ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

การตรวจวิเคราะห์ทักษะทางสังคม: กลยุทธ์ที่จะส่งเสริมและพัฒนาความสามารถทางสังคม 12/11/2009

โดย Rick Lavoie (2005)

เจ เนทและผมกำลังเพลิดเพลินกับอาหารมื้อค่ำที่แสนวิเศษที่บ้านเพื่อน เจ้าของ บ้านคือ เจอร์รี่และลินดา ซึ่งเป็นพ่อแม่ของเด็กผู้หญิงซึ่งเรียนอยู่ที่โรงเรียนของเรา บาร์บี้อายุ 12 ปีมีปัญหาด้านภาษาและการเรียนรู้อย่างเห็นได้ชัด และความยุ่งยากเหล่านี้ เป็นสาเหตุของความยุ่งยากด้านสังคมของเธอ ความหุนหันพลันแล่นและความไม่ สามารถที่จะควบคุมการใช้ภาษาของเธออย่างมีประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นบ่อยๆ สร้างสถานการณ์ที่ลำบากใจสำหรับบาร์บี้และครอบครัวของเธอ

บาร์ บี้ร่วมรับประทานอาหารค่ำอยู่กับเรา และเราทั้งห้าคนก็เพลิดเพลินกับอาหารมื้อพิเศษและมีการสนทนากัน การสนทนา เลยไปถึงเรื่องรถยนตร์ “สัปดาห์หน้า เรากำลังจะได้รถใหม่กันแล้ว มันสวยมากมาก แล้วมีเครื่องเล่น CD ด้วย มันราคาแพงมาก ไม่ใช่รถราคาถูกๆ เหมือนของครู” บาร์บี้พูดโพล่งออกมาอย่างตื่นเต้น

ทั้ง โต๊ะเงียบสนิท เจอร์รี่รู้สึกขายหน้ามาก ลินดาแทบร้องไห้ บาร์บี้ไม่ได้ รู้สำนึกว่า ความเห็นของเธอไม่มีมารยาท ยังคงพูดคุยต่อไป

เจอร์ รี่ระเบิดคำพูดออกมาว่า “นั่นเป็นสิ่งหยาบคายที่สุดที่ลูกเคยพูดออกมา สาวน้อย ออกไปจากโต๊ะเดี๋ยวนี้เลย แล้วกลับไปที่ห้อง” บาร์บี้รู้สึกสับสนและลุกจากที่นั่งไปอย่างอายๆ กลับไปที่ห้องนอน ปิดประตูตามหลังเธอ

เรา ทั้งสี่รับประทานอาหารต่อไปอย่างเงียบๆ ด้วยความยุ่งยากใจ เจอร์รี่รู้จักผมดีพอที่จะรู้ว่าผมไม่เห็นด้วยกับ ปฏิกิริยาของเขา ในที่สุดเขาก็ทำลายความเงียบขึ้นโดยกล่าวว่า “ใช่ ริก ผมรู้ว่า ผมทำเสียเรื่อง”

“ผมทำอะไรผิดหรือ” “ผมควรจะทำอย่างไรดี”

ไม่เห็นด้วยที่จะเปลี่ยนอาหารมื้อนี้เป็นช่วงการปรึกษาหารือ ผมตอบว่า “เราคุยกันวันหลัง”
“ไม่ได้ จริงๆ นะ ริก ผมต้องการจะรู้ แกมักจะทำพฤติกรรมแบบนั้นเสมอๆ เราลงโทษแก แต่ดูเหมือนไม่ได้จะช่วยอะไร”

“เจอร์ รี่” ผมเริ่มต้น “คุณเหมาะสมที่จะจัดการกับบาร์บี้ คุณคือครูที่มีประสิทธิภาพ มากที่สุดของเธอ ถ้าคุณกำลังพยายามสอนแกเรื่องการคูณและแกตอบว่า 5x3 เท่ากับ 20 คุณจะตะโกนใส่แกและส่งแกกลับห้องไหม ”

“ไม่แน่นอน” เจอร์รี่ตอบ “ผมคงจะสอนแกถึงคำตอบที่ถูกเพื่อว่าแกจะได้รู้ในคราวต่อไป”

“อย่างนั้นแหละครับ” ผมสวนต่อ “และนั่นคือสิ่งที่คุณจำเป็นต้องทำเมื่อแกทำผิดด้านสังคมอีกเหมือนกัน”

เหตุการณ์ นี้ก่อให้เกิดความคิดเรื่อง “การตรวจวิเคราะห์ทักษะทางสังคม” ปัจจุบันเทคนิคนี้มีการใช้ที่โรงเรียนและที่บ้านทั่วอเมริกาทางตอน เหนือ และมีประสิทธิภาพในการทำให้ความสามารถทางสังคมของเด็กๆ นับพันๆ ดีขึ้นได้ กลยุทธ์นี้ขึ้นอยู่กับหลักการพื้นฐาน 3 ประการคือ

  1. ความ ผิดเรื่องทักษะทางสังคมส่วนใหญ่เป็นเรื่องไม่ได้ตั้งใจ เป็นที่ยอมรับอย่าง เป็นสากลว่า ความต้องการอันดับแรกของมนุษย์คือ เป็นที่ชื่นชอบและยอมรับโดยมนุษย์คนอื่นๆ ดังนั้น ถ้ามีเด็กคนหนึ่งประพฤติตนในท่าทีซึ่งเป็นสาเหตุให้คนอื่นๆ เกลียดหรือปฏิเสธเขา เราไม่สามารถสันนิษฐานได้หรือว่า พฤติกรรมเหล่านี้ทำโดยไม่ได้ตั้งใจ และอยู่เหนือการควบคุมตัวของเด็ก ทำไมเด็กคนหนึ่งจะพ่ายแพ้ต่อความต้องการ อันดับแรกอย่างตั้งใจ
  2. ถ้า คุณยอมรับหลักการแรกว่า พฤติกรรมที่ไม่มีมารยาทเป็นเรื่องที่ไม่ได้ ตั้งใจ มันก็ชัดเจนที่ว่า การลงโทษเด็กสักคนหนึ่งเนื่องจากความผิดด้านทักษะทางสังคมเป็นเรื่องไม่ ยุติธรรม ไม่เหมาะสมและไม่มีผล
  3. การใช้วิธีตามประเพณีนิยมหรือความเคยชินเพื่อการเยียวยาทักษะทางสังคมก็เป็นเรื่องไม่มีผล

กลยุทธ์ เหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นบทบาทสมมุติ การสาธิต การถ่ายทำวิดีโอ การบรรยาย การอภิปราย แทบจะไม่มีผลกระทบทางบวกต่อการพัฒนาความสามารถทางสังคมของเด็กๆ มันอาจจะมีผลระยะสั้นชั่วคราว แต่ผลเหล่านั้นแทบจะไม่ยืนนานและไม่ขยาย กว้างออกไปยังสถานการณ์อื่นๆ

การ ใช้วิธีการตรวจวิเคราะห์จะจัดเตรียม “ห้องปฏิบัติการ” ในชีวิตจริงๆ ให้กับเด็กที่กำลังดิ้นรนในทางสังคม ซึ่งเขาสามารถเรียนรู้ พัฒนาและนำการตอบโต้ทางสังคมที่มีประสิทธิภาพมาใช้กับสภาพกลืนไม่เข้าคายไม่ ออกทางสังคมที่เป็นจริง การใช้วิธีการจริงเช่นนี้จะคู่ขนานไปกับแนวโน้มของเด็กแอลดีที่จะเรียนรู้ อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในสถานการณ์ที่ปฏิบัติได้จริง ถ้าคุณต้องการจะ สอนทักษะการรับประทานอาหารค่ำข้างนอก ให้ดำเนินบทเรียนในภัตตาคาร สอน มารยาทการใช้รถเมล์บนรถเมล์ เป็นต้น

ก่อน ที่จะวางโครงร่างกระบวนการตรวจวิเคราะห์ทักษะทางสังคม มันจะมีประโยชน์มาก ที่จะอธิบายสิ่งที่ไม่ใช่กระบวนการ เทคนิคนี้ไม่ได้ตั้งใจที่จะเป็นการประ นาม การด่าว่าหรือการลงโทษ และไม่ใช่ว่าการตรวจวิเคราะห์ทักษะทางสังคมควร จะถูกควบคุมโดยผู้ใหญ่เท่านั้นโดยปราศจากข้อมูลที่นำเข้าจากเด็ก กลยุทธ์ นี้ไม่ควรจะถูกมองว่าเป็นการขัดจังหวะแค่เพียงครั้งเดียว แต่ทว่า ประสิทธิภาพของการตรวจวิเคราะห์จะเพิ่มขึ้นอย่างมากถ้ากลยุทธ์นี้จะถูกใช้ บ่อยๆ เทคนิคนี้จะไม่มีผลถ้ามันถูกใช้ในท่าทีที่เป็นศัตรูหรือขึ้ง โกรธ เด็กคนนี้ควรจะรู้สึกมั่นคงและได้รับการสนับสนุนตลอดกระบวนการตรวจ วิเคราะห์

การ ใช้วิธีการตรวจวิเคราะห์มีประสิทธิภาพอย่างใหญ่หลวงในการเปลี่ยนแปลงและทำ ให้ความสามารถทางสังคมของเด็กๆ ดีขึ้นในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน เทคนิคนี้เป็นเรื่องง่ายที่จะเรียนรู้และ สามารถนำมาใช้ประโยชน์โดยสมาชิกในครอบครัว พี่เลี้ยง คนขับรถเมล์หรือรถโค้ช โดยการฝึกผู้ใหญ่ทั้งหมดในชีวิตของเด็กคนนั้น คุณ มีหลักประกันได้ว่าเขาจะได้รับประโยชน์จากการตรวจวิเคราะห์ทักษะทางสังคมได้ นับครั้งไม่ถ้วนในแต่ละวัน การเปิดเผยอย่างลึกซึ้งจะช่วยส่งเสริมการเจิญ เติบโตและลักษณะที่ควรจะเป็นของทักษะเป้าหมาย

ความ สำเร็จของกลยุทธ์นี้อยู่บนความจริงที่ว่า มันต้องมีขั้นตอนขั้นพื้นฐาน 4 ขั้นตอนในประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพใดๆ ก็ตามของเด็ก ดังนี้

  • ฝึกฝน
  • ผลตอบกลับทันที
  • คำแนะนำ
  • แรงเสริมในทางบวก

การด่าว่า การประนาม การลงโทษไม่ใช่หลักการเหล่านี้เลย

บาร์ บี้ถูกส่งให้ออกไปจากโต๊ะเพราะการวิจารณ์ที่ไม่เหมาะสมของเธอ แต่ไม่มีการส อน การเรียนรู้หรือการเสริมแรงเกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้ โอกาสการเรียนรู้ที่สำคัญสูญเสียไป ไม่มีอะไรเกิดขึ้นที่จะทำให้ความ ประพฤตินั้นไม่เกิดขึ้นซ้ำอีกในอนาคต

อีก เหตุผลหนึ่งคือว่า การใช้การตรวจวิเคราะห์ทักษะทางสังคมมีประสิทธิภาพมาก จนกระทั่งมันสามารถทำให้เด็กคนนั้นเห็นได้อย่างชัดเจนถึงความสัมพันธ์ของ เหตุและผลระหว่างพฤติกรรมทางสังคมของเขา การตอบโต้และปฏิกิริยาของคน อื่นๆ เด็กๆ ที่มีความยุ่งยากด้านทักษะทางสังคมมักจะไม่สามารถจดจำความสัมพันธ์นี้ และ มักจะฉงนสนเท่ห์เกี่ยวกับปฏิกิริยาของเพื่อนร่วมชั้นเรียน คุณครู พี่ๆ น้องๆ และคุณพ่อคุณแม่อยู่บ่อยๆ เหมือนกับครั้งหนึ่งที่เด็กคนหนึ่งบอกผมว่า ใครๆ มักอารมณ์เสียเกี่ยว-กับตัวเขาตลอดเวลาแต่เขากลับไม่รู้ว่าทำไม

กลยุทธ์ การตรวจวิเคราะห์ทักษะทางสังคมรวมทั้งเทคนิคการโต้ตอบสามารถจะมีประสิทธิภาพ มากถ้าใช้อย่างเหมาะสม มันเป็นเรื่องสำคัญที่ควรระวังว่า การตรวจวิเคราะห์ควรจะดำเนินในฐานะเป็นการขัดจังหวะที่มีการสอน ลักษณะสนับ สนุนและไม่ประนาม มันควรจะกระทำทันทีทันใดหลังพฤติกรรมที่ไม่มีมารยาท และ ไม่ควรจะถูกมองโดยผู้ใหญ่หรือเด็กว่าเป็นการด่าว่า หรือเป็นปฏิกิริยาทางลบ

การ ให้คำจำกัดความของการตรวจวิเคราะห์ทักษะทางสังคมในที่นี้ หมายถึง การตรวจสอบและวิเคราะห์ความผิดพลาดทางสังคมที่จะจำกัดสาเหตุของ ความผิดพลาด มูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้น และเพื่อที่จะเรียนรู้เกี่ยว กับองค์ประกอบต่างๆ ที่ประจวบเหมาะเพื่อป้องกันการเกิดขึ้นอีกในอนาคต

หลัก การขั้นพื้นฐานคือ การช่วยเหลือเด็กคนนั้นในการวิเคราะห์ความผิดพลาดทางสังคมที่เป็นจริงที่ เด็กได้กระทำ และเพื่อที่จะอภิปรายถึงทางเลือกของพฤติกรรมซึ่งเด็กคนนั้น สามารถจะใช้ประโยชน์เพื่อที่จะพัฒนาสถานการณ์ให้ดีขึ้น

ใน การสัมมนา ผมมักจะกล่าวถึงการตรวจวิเคราะห์ทักษะทางสังคมที่เป็นแบบฉบับ ซึ่งผมได้ดำเนินการในหอพักแห่งหนึ่ง ผมกำลังเดินอยู่ที่หอพักขณะที่ผมได้ยินการถกเถียงเสียงดังจากภายในห้องพัก ของทอมและชิพ ผมเดินเข้าไปในห้องและสอบถามเกี่ยวกับที่มาที่ไปของการถก เถียง

“ทอมน่ะซิครับ” ชิพแผดเสียง “เมื่อวานนี้ผมซื้อยาสีฟันมียี่ห้อหลอดใหม่มา คืนนี้ทอมขอยืมผมใช้แล้วทำมันหาย”

ผม หันไปหาทอมและพูดว่า “เรามาตรวจวิเคราะห์เรื่องนี้กัน” ผมเริ่มต้นโดยการถามทอมให้เล่าว่าเกิดอะไรขึ้น เขาอธิบายว่า เขาไม่สามารถจะหายาสีฟันของตนเองเจอ เขาเลยขอยืมจากหลอดของเพื่อนร่วม ห้อง แม้ว่าเขาไม่สามารถจะหาชิพเจอเพื่อขออนุญาต เขาเดินลงตรงไปยังห้อง น้ำ ขณะที่เขากำลังแปรงฟัน จิมซึ่งเป็นเพื่อนทั้งของทอมและชิพเข้ามาใน ห้องน้ำและถามทอมว่า เขาสามารถขอยืมยาสีฟันได้หรือไม่ จิมส่งต่อไปให้นัก เรียนอีกคนหนึ่ง และมันอยู่ที่ไหนในปัจจุบัน ไม่มีใครรู้

บทสนทนาต่อไปนี้เกิดขึ้นดังนี้
ผม: “เอาละ ทอม ครูเข้าใจว่า เกิดอะไรขึ้น เธอคิดว่า ความผิดของเธอคืออะไร”
ทอม: “ผมรู้ครับ ครู ผมจะไม่ทำผิดอีก ผมสัญญา ผมไม่ควรที่จะขอยืมยาสี-ฟันของชิพ”
ผม: “ไม่ใช่หรอก ทอม นั่นไม่ใช่ความผิดของเธอ มันเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับเธอและชิพที่จะขอยืมสิ่งของกันจากอีกฝ่ายเป็น ครั้งคราว เธอเป็นเพื่อนร่วมห้องและเพื่อน เธอขอยืมของของเขาและเขาขอยืม ของของเธอ นั่นไม่ใช่ปัญหา”
ทอม: “อ้อ ใช่แล้ว ผมเข้าใจแล้วครับ ผมรู้ความผิดของผมแล้ว ผมไม่ควรจะให้จิมยืมยาสีฟัน ผมควรจะบอกเขาว่า ไม่ได้”
ผม: “ไม่ นั่นก็ไม่ใช่ความผิดของเธออีกเหมือนกัน ชิพและจิมต่างเป็นเพื่อนที่ ดีต่อกันด้วย แน่นอน ชิพคงจะไม่รังเกียจที่เธอจะให้ยาสีฟันยาวสักนิ้วหนึ่งกับจิมเพื่อนของเขา ลองใหม่”
ทอม: “ผมเข้าใจแล้ว ผมไม่ควรจะให้หลอดยาสีฟันคลาดไป ผมควรจะบีบยาสีฟันลงบนแปรงของจิม แล้วคืนหลอดยาสีฟันให้ชิพ”
ผม: “เยี่ยมมาก ทอม เธอเข้าใจแล้ว บทเรียนทางสังคมของเราสำหรับวันนี้ไม่ใช่ “ไม่ขอยืม”” หรือ “ไม่ให้ยืม” อันที่จริง บทเรียนคือ “เมื่อเธอขอยืมของบางสิ่งจากใคร มันเป็นความรับผิดชอบที่จะ ต้องแน่ใจว่า ของถูกส่งคืน เธอไม่สามารถจะยกความรับผิดชอบให้กับคนอื่นๆ ได้ เข้าใจไหม”
ทอม: “ครับ ผมเข้าใจแล้ว”
ผม: “เอาละ เพื่อความแน่ใจ สมมุติว่า เธอเข้ามาที่ห้องทำงานครูแล้วบอกว่า ครูครับ เพื่อนๆ ผมกำลังเล่นเบสบอลกันอยู่แล้วผมไม่มีถุงมือเล่นเบสบอลครับ ผมขอยืมถุงมือ เบสบอลของครูที่เก็บอยู่ในตู้ได้ไหมครับ” ครูบอกว่า ‘ได้’ แล้วโยนถุงมือให้เธอ ขณะที่เธอเล่นเบสบอล ครูที่หอพักของเธอแวะมาและบอก ให้เธอกลับไปที่หอพักเพื่อทำงานที่หอให้เสร็จ ขณะที่เธอเดินมุ่งออกนอก สนาม เพื่อนเธอคนหนึ่งเอ่ยปากขอยืมถุงมือ เพราะจะไม่ได้ใช้มันแล้ว เธอจะพูดว่าอะไร”
ทอม: “ผมจะบอกว่า ‘ขอโทษนะ แต่มันไม่ใช่ถุงมือของเรา เพราะฉะนั้น เราให้เธอยืมไม่ได้ มันเป็นของครูลาวอย ทำไมเธอไม่มากับเราตามไปที่ห้องทำ งานของครูล่ะ แล้วบางที เธอสามารถเอ่ยปากขอยืมจากครูได้’ ”
ผม: “เยี่ยมมาก เอาละ ทอม ครูอยากให้การบ้านทางสังคมเล็กๆ น้อยๆ กับเธอ วันนี้เธอเรียนรู้ว่า มันเป็นเรื่องสำคัญที่เธอจะคืนสิ่งที่เธอขอยืม และเธอไม่สามารถจะยกความรับผิดชอบให้คนอื่นได้ บางทีสัปดาห์นี้ครูอยากให้ เธอใช้ทักษะนี้ ครูจะตรวจสอบกับเธอในวันศุกร์ แล้วเธอสามารถบอกครูได้ว่าเธอทำอย่างไรและ เมื่อไร”

คุณจะเห็นได้ว่า การตรวจวิเคราะห์ทักษะทางสังคมมีขั้นตอนที่แยกแยะเป็นพื้นฐาน 5 ขั้นตอน ดังนี้

  1. ขอ ให้เด็กคนนั้นอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้น คุณจะอยากให้เริ่มที่จุดเริ่มต้น เรื่องก่อน ถ้าเป็นไปได้ อย่างไรก็ตาม เด็กบางคนสามารถจะเล่าเหตุการณ์ได้สมบูรณ์และถี่ถ้วนมากขึ้น ถ้าให้เขาเริ่มต้นเล่าที่จุดไคลแม็กซ์ของเหตุ-การ์ณแล้วเล่าย้อนหลัง ไป อย่าขัดจังหวะหรือตัดสินเหตุการณ์ คุณต้องการการรวบรวมเหตุการณ์ที่ชัดเจนของเขา
  2. ขอ ให้เด็กคนนั้นระบุความผิดที่เขากระทำ นี่เป็นส่วนที่น่าสนใจและเป็นส่วน สำคัญของกระบวนการตรวจวิเคราะห์ หลายครั้งที่เด็กจะไม่สามารถระบุได้ว่า ความผิดเกิดขึ้นที่ใดและเมื่อไร หรือการตีความเหตุการณ์ของเขาไม่ถี่ถ้วน

เริ่ม แรก ทอมรู้สึกว่า การขอยืมยาสีฟันเป็นความผิดพลาดของเขา มันไม่ใช่ ผมควรลง โทษทอมหรือ (“ให้เงินชิพไปซื้อยาสีฟันหลอดใหม่ซะ”) ทอมคงจะรู้สึกอย่างผิดพลาดว่า ความผิดของเขาเกี่ยวข้องกับการขอยืมยา-สีฟัน
บ่อย ไปที่เด็กๆ ตกที่นั่งความลำบากกับเรื่องอำนาจหน้าที่ แต่กลับไม่มีความคิดว่าเขาทำผิด อะไร “ฉันตกที่นั่งลำบากในการฝึกวันนี้” “เธอทำอะไรผิดหรือ” “ฉันไม่รู้ แต่ฉันทำให้โค้ชคลั่ง”
จะหยุดเด็กไม่ให้ทำความผิดพลาดทางสังคมซ้ำอีกได้อย่างไร ถ้าเขาไม่สามารถจะระบุหรือเข้าใจว่า ความผิดนั้นคืออะไร

  1. ช่วย เหลือเด็กให้จำกัดความผิดพลาดทางสังคมที่เป็นจริงที่เขากระทำ อภิปรายถึง ความผิดพลาดและการโต้ตอบทางสังคมที่เป็นทางเลือก ในจุดนี้ในการ อภิปราย ผู้ใหญ่ควรหลีกเลี่ยงการใช้คำว่า ควรจะ (“เธอควรจะรอคอยคิวของเธอ” “เธอไม่ควรจะถามคุณครูใหญ่ว่า เขาสวมวิกผมหรือไม่”) แต่ให้ใช้คำว่า สามารถ แทน “เธอสามารถจะถามว่า เธอสามารถเป็นคิวต่อไปได้หรือไม่ เพราะว่าคุณแม่กำลังจะมารับเธอเร็วหน่อย” “เธอสามารถจะถามคุณครูใหญ่เกี่ยว กับเรื่องรถใหม่ของเขาหรือชมเน็คไทของเขาแทน” กลยุทธ์นี้เน้นความคิดรวบยอด ที่ว่าเด็กๆ มีทางเลือกในสถานการณ์ทางสังคม
  2. การ สมมุติเหตุการณ์เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการซึ่งผู้ใหญ่สร้างเรื่องทาง สังคมอย่างสั้นๆ โดยมีเป้าหมายหรือศีลธรรมพื้นฐานที่เหมือนกัน ในเรื่องคำพูดหรือพฤติกรรมที่ผิดพลาด การสมมุติเหตุการณ์ควรมีการแก้ปัญหา พื้นฐานที่เหมือนกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น มันควรจะให้เด็กเกิดการโต้ ตอบต่อสถานการณ์ที่สร้างขึ้นโดยแสดงความสามารถที่จะสรุปและนำทักษะเป้า หมายออกมาใช้ได้
  3. การบ้าน ทางสังคมเป็นเรื่องที่แนะนำอย่างยิ่ง โดย อาร์โนลด์ โกลด์สไตน์ นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยซีราคิวส์ เขาถือว่าเป็นกลยุทธ์ที่จะรับประกันถึงความเชี่ยวชาญและความสามารถในการนำ ทักษะเป้าหมายไปใช้ ขั้นตอนนี้ต้องการให้เด็กใช้ทักษะเป้าหมายในอีก สถานการณ์หนึ่ง แล้วรายงานกลับไปที่ผู้ใหญ่เมื่อได้ปฏิบัติไปแล้ว เทคนิค นี้จะเป็นสาเหตุให้เด็กแสวงหาโอกาสที่จะนำทักษะทางสังคมที่เขาได้เรียนรู้ไป ใช้ ในเหตุการณ์เรื่องยาสีฟัน ผมมอบหมายงานการใช้ทักษะการขอยืมที่เหมาะสมให้กับทอม สองสามวันต่อมา เขา มาบอกผมอย่างตื่นเต้นว่า คุณครูประจำหอพักให้เขายืมถ้วยกาแฟรูปมนุษย์หิมะถ้วยใหญ่ เมื่อนักเรียนที่ หอพักมีโกโก้ในคืนฤดูหนาวให้ดื่ม ในขณะที่เขากำลังล้างถ้วยกาแฟ นักเรียนอีกคนหนึ่งถามเขาว่า เขาสามารถขอยืมได้หรือไม่ ทอมบอกเขาว่าเขาไม่มีสิทธิที่จะให้ยืมถ้วย กาแฟ แต่สนับสนุนให้เพื่อนร่วมหอพักไปถามคุณครูประจำหอพักว่าเขาสามารถใช้ มันได้หรือไม่ การที่ทอมนำ “ความคิดรวบยอดเรื่องการขอยืม” ไปใช้แสดงให้เห็นว่า เขาคล่องและเชี่ยวชาญในการใช้ทักษะนี้แล้ว

เด็กๆ โต้ตอบได้ดีมากต่อกลยุทธ์นี้และถ้ามันถูกนำไปใช้อย่างถูกต้อง พวกเขาจะไม่ มองว่า เทคนิคนี้เป็นเรื่องของการด่าว่าหรือการประนาม ในทางตรงกัน ข้าม พวกเขากลับจะมองการตรวจวิเคราะห์ว่าเป็นกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพและ ก่อให้เกิดความอยากรู้อยากเห็นซึ่งออกแบบเพื่อทำให้ความสามารถทางสังคมดี ขึ้น ในความเป็นจริงนักเรียนมักขอให้มีการตรวจวิเคราะห์เมื่อพวกเขาต้องเกี่ยว ข้องกับการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมซึ่งพวกเขาไม่เข้าใจ ครั้งหนึ่ง เด็กผู้หญิงอายุ 14 ปี เข้ามาที่ห้องทำงานผมและถามว่า “ครูลาวอย ช่วยหนูหน่อยได้ไหมคะ เมื่อคืนที่ผ่านมาพี่สาวโทรศัพท์มาหาหนูจาก วิทยาลัย แล้วเราจบลงด้วยการทะเลาะกันขนานใหญ่ หนูรู้ว่า หนูพูดบางสิ่งผิดพลาดไปที่ทำให้เธอโกรธ แต่หนูไม่รู้ว่า หนูทำอะไร เราทำการตรวจวิเคราะห์เรื่องโทรศัพท์หน่อยได้ไหมคะ”

ให้จำไว้ว่า การตรวจวิเคราะห์คือ

  • กลยุทธ์ที่สร้างสรรค์ มีโครงสร้างและสนับสนุนส่งเสริมความสามารถทางสังคม
  • เทคนิคการแก้ไขปัญหา
  • โอกาสสำหรับเด็กที่จะมีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้นในกระบวนการ
  • ดำเนินการโดยผู้ใหญ่คนสำคัญในสิ่งแวดล้อมของเด็กคนนั้นๆ เช่นครู พ่อแม่ คนขับรถเมล์
  • ดำเนินการในสถานการณ์ที่เป็นธรรมชาติ เป็นจริงและคุ้นเคย
  • มีประสิทธิภาพมากที่สุดเมื่อดำเนินการในทันทีที่เกิดความผิดพลาดทางสังคม

มันไม่ใช่ในกรณี

  • การลงโทษหรือด่าว่า
  • การสืบสวนเพื่อจะตำหนิ
  • ควบคุมและดำเนินการอย่างเฉพาะตัวโดยผู้ใหญ่
  • เป็นการ “รักษา” เพียงครั้งเดียวเพื่อการสอนทักษะทางสังคมเป้าหมาย
แปลและเรียบเรียงจาก Social Skill Autopsies: A Strategy to Promote and Develop Social Competencies โดย Richard Lavoie (2005) จาก http://www.ldonline
แปลและเรียบเรียงโดย พรรษชล ศรีอิสราพร

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก