ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

แผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) กับแนวทางทางกฎหมายและการปฏิบัติสำหรับคุณพ่อคุณแม่ ตอนที่ 3

โดย ปีเตอร์ ดับบลิว ดี ไรท์และพาเมล่า แดร์ ไรท์ (2003)

กฎหมายและกฎข้อบังคับต่าง ๆ

การตัดสินทางกฎหมาย
เพื่อช่วยให้การศึกษาของคุณเกี่ยวกับ IEP ว่า ควรจะมีอะไรรวมอยู่ใน IEP บ้าง  เรารวบรวมจากกรณีที่เป็นจริง  แต่ละกรณีที่เลือกจะแสดงให้เห็นถึงจุดเฉพาะเกี่ยวกับ IEP หลังจากคุณอ่านบทนี้แล้ว คุณจะมีความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับกฎหมายและ IEP (ในสหรัฐอเมริกา)

คณะกรรมการการศึกษาของเขตการศึกษากลางเฮนดริค ฮัดสันต่อกรณีโรว์เล่ย์ ในปี 1982

เมื่อ ศาลสูงสุด (ของสหรัฐอเมริกา)ได้รับฟังกรณีของเอมี่ โรว์เล่ย์ เธอเป็นเด็กหูหนวกที่เรียนอยู่ชั้นประถมปีที่หนึ่ง  เมื่อเอมี่เข้าเรียนชั้นเรียนที่หนึ่ง  คุณพ่อคุณแม่ของเธอขอล่ามภาษามือให้เอมี่  แม้ว่าเอมี่จะสามารถอ่านริมฝีปากได้  คุณพ่อคุณแม่ก็ยังขอล่ามที่จะช่วยเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ให้เธอ

ศาล สูงสุดตัดสินว่า เอมี่ไม่ต้องการล่ามภาษามือเต็มเวลาในขณะนั้น  พวกเขาลงความเห็นว่า เอมี่เป็น “เด็กที่ปรับตัวได้ดีอย่างเห็นได้ชัด” ซึ่งมีผลการเรียนได้ดีกว่าเด็กโดยเฉลี่ยในชั้นเรียนของเธอและมีความก้าวหน้า ในการเรียนจากระดับชั้นหนึ่งขึ้นไปยังอีกระดับชั้นหนึ่งโดยไม่ยากลำบาก  ซึ่งถ้าเธอไม่พิการ เอมี่จะแสดงผลการเรียนได้ดีมากกว่านี้เท่าที่เธอควรจะทำได้  ศาลลงความเห็นว่า กฎหมายไม่ได้ต้องการให้โรงเรียนของรัฐให้ทุกๆ บริการพิเศษที่จำเป็นเพื่อจะทำให้เด็กพิการได้แสดงศักยภาพสูงสุด

บรรดา โรงเรียนของรัฐมักจะใช้การตัดสินกรณีของโรว์เล่ย์เป็นแนวในการปฏิเสธที่จะ ให้โปรแกรมช่วยเหลือเด็กที่มากกว่าการช่วยให้ก้าวหน้าในการเรียนจาก “ระดับชั้นหนึ่งไปสู่อีกระดับชั้นหนึ่ง” ทั้งบ่อยอีกทีเดียว โรงเรียนจะลดความคาดหวังในตัวเด็กที่เรียนการศึกษาพิเศษ  ทำหลักสูตรให้ง่ายขึ้นและ “ส่งเสริมทางสังคม” ให้กับเด็กๆ แทน  ดังนั้น พวกเขาจะพากันคิดว่า เพราะว่าเด็กๆ ก็เรียนก้าวหน้าจากระดับชั้นหนึ่งไปยังอีกระดับชั้นหนึ่งแล้ว นี่ย่อมพิสูจน์ว่า  เด็กๆ ไม่ต้องการบริการที่เข้มข้นมากขึ้น รวมทั้งการช่วยรักษาในการอ่าน การเขียนและการคิดคำนวณ

“ผลประโยชน์ทางการศึกษา”  มากเท่าไรจึงจะเพียงพอ

ใน กรณีของโรว์เล่ย์  ศาลสูงสุดลงความเห็นว่า  IEP ของเด็กควรจะ “ใคร่ครวญอย่างสมเหตุสมผลแล้ว” เพื่อที่จะให้เด็กสามารถได้รับ “ผลประโยชน์ทางการศึกษา”  ตั้งแต่คดีโรว์เล่ย์ถูกพิจารณาตัดสินในปี 1982 คุณพ่อคุณแม่และเจ้าหน้าที่ของโรงเรียนมักตกลงกันไม่ได้เกี่ยวกับ “ผลประโยชน์ทางการศึกษา”  ว่า เท่าไรจึงจะ “เพียงพอ”  ศาลได้พบว่า เด็กๆ ที่บกพร่องจะมีความต้องการเฉพาะของแต่ละคน  การตัดสินใจเกี่ยวกับ “มากเท่าไรจึงจะเพียงพอ” ต้องถูกพิจารณาโดยพื้นฐานเป็นกรณีไป
คะแนนทดสอบ มาตรฐานของเอมี่ โรว์เล่ย์อยู่ที่ระดับ 70-80 % เมื่อเปรียบเทียบกับเพื่อนในกลุ่มรุ่นราวคราวเดียวกัน  โดยเฉลี่ยอยู่ที่คะแนน 50%  ในการทดสอบ เธอทำคะแนนได้เกรดระดับ 2-4 เหนือเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกัน

บางครั้ง  เรื่องที่ตกลงกันไม่ได้เกี่ยวกับผลประโยชน์ทางการศึกษาถูกเรียกว่าเป็นข้อ พิพาทของ “รถคาดิลแลคและรถเชฟโรเลต”  ในกรณีของโรว์เล่ย์ ศาลสูงสุดตัดสินให้เด็กได้รับการศึกษาที่เหมาะสม ซึ่งเทียบกับการได้รถเชฟโรเลต แต่ไม่ใช่เอาเงินซื้อการศึกษาที่ดีที่สุดซึ่งเทียบได้กับการได้รถคาดิลแลค  อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่รัฐโอไฮโอคนหนึ่งลงความเห็นว่า  เด็กคนนั้นถูกตัดสินให้ได้รถเชฟโรเลต  แต่เขตการศึกษาให้เขาเพียงมะนาวผลเดียว!

 
(โปรดติดตามตอนต่อไป)

แปลและเรียบเรียงจาก Your Child’s IEP: Practical and Legal Guidance for Parents by Peter W.D. Wright and Pamela Darr Wright (2003) จาก http://www.ldonline.org
โดย พรรษชล ศรีอิสราพร

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก