ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

RTI และการอ่าน: การตอบสนองต่อการให้ความช่วยเหลือโดยสรุป

G. Emerson Dickman (2006)

 RTI และการอ่าน: การตอบสนองต่อการให้ความช่วยเหลือโดยสรุป

(RTI and Reading: Response to Intervention in a Nutshell)

 

       ความพยายามที่จะทำความเข้าใจกับกระบวนการของการตอบสนองต่อการให้ความช่วยเหลือ หรือ RTI ใช้เวลานานหลายพันชั่วโมง ใช้คนในตำแหน่งหลากหลายและคำแถลงนโยบาย เอกสาร/รายงานของทางการ เอกสารการแสดงความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ และบทความวิจัยจำนวนนับร้อย RTI เป็นกระบวนการที่มุ่งเปลี่ยนแหล่งรวมของสื่อการเรียนรู้ ไปเป็นการนำเสนอและการประเมินผลด้านการเรียนการสอน โดยไม่นำการจัดแบ่งประเภทของความพิการมาใช้อีกต่อไป RTI ไม่ได้เป็นวิธีการเฉพาะเจาะจงหรือแนวคิดทางการเรียนการสอน ความสำเร็จของ RTI ขึ้นอยู่กับการนำเสนอเรื่องการเรียนการสอนที่อิงงานวิจัยโดยครูผู้ทรงคุณวุฒิสูง แม้ว่าจะสามารถนำ RTI ไปใช้กับการเรียนระดับใดก็ได้ก็ตาม แต่ก็ดูเหมือนว่า พัฒนาการทางด้านภาษาและทักษะในการอ่านและเขียน ดูออกจะมึความโดดเด่นที่สุดในชั้นเด็กเล็ก ตั้งแต่ชั้นอนุบาลไปจนถึงชั้นประถมปีที่ 3

 

       ข้อมูลทั้งหมดทั้งมวลของ RTI ที่มีอยู่ ส่วนใหญ่จะทำให้เกิดคำถามมากกว่าจะให้คำตอบ ซึ่งทำให้เกิดความยุ่งยากกับผู้ปกครอง นักการศึกษา และกลุ่มสนใจอื่น ๆ ในการสร้างความเข้าใจในแนวคิดพื้นฐานของกระบวนการนี้ ข้อเขียนต่อไปนี้คือคำแนะนำโดยสรุปของ RTI และการตีความ ซึ่งไม่ได้สะท้อนถึงวิธีการนำ RTI ไปใช้ให้เกิดผลในทุกกรณี คำแนะนำนี้ ละเว้นที่จะกล่าวถึงรายละเอียดของปัญหาต่าง ๆ เช่น การเปลี่ยนบทบาทของผู้เชี่ยวชาญประจำโรงเรียนและผู้ปกครอง ความจำเป็นในการจัดสรรทรัพยากรบุคคลและทรัพยากรเศรษฐกิจใหม่ การพัฒนาคณะทำงาน หรือวิธีการเลือกใช้ทางเลือกที่มีระเบียบแบบแผนต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม ขอบข่ายงาน ‘โดยสรุป’ อาจช่วยสร้างรากฐาน ซึ่งผู้สนใจรายบุคคล ที่แม้ว่าจะไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งมากนัก ก็สามารถทำความเข้าใจกับกระบวนการนี้ทีละเล็กทีละน้อยได้

 

การคัดกรอง (Screen)

 

       การวัดผลการคัดกรองโดยใช้หลักเหตุผล นำมาใช้คาดการณ์ล่วงหน้าว่า เด็กคนใดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง และเด็กคนใดไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยง การวัดผลเหล่านี้มีการนำมาใช้ในการตัดสินกรณีเด็กเสี่ยงต่อความล้มเหลวในในขั้นตอนของการทดสอบผลสัมฤทธิ์ในตอนปลายปีที่เด็กมีส่วนได้ส่วนเสียอย่างสำคัญ ซึ่งขั้นตอนนี้จะถูกนำไปวัดผลประสิทธิภาพโดยทั่วไปของโรงเรียนด้วย เด็กที่ถูกจัดให้ ‘อยู่ในกลุ่มเสี่ยง’ จะถูกคาดคิดเอาว่า จะต้องมีปัญหาเรื่องการตอบสนอง (ตามไม่ทันเพื่อน) ต่อการเรียนตามหลักสูตรพื้นฐานที่จัดให้ตามแบบฉบับของการเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติของสายสามัญศึกษา ข้อสังเกต: เนื่องจากความต้องการที่ระบุตัวเด็กที่มีความเสี่ยงอย่างแท้จริงให้ได้หมด ผลลัพธ์ที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงของการคัดกรองระยะแรกเริ่มจึงอยู่ในอัตราสูงถึงร้อยละ 50 ทีเดียว อีกนัยหนึ่ง อาจมีเด็กที่ถูกระบุว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงในขั้นตอนของการคัดกรองระยะแรกเริ่มมากถึงครึ่ง ที่ไม่ได้มีความเสี่ยงจริง 

 

สอน (Teach)

 

        หลักสูตรพื้นฐานที่สอนในชั้นเรียนปกติของสายสามัญ ควรเป็นแบบอิงงานวิจัย และมีการทดสอบภาคสนาม ทั้งนี้ หมายความว่า หลักสูตรพื้นฐานได้บรรจุส่วนประกอบที่เห็นว่าจำเป็นต่อการอ่านผลของการสอนที่มีประสิทธิภาพไว้ โดยอาศัยหลักฐานจากผลงานวิจัย และมีประวัติความ สำเร็จของผลงานที่ผ่านมาเป็นที่รู้จักกันดี หลักสูตรดังกล่าว จะถูกนำเสนอโดยครูที่มีคุณวุฒิในระดับสูง และผ่านการฝึกอบรมมามากพอที่จะถ่ายทอดการเรียนการสอนที่เลือกสรรแล้วได้ตามความตั้งใจ นั่นคือ มีความถูกต้องเที่ยงตรงต่อเป้าหมายที่วางไว้

 

ให้ความช่วยเหลือ (Intervene)

 

       จัดเตรียมโอกาสในการเรียนรู้ทีให้แก่เด็กในกลุ่มเสี่ยง ซึ่งไม่จำกัดว่าจะต้องประกอบด้วยการขยายเวลาเพิ่มให้กับหลักสูตรพื้นฐานที่แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย (มีเด็กกลุ่มละ 3-6 คน) การจัดการเรียนการสอนเสริม หรือจัดการศึกษาพิเศษให้

 

ตรวจสอบ (ติดตามดูความก้าวหน้า) [Probe (progress monitoring)]

 

       การทดสอบเพื่อติดตามผลความก้าวหน้าเป็นการวัดผลแบบย่อของทักษะการอ่านที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งจัดขึ้นเพื่อตัดสินว่า เด็กที่กำลังได้รับความช่วยเหลืออยู่นั้น มีการตอบสนองตามความคาดหวังหรือไม่ การทดสอบนี้จะต้องให้เด็กได้ทำเป็นประจำ ทุกสองสัปดาห์เป็นอย่างน้อย

 

วางแผน (Chart)

 

       มีการวางแผนเพื่อความก้าวหน้าของเด็กอย่างสม่ำเสมอ เพื่อจัดทำประวัติการพัฒนาที่เห็นได้ของทักษะการอ่านที่เจาะจงตามเป้าหมายที่ระบุไว้ เป้าหมายของการให้ความช่วยเหลือ คือเพื่อให้เด็กพัฒนาจุดยืนที่เกี่ยวข้อง และทำหน้าที่ของตนให้ได้ผลคะแนนตามมาตรฐานหรือใกล้เคียง และต้องช่วยเป็นรายตัวตามความต้องการที่ไม่เหมือนใครของเด็ก

 

ปรับเปลี่ยน (Adjust)

 

       วิธีการและความเข้มข้นของการให้ความช่วยเหลือจะมีการปรับเปลี่ยน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการที่เด็กมีความก้าวหน้าในอัตราที่ถูกกำหนดไว้ได้ตามเป้าหมายเฉพาะตนเพียงใด วงจรของการติดตามผลความก้าวหน้าและการปรับการให้ความช่วยเหลือจะดำเนินต่อไป แม้ว่าจะได้มีการตัดสินใจให้เด็กได้รับการศึกษาพิเศษแล้วก็ตาม

 

RTI เมื่อนำมาใช้ในโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือก 

ช่วงชั้นที่ 1 (การศึกษาตามหลักสูตรปกติ)

 

       ในโรงเรียนแห่งนี้ เด็กทุกคนจะเริ่มต้นจากช่วงชั้นที่ 1 ซึ่งประกอบด้วยหลักสูตรพื้นฐานที่อิงงานวิจัย เด็กทุกคนถูกคัดกรองใน่ชวงชั้นนี้ เพื่อให้สามารถระบุได้ว่า เด็กสามารถตอบสนองต่อการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม เมื่อเปรียบเทียบกับเพื่อนร่วมชั้น ก่อน ที่เด็กจะเผชิญกับความล้มเหลวที่ส่งผลใหญ่หลวงกับตนเอง

 

ช่วงชั้นที่ 2 (บริการให้ความช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม)

 

       ในโรงเรียนแห่งนี้ ช่วงชั้นที่ 2 ประกอบด้วยการเพิ่มเวลาและความเข้มข้นของการแสดงออกมาอย่างเปิดเผยตัวต่อหลักสูตรพื้นฐาน สำหรับเด็กที่ดูเหมือนว่าจะมีการตอบสนองอย่างเหมาะสมต่อการเรียนการสอนในช่วงชั้นที่ 1 ตัวอย่างเช่น อาจจะต้องยอมให้ขยายเวลาเพิ่มขึ้นวันละ 30 นาทีสำหรับการอ่านเป็นกลุ่มย่อย (มีเด็ก 3-6 คน) โดยให้ความสำคัญกับการสร้างการรับรู้คำต่าง ๆ ในตำราเรียนได้อย่างถูกต้องและเป็นไปโดยอัตโนมัติ การปรับเปลี่ยนสามารถทำได้ในช่วงชั้นที่ 2 นี้เอง อาจเป็นการเพิ่มเวลาทำงาน หรือลดอัตราส่วนของจำนวนเด็ก/จำนวนครู (ในบางโรงเรียน การปรับเปลี่ยนดังกล่าวอาจเกี่ยวโยงไปถึงช่วงชั้นที่ 3 ช่วงชั้นที่ 4 และช่วงชั้นต่อ ๆ ไป

 

ช่วงชั้นที่ 3 (การให้ความช่วยเหลืออย่างเข้มข้น)

 

       ในโรงเรียนแห่งนี้ ช่วงชั้นที่ 3 ประกอบด้วยเด็กหลายคนที่ถูกลงความเห็นว่าสมควรได้รับการศึกษาพิเศษและบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และเด็กอีกจำนวนหนึ่งยังไม่มีความจำเป็นดังกล่าว สิทธิในการเข้ารับการคัดเลือกเพื่อรับการศึกษาพิเศษ อาจจะพิจารณาได้จากวิธีการและวิธีปฏิบัติเพื่อการแก้ไขปัญหา ที่ถึงแม้ว่าจะเป็นแบบอิงงานวิจัยและมีความสอดคล้องกับหลักสูตรพื้นฐาน  แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องถือเป็นสวนหนึ่งของหลักสูตรพื้นฐาน กระบวนการที่สมบูรณ์ของการติดตามผลความก้าวหน้าและการปรับเปลี่ยนวิธีการให้ความช่วยเหลือจะทำต่อไป แม้ว่าจะมีการตัดสินเรื่องความเหมาะสมของประเภทการศึกษาที่เด็กควรได้รับแล้วก็ตาม

 

  • ข้อสังเกต (1): จำเป็นต้องมีการติดตามดูผลความก้าวหน้าตามปกติ (การตรวจสอบ) และการวางแผน ในระหว่างการให้ความช่วยเหลือช่วงชั้นที่ 2 และช่วงชั้นที่ 3

 

  • ข้อสังเกต (2): สำหรับวัตถุประสงค์ของการอธิบายให้ชัดเจนนั้น บทความเรื่องนี้มองการศึกษาพิเศษว่าเป็นบริการอย่างหนึ่ง (ไม่ใช่สถานที่) ที่อาจมีความเหมาะสมกับเด็กคนใดคนหนึ่งในระหว่างช่วงชั้นที่ 1 แต่ไม่มีความจำเป็นสำหรับเด็กอีกคนหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มช่วงชั้นสูงสุดของ RTI แม้ว่า RTI และบริการทางการศึกษาพิเศษจะมีอิสระในตัวเอง แต่ก็ถือว่าเป็นการทำงานร่วมกัน และมีการแบ่งงานในความรับผิดชอบร่วมกัน เพื่อจะปรับปรุงผลที่เกิดขึ้นสำหรับเด็กๆ ให้ดีขึ้น

 

การปกป้องตามขั้นตอน 

 

       การตีความตามเจตนารมณ์และตัวอักษรทางกฎหมาย ในความเห็นส่วนตัว ของข้าพเจ้านั้น คือ การที่เด็กไม่สมควรเข้ารับการช่วยเหลือในช่วงชั้นที่ 2 หากผู้ปกครองยังไม่ได้รับทราบว่าบุตรหลานของตนถูกระบุว่าเป็นเด็ก ‘ในกลุ่มเสี่ยง’ ไม่ได้รับการแนะนำในเรื่องของกลวิธีการเรียนการสอนที่จะนำมาใช้กับเด็ก และไม่ได้รับการบอกกล่าวเรื่องความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นของเด็ก แต่ก็ไม่จำเป็นต้องมีความเห็นชอบเรื่องการเรียนการสอนเป็นการเฉพาะจากผู้ปกครอง เมื่อยังไม่ได้มีการกำหนดให้เด็กรับบริการด้านการศึกษาพิเศษ เมื่อใดที่มีการระบุให้เด็กเข้ารับบริการทางการศึกษาพิเศษ บริการนั้นจะต้องสิ้นสุดภายในกำหนดเวลา นอกเสียจากว่าจะมีการขยายเวลาโดยมีข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน จุดประสงค์ของการให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่แรก ก็เพื่อจะสร้างความสัมพันธ์ซึ่งผู้ปกครองเข้าไปเกี่ยวข้อง และมีอำนาจในฐานะของ ‘ครูคู่สอน’ (instructional partner) และพึงสังเกตด้วยว่า การให้ความช่วยเหลือในระยะแรกเริ่มนั้น คือรูปแบบของการประเมินผลที่มีความคล่องตัว ซึ่งจะช่วยในการระบุผลลัพธ์ที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงต่าง ๆ ได้ (คือ ตามความเป็นจริง เด็กไม่ได้อยู่ใน ‘กลุ่มเสี่ยง’)

 

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

       G. Emerson Dickman คือ ประธานคณะกรรมการบริหารของ International Dyslexia Association และดำรงตำแหน่งกรรมการมานานสิบปี เขาเป็นทนายความผู้เชี่ยวชาญทางด้านเด็กที่มีความพิการมานานกว่ายี่สิบห้าปี คดีต่าง ๆ ที่เขารับผิดชอบกลายมาเป็นแบบอย่างสำคัญของการปกป้องสิทธิอันชอบธรรมตามกฎหมายของเด็กนักเรียนในหลักสูตรการศึกษาพิเศษ และสิทธิตามรัฐธรรมนูญของผู้ใหญ่ที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ เขายังเป็นกรรมการของ Professional Advisory Board for the National Center for Learning Disabilities นานหกปี และประธานของหน่วยงานปกป้องและสนับสนุนประจำรัฐ New Jersey ห้าปี

 

แปลและเรียบเรียงจาก RTI and Reading: Response to Intervention in a Nutshell โดย G. Emerson Dickman (2006) โดยส่วนสื่อการศึกษาเพื่อคนพิการ ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก