ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

“บทบาทของทูตอารยสถาปัตย์ในการส่งเสริมการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกฯ ตอนที่ 1”

บทสัมภาษณ์ : คุณปิยะบุตร เทียนคำศรี ประธานทูตอารยสถาปัตย์ภาคกลาง

          คุณปิยะบุตร เล่าที่มาว่า เริ่มแรกต้องขอบคุณ คุณกฤษณะ ละไล ผู้ก่อตั้งมูลนิธิอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล และคณะกรรมการผู้ใหญ่ ที่ร่วมก่อตั้งมูลนิธิฯ เช่น คุณวรยุทธ  กิจกูล ประธานบริษัทสยามนิชชิน เป็นต้น การส่งเสริมให้มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในสถานที่ท่องเที่ยว หรือ สถานที่สาธารณะ เช่น วัด ปั๊มน้ำมัน โรงแรม ตลาดนัด ทุกที่ที่คนไม่พิการไปได้ ไม่ใช่เฉพาะมนุษย์ล้อ
          การทำงานของทูตอารยสถาปัตย์ คือ คิดเหมือนกัน ทำเหมือนกัน ร่วมขับเคลื่อนไปในแนวทางเดียวกัน เข้าไปให้ความรู้ ชักชวนให้ผู้ประกอบการ หรือ เจ้าของสถานที่นั้น ๆ เห็นถึงความสำคัญเรื่อง อารยสถาปัตย์ โดยในปัจจุบันมีความสำคัญมาก ทำให้ถูกต้อง ทำให้ดี ทำครั้งเดียวให้จบ ระหว่างที่เจ้าของสถานที่กำลังก่อสร้างเข้าไปแนะนำแนวทาง ให้ข้อมูลที่สามารถประชาสัมพันธ์ต่อได้ กระบวนการทำงาน โดยเริ่มจากพูดคุยทำความเข้าใจ ถึงสถานที่ที่ได้คัดสรร เช่น สถานที่อยู่ในเส้นทางที่กำหนด มาประชุม วางแผน แล้วจึงประสานไปยังสถานที่นั้น ๆ
          การทำงานของเราทำงานเป็นทีมมีการแบ่งหน้าที่กัน คนที่หนึ่งทำหน้าที่นำเสนอและอธิบาย คนที่สองวัดพื้นที่ และอีก 2 – 3 คน ช่วยกันเก็บภาพถ่ายรูป ทุกคนมีหน้าที่ในการทำงานทั้งหมด ทูตอารยสถาปัตย์ได้รับการจ้างงานในมาตรา 35 จากสายการบินแอร์เอเชีย ในการลงไปทำงานมีคนจด คนวัด แต่ละคนมี ตลับเมตร และอีก 3 คนคอยถ่ายรูป ส่วนมาตรฐานในการวัด ใช้คู่มือของ Friendly Design ของคุณกฤษณะ ที่ได้ออกแบบไว้มี 2 อย่างคือ ไซส์เอเชียและยุโรป ยกตัวอย่าง คนพิการชาวต่างชาติตัวใหญ่ รถเข็นต้องใหญ่ตามตัว จากประตูอย่างน้อย 90 ซม. ต้องขยายเป็น 100 – 110 ซม. หรือชักโครกเช่นกัน โถนั่งปกติ 45 ซม. ถ้าเป็นฝรั่งต้องทำให้สูงกว่า
          ผลตอบรับถือว่าได้รับความร่วมมือดีมาก เพราะตอนนี้ตลาดการท่องเที่ยว โรงแรมเริ่มมีการตื่นตัว เพราะช่วงโควิด 19 ที่ผ่านมา ถือเป็นการดีที่ลูกค้าไม่ค่อยเข้าพัก ทางโรงแรมจึงสามารถปรับปรุงสภาพแวดล้อมของโรงแรมให้เป็นสถานที่ที่รองรับเพื่อคนทั้งมวล แต่เป็นข้อเสียคือ ทางโรงแรมขาดรายได้ แต่ถ้าดูในกลุ่มของโรงแรม จะเห็นว่าหลาย ๆ โรงแรมที่เข้าร่วมโครงการ มีห้องน้ำที่รถเข็นสามารถเข้าได้ ผู้สูงอายุหรือคนพิการสามารถเข้าถึงได้
          จากการทำงานใน 5 ปีที่ผ่านมาได้ 3 สถานที่ที่ประทับใจ คือ โรงแรม ปั๊มน้ำมัน และสถานที่ท่องเที่ยว ซึ่งเขาจับมือรวมพลังทำพร้อมกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ เพราะทุกอย่างอาจจะไม่รองรับกัน ที่ผ่านมาเห็นผลไปในทิศทางที่ดีขึ้น เมื่อก่อนการจะหาโรงแรมที่รถวีลแชร์สามารถเข้าพักได้หายาก ถ้าคนพิการไม่สามารถเคลื่อนย้ายตัวเองได้ หมดสิทธิ์ แต่ในปัจจุบันเริ่มมีมากขึ้น
          ขอขอบพระคุณ ปั๊มน้ำมัน ปตท. และร้านกาแฟอเมซอน ที่เห็นความสำคัญของพี่น้องทุกเพศทุกวัย และคนทั้งมวล สังเกตจาก ปั๊ม ปตท. ในปัจจุบันหรูหรา เพราะเห็นคนพิการหรือผู้สูงอายุที่ใช้วีลแชร์ ไม่ว่าจะมาคนเดียวหรือมากับครอบครัว สามารถจอดรถใกล้ทางลาดและเข้าห้องน้ำด้วยตนเอง และที่สำคัญขอบคุณ OR และ CEO ของ ปตท. ที่เห็นความสำคัญของผู้สูงอายุที่นั่งรถวีลแชร์ รวมถึงคนพิการและคนทั้งมวล ที่สำคัญทำให้มนุษย์ล้อสามารถเดินทางไหนได้อย่างมั่นใจ เวลาแวะปั๊มน้ำมันสามารถซื้อของ ซื้ออาหาร ได้ด้วยตัวเอง

 

รายการรวมใจเป็นหนึ่ง ออกอากาศทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 18.30-19.00 น. ทางสถานีวิทยุศึกษา FM 92 MHz หรือ www.moeradiothai.net

ภาพประกอบรายการวิทยุรวมใจเป็นหนึ่ง

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก