ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

“คัมภีร์กลยุทธ์ฝ่าวิกฤต ตอนที่ 2”

นายสุชาติ โอวาทวรรณสกุล นายกสมาคมผู้ปกครองคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไทย

          นายสุชาติ โอวาทวรรณสกุล กล่าวว่า ข้อที่ 3 การสร้างความเข้มแข็งให้ชมรม คือ การสร้างบันได 3 ขั้น โดยขั้นที่หนึ่ง การเป็นชมรมคือการรวมตัวคนที่มีปัญหา เช่น คนพิการทางการได้ยินรวมตัวกัน เป็นต้น ตอนนี้มี 103 ชมรม ผ่านมาตรฐาน 20 ชมรม และวางแผนไว้ภายใน 3 ปี อีก 60 ชมรมจะต้องผ่านมาตรฐานให้ได้ ซึ่งมีเป้าหมายทุก 1 ปี ต้องผ่านมาตรฐานให้ได้อย่างน้อย 18 ชมรม ขั้นที่สองอยากให้เป็นศูนย์บริการ ซึ่งศูนย์บริการเป็นกฎหมายอันหนึ่งที่ช่วยให้คนพิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั่วประเทศ เพราะเราเป็นเจ้าของปัญหาที่แท้จริง อยากให้เป็นศูนย์บริการคนพิการทั่วไปที่คนพิการสามารถที่เข้าใช้บริการได้ในชุมชนต่าง ๆ และใกล้บ้าน คนพิการที่ไม่ได้เข้าถึงการศึกษาไปปรึกษากับศูนย์บริการคนพิการทั่วไปได้ หรือแม้แต่การหารายได้ หาอาชีพเสริม และนำไปสู่บันไดขั้นที่ 3 คือ Social Enterprise เป็นธุรกิจเพื่อสังคม สามารถขายสินค้าของคนพิการได้จริง ช่วยสังคมได้จริง โดยตั้งเป้าไว้ภายใน 3 - 5 ปีจะเห็นกลุ่มคนพิการทางด้านเศรษฐกิจ
          ข้อ 4 สอนให้ตกปลาเป็น ซึ่งที่ผ่านมาพยายามหางานให้คนพิการ ตัวผมเป็นนักธุรกิจ  โดยการทำงานเชิงสังคม ทำประโยชน์ให้ชุมชน ไม่เป็นภาระ เช่น นราธิวาส ปัตตานี แม่ฮ่องสอน เชียงราย  เป็นต้น เพื่อไปทำงานในชุมชน โดยมีกลยุทธิ์ว่า อย่างน้อยปีหน้า หางานให้คนในกลุ่ม/ชมรมของคุณไม่ต่ำกว่า 3 คน เพราะฉะนั้น ถ้า 100 กว่าชมรมหาได้ ชมรมละ 3 คน จะได้จ้างงาน 300 กว่าคน จะทำให้รู้จักหาปลาเป็น เราหางานให้เขาเพื่อที่จะได้เป็นเหมือนไม้ขีดไฟส่องแสงสว่างเพื่อให้เขามาต่อ การหางานคนพิการบางคนไม่เข้าใจ คิดว่า รอจากสมาคมมาให้ รอจากผู้นำหาให้ แต่คนพิการสามารถหาเองได้ ยกตัวอย่าง ผมพึ่งเจอเคสหนึ่งเป็นคนสุรินทร์ ขายล็อตเตอรี่ที่ กรุงเทพ 7 วัน วันหนึ่งได้มาสัมมนากับทางสมาคมฯ ได้บอกว่า การหางานคนพิการสามารถหาได้เองเลย วันรุ่งขึ้นเขาไปที่จัดหางาน ที่ ไอที สแควร์ หลักสี่ ไปยื่นเอกสารต่าง ๆ ทางจัดหางานเอารายละเอียดงานต่าง ๆ มาให้เลือก ซึ่งท่านนี้ถนัดงานทอผ้า  จึงเขียนโครงการเรื่อง ทอผ้า เงินทุนหมุนเวียน 50,000 บาท เขียนไปประมาณ 120,000 บาท ปรากฏว่าบริษัท อีออน เลือกเขาไป โอนเงินให้ก้อนแรก 60,000 บาท ชีวิตเขาเปลี่ยนเลย  จากเดิมจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่าห้อง ต้องค้างเค้าเลย แต่เมื่อได้จ้างงานทำให้ชีวิตเปลี่ยน เราพยายามสอนให้เขาตกปลาเป็น เพราะตอนนี้ภาครัฐค้างงานคนพิการ 15,000 กว่าตำแหน่ง ภาคเอกชนในปีนี้ส่งเงินเข้ากองทุน 12,000 – 13,000 ตำแหน่ง
          การสอนวิธีการ ว่า การที่จะหางาน ครอบครัวเองบางทีไม่เข้าใจ คนพิการเป็นเรื่องความทุกข์ บัตรคนพิการเป็นบัตรที่มีเงินเป็นล้านอยู่ในบัตร สอนแนวคิดนี้ไปหลายคนไม่เชื่อ ปัจจุบันมีคนแม่ท่านหนึ่งอยู่แถวกาญจนบุรี ได้รับจ้างงานมาเป็นเวลา 7 ปีแล้ว เพราะฉะนั้นคนพิการไปติดต่อบริษัทต่าง ๆ และสามารถติดต่อได้ทั่วประเทศ
          ข้อที่ 5 อยากเรียนต้องได้เรียน กลุ่มสติปัญญาของผมปัญหาคือ ไปโรงเรียนแล้วไม่รับซึ่งเป็นปัญหาใหญ่โตมาก ๆ ผมคิดว่าการที่จะไปสู่งานทำได้ เริ่มต้นตั้งแต่การเรียน ยกตัวอย่าง คุณสว่าง ไปบรรยายเรื่องคนพิการถูกบูลลี่ เวลาไปเรียนหนังสือถูกล้อว่า ไอ้เป๋
          อย่างน้องนาย ไปสมัครเรียนเกือบ 20 ที่ ไม่มีที่ไหนรับ ไปแถวฉะเชิงเทรา เป็นโรงเรียนศาสนาคริตส์สัมภาษณ์บิดาและมารดาของเด็ก เราไม่สามารถรับลูกคุณได้เพราะลูกคุณหน้าตาแบบนี้ลูกคนอื่นจะไม่กล้ามาเรียน ทำให้เป็นบทเรียน เป็นแรงผลักดันให้ผมว่าจะทำอย่างไร
          ทำอย่างไรให้โรงเรียนมีความพร้อมหรือมีความอยากที่จะรับลูกของเราจริง ๆ จะเปลี่ยนแนวคิดผู้บริหารได้อย่างไร ตั้งเป้าหมายไว้เมื่อสมัชชาที่ผ่านมา ลูกเราไปสมัครเรียนสัก 3 โรงเรียนใกล้บ้าน ทำอย่างไรให้โควตาในการเรียน เช่น 50 ต่อ 1 นักเรียนทั่วไป 50 ต่อ นักเรียนคนพิการ 1 คน อยากให้เป็นเรื่องเชิงบังคับ เหมือนการจ้างงานถ้าไม่บังคับ ใครจะมาจ้างงานคนพิการ

... สามารถติดตามรับฟังรายการรวมใจเป็นหนึ่ง ได้ทางสถานีวิทยุศึกษา FM 92 MHz หรือ www.moeradiothai.net

รายการรวมใจเป็นหนึ่ง ออกอากาศทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 18.30-19.00 น. ทางสถานีวิทยุศึกษา FM 92 MHz

ภาพประกอบรายการวิทยุรวมใจเป็นหนึ่ง

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก