ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

“สตรีพิการและคนพิการกับการเมืองไทย”

บทสัมภาษณ์ : ดร.อรุณี ลิ้มมณี ผู้ช่วยคณบดี ฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

          ดร.อรุณี เล่าว่า มีความคิดอยากเป็นนักการเมืองตั้งแต่ศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่ โรงเรียนหอวังแล้ว ต่อมาทางสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทยส่งชื่อไปเป็นตัวแทนในการเลือกตั้งติดสำรองลำดับที่ 49 แต่ไม่ได้รับการคัดเลือก เพราะในขั้นตอนสุดท้ายคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นคนเลือกและตัดสิน อยากให้มีระบบสนับสนุน เช่น เรื่องโควตา ในความเป็นจริงมันได้ เหมือนการจ้างงานคนพิการ ไม่ได้กีดกัน แต่ไม่มีงานที่เหมาะให้คนพิการทำได้ หรือสถานที่ไม่เอื้ออำนวย แต่พอมีโควตาปฏิเสธไม่ได้เลยว่าทำให้คนพิการมีงานทำมากขึ้น เพราะมีกฎหมายบังคับ เรื่องที่จอดรถ เรื่องห้องน้ำ เรื่องสิ่งอำนวยความสะดวก ถ้าให้เอาใจมาทำไม่เหมือนมีกฎหมายมีนโยบายมาบังคับ ถ้าเราไม่ได้เข้าไปพูดเองแต่ให้คนอื่นพูดแทนซึ่งไม่เข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ้ง ไม่เหมือนเราพูดเองจากปากของคนที่เป็นเจ้าของปัญหา อย่างเช่น ปัญหาสตรีพิการ การเมืองท้องถิ่น ในระดับรัฐสภาไม่มีแน่นอน
          ถ้าได้เป็นสมาชิกวุฒิสภา (สว.) หรือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) อยากส่งเสริมคนที่อยู่ในกลุ่มด้อยโอกาสทั้งหมด คนพิการ กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBT) ที่ถูกเลือกปฏิบัติ ให้รวมตัวกันทำให้กลุ่มเข้มแข็ง ช่วยกันนำเสนอประเด็น และเป็นตัวแทนในการนำเสนอ เพราะถ้าให้คนอื่นพูดแทนไม่เหมือนคนพิการพูดเอง ถ้าคนพิการเข้าไปในสภาฯ จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงระดับนโยบายที่ทำงานด้านสังคม ตนทำงานกับคนพิการมานานเข้าใจปัญหาของเพื่อนคนพิการด้วยกันเป็นอย่างดี ไม่ใช่ว่าทุกคนจะเข้าใจปัญหาของคนพิการ บางคนประสบความสำเร็จในชีวิตในหน้าที่การงานของเขาแต่ไม่ได้มาทำงานในแวดวงคนพิการ บางทีตอบได้เฉพาะปัญหาของเขา แต่อยากให้คนที่มีประสบการณ์สูงในวงการคนพิการ หรือ ทำงานด้านคนพิการมานานรู้ถึงความต้องการและปัญหาของคนพิการ โดยเฉพาะสตรีพิการที่ถูกเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ และเหตุแห่งความพิการด้วย เพราะฉะนั้นช่องว่างเหล่านี้ควรหมดไปหรือเท่าเทียมกันในที่สุด
          ดร.อรุณี ฝากทิ้งท้ายว่า อยากให้มีคนพิการ โดยเฉพาะสตรีพิการในรัฐสภา ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกวุฒิสภา (สว.) หรือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.)  ต้องมีทั้งสองส่วน เพราะจะได้เป็นตัวแทน เป็นปากเป็นเสียงสะท้อนปัญหาที่คนพิการและสตรีพิการเผชิญ การให้คนอื่นพูดแทนไม่เหมือนพูดเอง ทำเอง คิดเอง ยุคนี้ไม่ใช่ยุคคิดแทนครอบงำ ทำให้คนพิการอีกต่อไปแล้ว คนพิการคิดเป็น ทำเป็น ขอให้คนพิการได้มีโอกาสเข้าไปในระดับนโยบาย ระดับการเมืองของไทยให้มากขึ้น

รายการรวมใจเป็นหนึ่ง ออกอากาศทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 18.30-19.00 น. ทางสถานีวิทยุศึกษา FM 92 MHz หรือ www.moeradiothai.net

ภาพประกอบรายการวิทยุรวมใจเป็นหนึ่ง

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก