้น 1 เสียง (เช่น a ในคำ apple ออกเสียงว่า /a/) พอถึงจุดนั้น ครูควรจะใช้บัตรคำหรือตัวอักษรแม่เหล็กมาสร้างการผสมคำที่หลากหลาย ซึ่งเด็กสามารถถอดรหัส (อ่าน) หรือ เข้ารหัส (สะกด) ได้ ในการเข้ารหัส ครูอาจบอกเป็นเสียงหรือพยางค์ก็ได้ แล้วเด็กก็จะเลือกตัวอักษรเพื่อนำมาสะกดคำ โดยการเรียงตัวอักษรให้ถูกตำแหน่ง ส่วนกิจกรรมการถอดรหัส (การอ่าน) นั้น ครูเป็นคนคิดประสมคำ โดยให้เด็กเป็นผู้อ่าน หรือให้เด็กคนใดคนหนึ่งออกมาประสมคำแทนเด็กในชั้น กิจกรรมหลายอย่างสามารถนำมาปรับใช้ตามแนวคิดนี้ได้ อย่างไรก็ตาม เรื่องนั้นจะได้กล่าวถึงในบทความอีกเรื่องหนึ่ง
 
การคิดค้นสิ่งช่วยเตือนความจำขึ้นเอง
 
แนวคิดในการใช้สิ่งช่วยเตือนความจำที่เป็นรูปภาพ อาจนำมาใช้กับคำบอกใบ้ด้วยภาพที่หลากหลายได้
การคิดถึงและคิดค้นประโยคช่วยเตือนความจำขึ้นมาโดยอาศัยคำรหัสนั้น เป็นเรื่องน่าสนุกจริง ๆ ปัจจัยสำคัญ ก็คือ การใช้คำรหัสอย่างสม่ำเสมอตลอดช่วงเวลาของการเรียนรู้เรื่องการอ่านและการสะกดคำนั่นเอง
 
บทสรุป
             การที่จะช่วยให้เด็กรู้สึกสนุกสนานมากขึ้นในการเขียนความรู้สึกออกมาได้นั้น เด็กจำเป็นต้องมีทักษะของการทำได้โดยอัตโนมัติ สำหรับวิธีการเขียนขั้นพื้นฐานก่อน บทความนี้มุ่งเน้นไปที่ส่วนเล็ก ๆ ของกระบวนเพื่อพัฒนาการติดต่อสื่อสารด้วยเสียง/สัญลักษณ์ได้โดยอัตโนมัติ เนื่องจากเด็กที่มีความแตกต่างทาง การเรียนรู้หลายคนมีจุดเด่นที่แข็งแกร่งในการสร้างจินตนาการ การวาดภาพในความนึกคิด (ว่ามองเห็น) ระบบการช่วยเตือนความจำด้วยภาพ จึงมีประโยชน์กับพวกเขาอย่างยิ่ง ผู้เขียนจึงขออวยพรให้คุณสนุกสนานกับการนำสิ่งช่วยเตือนความจำต่าง ๆ มาปรับใช้กับลูกหลานหรือเด็กนักเรียนของคุณ.
(จบ)
 
 
แปลและเรียบเรียงจาก Writing Made Easier: Helping Students Develop Automatic Sound/Symbol Correspondence โดย Regina G Richards (2008) โดยส่วนสื่อการศึกษาเพื่อคนพิการ ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก