ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

“คัมภีร์กลยุทธ์ฝ่าวิกฤต ตอนที่ 3”

บทสัมภาษณ์ : นายสุชาติ โอวาทวรรณสกุล นายกสมาคมผู้ปกครองคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไทย

         นายสุชาติ โอวาทวรรณสกุล กล่าวว่า ข้อ 7 ถูกหวยทุกชมรม เรียกร้องให้มีการกระจายสลากกินแบ่งรัฐบาลให้คนพิการอย่างทั่วถึง ในปัจจุบันทางกองสลากควรมีการติดตามตรวจสอบว่า ค้าขายจริงหรือไม่ แจกให้คนพิการทั่วถึงจริงหรือไม่ ถ้าผู้นำกองสลากจัดเจ้าหน้าที่ลงตรวจสอบ คนที่ขายสลากอย่างแท้จริงที่เป็นคนพิการ ทำอย่างไรให้ผลประโยชน์ตกถึงคนพิการอย่างแท้จริง  เป็นจุดแข็งคือ ไม่ให้ขายเกิน 80 บาท เพื่อเป็นอาชีพสำหรับผู้ปกครองคนพิการทางสติปัญญา ล่าสุดพยายามอยากให้ได้ถึงหมื่นเล่ม ถ้าได้หมื่นเล่มคนพิการอยู่ได้อย่างสบาย หรือสงวนให้ได้เฉพาะคนพิการยิ่งดี จึงคิดว่าทำอย่างไรให้ถูกหวยทุกชมรม เวลามีเรื่องร้องเรียน ประท้วงสลาก พยายามไปทุกจุด อยากให้กองสลากเข้าไปดูในแต่ละองค์กร คุณได้มาพันเล่ม หมื่นเล่ม คุณแจกจ่ายตรงรายชื่อหรือไม่ ขายอยู่ที่ไหน จะเกิดประโยชน์กับคนพิการโดยตรง ผมมองว่าเป็นอาชีพหนึ่งที่สร้างความมั่นคงให้กับครอบครัวได้ ถ้าหากได้ 10 เล่ม ขายได้ 2 งวด ส่วนใหญ่ที่ผ่านมาขายหมด หากการจ้างงานของภาครัฐ โดยภาครัฐจับมือกับกองสลาก จ้างงานคนพิการเอาสิทธิสลากไปเลย เป็นอีกแนวคิดหนึ่ง สมมุติหน่วยงานกระทรวงศึกษาธิการจ้างคนพิการหกพันกว่าคนเอาสลากไปคนละสิบเล่ม คนพิการได้ไปแสนกว่าบาท แทนที่ภาครัฐต้องจ่ายให้สิทธิสลากกินแบ่งรัฐบาล
         ข้อ 8 ผู้ประสานงานสิบทิศ ชมรมหรือองค์กรที่ได้มาตรฐานแล้ว ส่วนใหญ่จะรอที่เงิน พมจ. จริงแล้วทุกกระทรวงมีเรื่องคนพิการ การศึกษาพิเศษ สกร.(กศน.เดิม) สสส. กสทช. เป็นต้น มีเรื่องคนพิการแน่นอนเพียงแต่ว่าได้เข้าไปติดต่อหรือไม่ ได้เข้าไปร่วมงานหรือไม่ ต้องเปิดตัวเราให้กว้างมากขึ้น และโดยเฉพาะในข้อที่ 1 ดิจิทัล คนจะรู้จักเรามากขึ้น ใกล้เลือกตั้งสส. หรือ อบต. ผมคิดว่าอยากได้พลังมวลชนจากคนพิการ เป็นโอกาสที่จะประสานงานกับทุก ๆ ฝ่าย ทำให้สามารถทำงานได้ง่ายขึ้น อย่าอยู่โดดเดี่ยวคนเดียว ต้องเป็นผู้ประสานงานสิบทิศ
         ยกตัวอย่าง สสส. ผมเชิญ ผอ.สำนัก 9 ซึ่งดูแลเกี่ยวกับเรื่องคนพิการ สตรี ผู้สูงอายุ เช่น มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม ทำโครงการร่วมกับ สสส. ในการขับเคลื่อนการจ้างงานที่ผ่านมา ถ้ามีโครงการที่น่าสนใจสามารถไปขอโครงการได้ กองทุนสื่อสร้างสรรค์ ตอนนี้ผมเป็นคณะกรรมการสื่อสร้างสรรค์ของกลุ่มคนพิการ ถ้าใครสนใจสามารถทำโครงการไปของบประมาณได้ ระหว่างทำโครงการมีการให้เข้าไปรายงานผลการดำเนินงานด้วย ทำโครงการไปแล้วเป็นอย่างไร มีปัญหาอุปสรรคอย่างไร กลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างไร
         ข้อ 9 การลงมือทำ ถ้าวางกลยุทธ์แล้วแต่ไม่ลงมือทำจะไม่เกิดผล ส่วนทำแล้วจะผิดหรือถูกไม่เป็นไร คนเราล้มแล้วต้องลุกให้เร็ว จนวันหนึ่งเราจะประสบความสำเร็จ เหมือนเปิดร้านอาหารต้องลองผิดลองถูก ทำให้เพื่อนบ้านชิม             
         คุณสุชาติ ทิ้งท้ายว่า “จริงแล้วผมชอบอ่านหนังสือ โดยเฉพาะเรื่องธุรกิจ การดำรงชีวิตส่วนตัวชอบปรัชญาของญี่ปุ่น วะบิ - ซะบิ Wabi-Sabi คือปรัชญาญี่ปุ่นที่โอบรับความไม่สมบูรณ์แบบ มีตำหนิ และร่องรอยอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาของทุกสิ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับคนพิการ คือ ความไม่สมบูรณ์แต่คนญี่ปุ่นมองให้สวยงามได้ โดยใช้คำว่า วะบิ เบิกบานในใจ ไม่ว่ายามใด การใช้ชีวิตที่เรียบง่ายโดยไม่ต้องเดือดร้อนในความเปลี่ยนแปลงในชีวิต ส่วนคำว่า ซะบิ ประกอบด้วยความสัมพันธ์  ความเคารพ สุข และความสงบ ทั้งสองมาผสมผสานกันให้เกิดมุมมองใหม่ โดยให้เห็นการมองชีวิตที่เรียบง่าย ไม่สั่นไหวกับรอยแผล เราเป็นคนพิการแต่เมื่อเกิดรอยแผลจะไม่หวั่นไหว เพียงแต่ยอมรับและเรียนรู้ อย่าลดคุณค่าในชีวิตเรา แต่ให้เติมแต่งชีวิตให้สวยงาม มีภาพประกอบคือ มีชาที่ทำเสร็จแล้วไม่สมบูรณ์ มีรอยร้าว รอยแหว่ง แต่คนญี่ปุ่นมองว่าเป็นความสวยงาม เป็นสิ่งหนึ่งที่ไม่เหมือนใครในโลก อยากให้ทุกคนมีปรัชญาแบบนี้”
 

... สามารถติดตามรับฟังรายการรวมใจเป็นหนึ่ง ได้ทางสถานีวิทยุศึกษา FM 92 MHz หรือ www.moeradiothai.net

รายการรวมใจเป็นหนึ่ง ออกอากาศทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 18.30-19.00 น. ทางสถานีวิทยุศึกษา FM 92 MHz

ภาพประกอบรายการวิทยุรวมใจเป็นหนึ่ง

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก