ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

“โครงการสร้างอาชีพด้านกีฬาเพื่อคนพิการไทย”

บทสัมภาษณ์ : คุณไมตรี คงเรือง เลขาธิการและประชาสัมพันธ์สมาคมกีฬาคนพิการแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

          คุณไมตรี กล่าวว่า สำหรับนักกีฬาคนพิการที่เลิกเล่นกีฬาแล้ว มีอาชีพที่มั่นคง สามารถเลี้ยงตนเองได้ ขอเอ่ยถึง คุณวรกิจ เสริมกิจเสรี เป็นนักพัฒนาบุคลากรที่ดีเยี่ยม เชิญมาเป็นผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาบุคลากรและพัฒนาคุณภาพชีวิตหลังเลิกเล่นกีฬาของคนพิการ จึงเป็นที่มาของ “โครงการสร้างอาชีพด้านกีฬาเพื่อคนพิการไทย”
          หมวดแรก ผู้ฝึกสอน อาชีพสื่อมวลชน การจัดการแข่งขัน งานอีเว้นท์ต่าง ๆ ธุรกิจที่เกี่ยวกับกีฬา และการเป็นนักกีฬาโดยแบ่งเป็นสมัครเล่นและอาชีพ ใครที่สนใจ อดีตนักกีฬาคนพิการ บุคลากรทางกีฬาคนพิการ ผู้ฝึกสอนอยากมีอาชีพเป็นผู้ฝึกสอนที่มีระดับสูงขึ้น อาชีพทางด้านผู้สอน แบ่งเป็น 2 ส่วน 1)ผู้ฝึกสอนทางด้านเทคนิค หมายความว่า เป็นผู้สอนหรือโค้ช 2)นักวิทยาศาสตร์การกีฬา อาทิ นักเสริมสร้างกล้ามเนื้อ นักจิตวิทยา นักโภชนาการ หมอนวดกีฬา นักกายภาพ นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst)  อาชีพที่มีหน้าที่รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์นักกีฬาตนเอง และวิเคราะห์คู่แข่ง เพื่อประกอบในการวางแผนการฝึกซ้อม
          โครงการฯ ได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด มีการจัดคอสในการฝึกอบรมระยะเวลา 1 ปีครึ่ง มีการนำเรื่องจิตวิทยา เรื่องการเป็นผู้นำ เรื่องการบริหารการจัดการ เข้าไปเกี่ยวข้องทุกแขนงสามารถทำให้เป็นโค้ชที่ดีได้ ให้อดีตนักกีฬาเข้าโปรแกรม เบื้องต้นตั้งเป็นโมเดล โดยรับสมัครอดีตนักกีฬา 10 คน ได้จาก 8 ชนิดกีฬา เริ่มโครงการในเดือน กรกฎาคม โดยอบรมภาคทฤษฎีและปฏิบัติควบคู่ไป จนสามารถปฏิบัติได้ตามทฤษฎีที่กำหนดไว้ โดยการันตีถ้าอยู่ครอบ 1 ปีครึ่ง สามารถก้าวไปเป็นผู้ฝึกสอนในทีมชาติไทย
          เนื่องจากกีฬาคนพิการเกิดจากศูนย์ฝึกอาชีพต่าง ๆ โรงเรียนสอนคนพิการทั่วประเทศ มีโครงการผลิตครูสอนกีฬา และส่งครูเหล่านี้ไปประจำตามศูนย์ฝึกต่าง ๆ โรงเรียนต่าง ๆ เพื่อสอนพื้นฐานให้กับเด็กพิการตามโรงเรียน โดยไม่ต้องออกค่าใช้จ่าย สมาคมฯ หาเงินเดือนให้กับครูเหล่านั้นด้วย         
          1)การเป็นสื่อมวลชน ในปัจจุบันมีหลายช่องทาง อาทิ ทีวี สื่อสิ่งพิมพ์ โซเซียลมีเดีย เพจเฟสบุ๊ค youtube สร้างอดีตนักกีฬาให้เก่งกราฟฟิก ตัดต่อ ต่อไปหาสถานที่เรียน ที่ฝึกอบรม ใครที่เก่งสามารถเป็นนักพากย์ ทีมไลฟ์หนึ่งทีม จัดอีกเว้นท์หรือกิจกรรม สมาคมฯมีกิจกรรมเยอะ
         2)การจัดการแข่งขัน งานแถลงข่าว แต่เป็นทีมงานของอดีตนักกีฬาคนพิการ ไม่ใช่ว่าเข้ามาแล้วต้องเป็นคนพิการ มันคือการผสมผสานส่วนที่ขาด ให้คนไม่พิการเข้ามาช่วย ต้องควบคู่กันไปไม่มีงานไหนที่คนพิการทำได้ 100% แต่สอนให้อดีตนักกีฬาของเรา สามารถจัดอีเว้นท์การแข่งขันได้ สิ่งที่สำคัญคือ เรื่องการจัดการแข่งขันกีฬา ในปัจจุบันจ้างออแกไนท์เซอร์
         3)ธุรกิจกีฬา แบ่งเป็น 2 ธุรกิจ การขายเสื้อผ้ากีฬา อุปกรณ์กีฬา หรือขายอุปกรณ์ช่วยเล่นกีฬา เช่น รถวีลแชร์ แขนขาเทียม หรือเป็นผู้แทนจำหน่าย และศูนย์ฝึกกีฬา สปอร์ตคลับ หรือศูนย์กีฬาที่มีอยู่ เช่นที่โคราช
         4)การสร้างนักกีฬาสมัครเล่นเพื่อไปแข่งขันกีฬาในทัวร์นาเมนต์ต่าง ๆ มหกรรมอาเซียน พาราเกมส์ เอเซียนพาราเกมส์ และพาราริมปิกเกมส์ ได้รับเบี้ยเลี้ยงของการกีฬา  และได้เงินเดือนจากสถานประกอบการ
          คุณไมตรี ทิ้งท้ายว่า “ท่านใดมีความประสงค์ร่วมงานหรือพบเจอคนพิการที่อยากเล่นกีฬา สามารถติดต่อได้ที่ สมาคมกีฬาคนพิการแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ชั้น 14 อาคาร 25 ชั้นการกีฬาแห่งประเทศไทย หัวหมาก กรุงเทพมหานคร โทร. 0 – 2130 – 0263 หรือเพจเฟสบุ๊ค SPADT Thailand”

รายการรวมใจเป็นหนึ่ง ออกอากาศทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 18.30-19.00 น. ทางสถานีวิทยุศึกษา FM 92 MHz หรือ www.moeradiothai.net

ภาพประกอบรายการวิทยุรวมใจเป็นหนึ่ง

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก