สกร. ทางเลือกทางการศึกษาของบุคคลออทิสติกและคนพิการทุกประเภท
คุณชูศักดิ์ จันทยานนท์ กล่าวว่า มูลนิธิออทิสติกไทยดำเนินการเรื่องการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.เดิม) ดำเนินการมาประมาณ 17 ปี (ปัจจุบันได้ปรับเป็น กรมส่งเสริมการเรียนรู้ สกร.) โดยได้รับความร่วมมือจากศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับ เขตตลิ่งชัน (สกร.ระดับ เขตตลิ่งชัน)และสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำกรุงเทพมหานคร ที่อยู่ในความดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ ได้ทดลองจนน้อง ๆ จบ ม.6 แต่เนื่องจากทดลองเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ อยากขยายผลจึงได้ทำบันทึกข้อตกลงกับกรมส่งเสริมการเรียนรู้ นำกรุงเทพฯ โมเดล ไปดำเนินการขยายผลทั้งระบบให้เด็กออทิสติกทั่วประเทศ โดยมี สกร.จังหวัด รูปแบบต่างจากที่คนพิการคุ้นเคย เวลาไปเรียน สกร. ลงทะเบียนพบกลุ่มคนพิการ กลุ่มคนทั่วไป ซึ่งในเด็กออทิสติกที่มีความต้องการมีอาชีพเสริม การฟื้นฟูและพัฒนาจะไม่ได้รับประโยชน์จากระบบ สกร. ต้องเรียนสอบเทียบเพื่อเอาคะแนนวิชาต่าง ๆ ปัญหาอย่างหนึ่งคือ เด็กส่วนใหญ่เรียนแค่ ป.6 แล้วอยู่บ้านเพราะโรงเรียนในชั้นมัธยมศึกษาไม่มี สกร. มีถึง ม.6 แต่มีไม่กี่แห่งที่รับเด็กออทิสติกเข้าเรียน เพราะฉะนั้นทำให้เด็กขาดโอกาส จึงคิดใหม่ว่าใช้ชุมชนเป็นฐาน เพราะตอนที่จัดในรอบที่ผ่านมาใช้อำเภอเป็นฐาน ทำงานร่วมกับ สกร. ในระดับเมือง อำเภอ ยกตัวอย่าง นครศรีธรรมราช ปราจีนบุรี โดยใช้อำเภอเพื่อกระจายไปยังชุมชน เงื่อนไขที่สำคัญคือ จังหวัดที่ดำเนินการมีชมรมผู้ปกครองออทิสติกอยู่ เพราะอยากเห็นความร่วมมือระหว่างผู้ปกครองคนพิการ คนพิการ และ สกร. พอทำ MOU เนื่องจากทำทั่วประเทศ มีหลักสูตรการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายพิเศษ มีหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน ปี 57 นำมาพัฒนา เวลาสอนคนพิการไม่ได้สอนแค่อ่านออกเขียนได้ แต่สอนทักษะพื้นฐานในการดำเนินงาน การดำเนินชีวิต ทักษะอาชีพ เทคโนโลยี และศิลปะ ได้บูรณาการเป็นกิจกรรมให้น้อง ๆ ในกลุ่มที่มาเรียน จากที่เขียนไม่ได้ก็เขียนได้ อ่านไม่ออกก็อ่านได้ จากที่ไม่มีทักษะใด ๆ สามารถประกอบอาชีพได้ นี่คือเป้าหมายที่ตั้งไว้ และอยากให้เป็นศูนย์เล็ก ๆ ในชุมชน
1) ปัญหาของการศึกษาของ สกร.คือ ไม่มีระเบียบ และไม่มีงบประมาณ สำนักงบประมาณให้งบประมาณรายหัวของ สกร. ประมาณหนึ่งพันบาทต่อคนต่อปี ขณะที่โรงเรียนเฉพาะได้ประมาณ 18,000 – 20,000 บาทต่อคนต่อปี อย่างนี้คือความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา 2) จัดงานคู่กันงานพัฒนาหลักสูตรและทดลองใช้ที่ทำเป็นระบบ แต่เมื่อเจอโควิดต้องปรับเป็นออนไลน์ ทำให้ได้แพลตฟอร์มการอบรมออนไลน์แต่กลายเป็นบทเรียนหากมี 2 ระบบเป็นการดี แถมตอนที่ทาง สกร. สอน ตัวผู้สอนอยู่ กทม. สอนผ่านออนไลน์ สกร. ที่อยู่ จ.ปราจีนบุรี สามารถดูได้ด้วย สามารถค้นพบและพัฒนาการเรียนรู้ให้กับเด็ก ๆ ของเราได้ ๓) ปรับเรื่องของระเบียบกฎเกณฑ์แต่ล่าสุดทราบว่า สกร. นำอัตรากำลังครูของเราเข้าระบบ หมายความว่าจากโครงการได้เปลี่ยนเป็นงานประจำของ สกร. และสามารถขยายผลไปยังกลุ่มคนพิการทุกประเภทได้ถือเป็นระบบใหม่
ตอนนี้ทาง สกร. ได้ดำเนินการที่จังหวัดเชียงใหม่ ผมว่าสิ่งที่ผมทำเป็นเชิงประจักษ์ เว็บไซต์ของมูลนิธิออทิสติกไทย มีคลิปวีดีโอ และมีช่องยูทูป และได้มีโอกาสไปดูงานที่จังหวัดสกลนครทำเป็น 3 – 4 รูปแบบ เป็นศูนย์เรียนรู้เกษตรมีทั้งคนพิการทั่วไป คนในชุมชนและคนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ คนพิการออทิสติก มาเรียนหลักสูตรนี้โดยใช้การเกษตรเป็นฐาน
คุณชูศักดิ์ ทิ้งท้ายว่า ตอนนี้มีชมรมคนพิการ ชมรมผู้ปกครองเยอะอยากให้เข้ามาปรึกษากัน ส่วนใหญ่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์อุดหนุนไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมเรื่องแคมป์ศิลปะ ทุกอย่างมีค่าใช้จ่ายที่รัฐบาลสนับสนุน แต่ถ้าอยู่นอกองค์กร/ชมรม หรือรวมตัวกันติดต่อองค์กรหลัก
... สามารถติดตามรับฟังรายการรวมใจเป็นหนึ่ง ได้ทางสถานีวิทยุศึกษา FM 92 MHz หรือ www.moeradiothai.net