ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

“โรคซึมเศร้า การฆ่าตัวตายและความพิการ ตอนที่ 2”

บทสัมภาษณ์ คุณรัชนี แมนเมธี กรรมการและวิทยากรของสมาคมสายใยครอบครัว ออกอากาศ : วันอาทิตย์ที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ รายการรวมใจเป็นหนึ่ง

           โรคซึมเศร้าเป็นอีกโรคหนึ่งของจิตเวช  โรคจิตเภท (จิตแตก) มันต่างจากโรคซึมเศร้า เป็นโรคผิดปกติทางความคิด ซึมเศร้าหรือไบโพล่า ผิดปกติทางอารมณ์ มีสองลักษณะใหญ่ๆ อาการทางบวก หมายถึงว่า มีอาการมากกว่ามนุษย์ปกติทั่วไป เช่น คนอื่นไม่ได้เห็นภาพนี้ตัวเองเห็นเรียกภาพหลอน หรือคนอื่นไม่ได้คิดแบบนี้ คิดผิดจากคนอื่นเรียกว่าหลงผิด และอาการทางลบ หมายถึง ปลีกตัวไปไม่คบกับใคร พูดไม่ค่อยรู้เรื่อง เคลื่อนไหวไม่ปกติ เคลื่อนไปเคลื่อนมาแบบไม่ใช่มนุษย์เขาทำ ควบคุมการเคลื่อนไหวของตัวเองไม่ได้ 
           การรักษาก็อาจจะฆ่าตัวตายถ้าอาการมันแรงมาก สารสื่อประสาทมันรุกน้อยมาก ขนาดกินยาอยู่ก็มีมันแล้วแต่ละคนต้องสังเกตคนใกล้ชิดว่าอาการของเขารุนแรงจนขนาดฉันไม่อยากอยู่บนโลกนี้แล้ว  เราสอนจนขนาดว่าให้เช็คเลย ดูท่าทีคนนี้เหมือนเอาของรักไปฝากเพื่อนไม่ดูแลแล้ว ไปไหว้สุศาลพ่อแม่ หรือไปเตรียมจะกระโดดน้ำไปริมน้ำมองระยะ ถ้าส่อแววแบบนี้ให้ถามเลย เพราะคนที่อยากฆ่าตัวตายอยากเล่า ถามได้แต่ควรถามด้วยความรัก  เพราะจะช่วยฉุดรั้ง ให้มีสติเลย
          เรารู้ว่าธรรมชาติเขาอยากเล่า ว่าเขาจะจากโลกนี้ไปแล้ว เพราะฉะนั้นเราช้อนรับตรงนั้น เริ่มตั้งแต่ประโยคเบาๆก่อน ตอนนี้รู้สึกยังไง เขาจะบอกเลยเขาเครียดมากพอเขาเล่าเธอมีแผนอย่างไรในอนาคต เขาจะบอกเลย เขาจะปิดชีวิต ถามถึงวิธีแล้วให้เขาเล่า สติเขาจะค่อยๆกลับมา แล้วเราค่อยสะกิด เช่น แล้วลูกเธอจะอยู่กับใคร คนที่จะฉุดรั้งได้ต้องทำให้เขารู้สึกว่า เขามีประโยชน์ถ้าเขาอยู่ ไม่ใช่ไปบอกเธออยู่นะเธอจะได้มรดก แบบนี้ฉุดรั้งไม่ได้
          หน่วยงานภาครัฐจัดไว้ให้แล้วสามารถติดต่อได้ที่ 1323 สายตรงไปที่กรมสุขภาพจิตตลอด 24 ชั่วโมงเลย เป็นนักวิชาชีพ พยาบาลจิตเวท คอยรับโทรศัพท์และคอยให้คำปรึกษาแนะนำ หรือคุยกับสมาคมสะมาริตันส์แห่งประเทศไทย เปิดให้โทร02-713-6793ได้เวลา 12.00-22.00น. ใช้เทคนิคการฟังเพื่อเยียวยา และสามารถติดต่อป้าหนูได้ที่เบอร์ 086-884-5782 เปิดออนไลน์คลายทุกข์ได้เฉพาะเวลา 19.00 – 20.00น. ขอฝากเพจเฟสบุ๊ค เครือข่ายความสุขจากโรคซึมเศร้า

 
รายการรวมใจเป็นหนึ่ง ออกอากาศทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 18.30-19.00 น. ทางสถานีวิทยุศึกษา FM 92 MHz และ AM 1161 kHz

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก