ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

นักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้กับปัญหาการสะกดคำ 04/09/2009

โดย Louise Spear-Swering (2005)

บท ความนี้ ผู้เขียนแนะนำการแก้ปัญหาในการเขียนสะกดคำภาษาอังกฤษของนักเรียนที่มีปัญหา ทางการเรียนรู้ในต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม เราอาจใช้เป็นแนวทางในการสอนการสะกดคำภาษาอังกฤษของนักเรียนไทย ขณะเดียว กัน เรายังสามารถปรับวิธีการและวิธีคิดให้เหมาะกับการสอนภาษาไทยก็ได้ (ผู้แปล)
ตาม ปกติแล้ว นักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ในการอ่านมักมีปัญหาในการสะกดคำด้วย การ สะกดคำเป็นเรื่องยากเป็นพิเศษสำหรับนักเรียนเหล่านี้ด้วยหลายเหตุผล ประการ แรกคือ การบกพร่องที่เป็นเนื้อแท้ในการอ่านเกี่ยวข้องอย่างเป็นลักษณะสำคัญกับการ ถอดรหัสคำ และแต่ละคนที่บกพร่องในการอ่านจะมีจุดอ่อนเหล่านี้มากมาย มีผลกระทบกับการถอดรหัสคำ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการสะกดคำ เพราะความระลึกรู้ถึงปัจจัยของเสียงที่อ่อนด้อย และมีความรู้ที่อ่อนด้อย ด้านความสัมพันธ์ของเสียงระหว่างตัวอักษร
ยิ่ง กว่านั้น การสะกดคำได้มีผลสะท้อนมาจากการอ่านอย่างอิสระและการได้อ่านเข้ อความที่หลากหลาย นักอ่านที่เพลิดเพลินกับหนังสือจะเห็นคำที่เป็นตัวเขียน และมีโอกาสที่จะเรียนรู้การสะกดคำเฉพาะต่างๆ เพราะว่าแต่ละคนที่บกพร่องทาง การอ่านหาได้ยากที่จะเป็นนักอ่านที่เพลิดเพลินกับหนังสือ ขาดการได้อ่านคำ เขียนต่างๆ ที่หลากหลาย ซึ่งอาจมีอิทธิพลต่อการสะกดคำอย่างเป็นผลร้ายทีเดียว ท้ายที่สุดนี้ ขอบอก ว่า การสะกดคำในภาษาอังกฤษเป็นเรื่องซับซ้อน ซึ่งทำให้เกิดความรู้ชนิด ต่างๆ ที่หลากหลาย การสอนความรู้ต่างๆ เหล่านี้ที่ได้ผลอย่างแท้จริงเป็นเรื่องสำคัญยิ่งสำหรับนักเรียนที่บกพร่อง ทางการอ่าน
ความ ยุ่งยากในการสะกดคำอาจเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นยาวนานสำหรับแต่ละคนที่บกพร่อง ทางการอ่าน แม้ว่าบางครั้งจะได้รับการรักษาด้านการอ่านจนประสบผลสำเร็จแล้ว ก็ตาม ความมุมานะในการแก้ปัญหาความยุ่งยากในการสะกดคำเป็นเรื่อง สำคัญ เพราะว่าการสะกดคำผิดๆ ถูกๆ สามารถถ่วงการเขียนและอาจสื่อความประทับใจในทางลบแม้ว่าเนื้อหาของการเขียน จะเป็นเลิศก็ตาม

ความรู้ที่ต้องการใช้ในการสะกดคำในภาษาอังกฤษ
ความ รู้ที่เป็นพื้นฐานที่สุดที่ต้องการใช้เพื่อให้สะกดคำได้ดีนั้น เป็นความรู้ ด้านเสียงของคำศัพท์ หรือความรู้ด้านความสัมพันธ์ระหว่างเสียงตัวอักษรร่วม กัน ตัวอย่างเช่น เด็กๆ ต้องการเรียนรู้ว่า เสียงที่เขาได้ยินที่ตอนต้นของคำพูดว่า "bag" สะกดด้วยตัวอักษ "b" เสียงตรงกลางสะกดด้วยตัวอักษร a และเสียงสุดท้ายสะกดด้วยตัวอักษร g อย่างไรก็ตาม แม้ความรู้เรื่องเสียงของตัวอักษรโดยพื้นฐานเป็นเรื่องจำเป็น แต่ไม่พอ เพียงเสมอไป สำหรับการสะกดคำที่ถี่ถ้วนในภาษาอังกฤษ ความคุ้นเคยบางอย่างกับคำที่เขียน เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับการสะกดให้ถูกในหลายๆ คำ นี่เป็นความจริง ไม่เฉพาะคำที่ผิดปกติในการออกเสียงเท่านั้น เช่น of หรือ what แต่คำปกติธรรมดาหลายคำก็เป็นด้วยเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น ความรู้ เรื่องการออกเสียงเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการสะกดคำ เช่น shirt แต่ทางเดียวเท่านั้นที่จะรู้ว่าคำนี้สะกดด้วย ur (shurt) หรือ er (shert) เป็นเรื่องความคุ้นเคยในการเขียน ความรู้เรื่องอักขรวิธีเกี่ยวกับรากของคำ และความสัมพันธ์ระหว่างคำเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเด็กๆ ก้าวหน้ามากขึ้นในการอ่านและการสะกดคำ ตัวอย่างเช่น เสียงในพยางค์ที่สอง ของคำว่า colonist เป็นพยางค์ที่ไม่เน้น มันจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะได้ยินพยางค์นั้น ว่าเป็น o มากไปกว่าเป็น I หรือ a หรือ u อย่างไรก็ตาม ถ้ามีเด็กที่รู้การสะกดของรากคำศัพท์ colony ความรู้นี้จะช่วยการสะกดคำที่เกี่ยวพันกันอย่างคำว่า colonist ง่ายขึ้น (เช่นเดียวกับคำว่า colonial และ colonize) ความรู้ทั้งหมดสามชนิดนี้ คือ ความรู้เกี่ยวกับการออกเสียงเบื้องต้น ความรู้เกี่ยวกับคำเฉพาะ และความรู้ด้านอักขรวิธี เป็นเรื่องจำเป็นที่จะใช้สอนและให้คำแนะนำในการสะกดคำ

ข้อแนะนำสำหรับการสอนการสะกดคำให้นักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้

  1. สอน เรื่องการออกเสียงของคำศัพท์อย่างเป็นระบบ โดยสอนให้ระลึกรู้ถึงเรื่องปัจจัยของเสียงด้วย แม้ว่า การสอนเรื่องนี้อย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะทำให้นักเรียนเป็นนักสะกดคำที่ไร้ ข้อผิดพลาด การรู้ถึงปัจจัยของเสียงและความรู้เรื่องการออกเสียงคำศัพท์ เป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการสะกดคำที่ถี่ถ้วนในภาษาอังกฤษ
  2. สอนคำธรรมดาที่ผิดปกติในการออกเสียงแต่เริ่มแรกในการสอนสะกดคำ มันเป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอนที่จะสร้างประโยคที่สมบูรณ์โดยปราศจากคำสามัญ ที่ผิดปกติในการออกเสียง เช่น of what และ were ดังนั้น มันจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะสอนคำเหล่านี้แต่แรกเริ่ม ถือเป็นส่วนหนึ่งของ โปรแกรมการสะกดคำที่ครอบคลุมมากขึ้น เทคนิคการใช้หลายประสาทสัมผัสที่ เกี่ยวข้องกับการการพูด การทำซ้ำๆ จะช่วยได้ดีเป็นการเฉพาะสำหรับการสอนคำที่ผิดปกติเหล่านี้
  3. สอนกฎการสะกดคำที่เป็นประโยชน์ แม้ว่า คำในภาษาอังกฤษส่วนมากไม่ได้ยึดตามกฎที่คงที่นั้น ลักษณะกว้างๆ บางอย่างจะช่วยนักเรียนได้มาก เช่น กฎในการเติมคำลงท้ายด้วย e ที่ไม่ออกเสียง (make, making) หรือ พยางค์ปิดลงท้ายในตอนจบของคำที่มีพยัญชนะตัวเดียว เช่น sit, sitting
  4. สอนการสะกดคำที่เหมาะสมกับระดับชั้นเป็นสำคัญ เพราะว่าคำในภาษาอังกฤษส่วน มากไม่สามารถสะกดได้เพียงอย่างเดียว แม้ว่าการใช้กฎหรือความรู้เรื่องการ ออกเสียง การสอนเรื่องการสะกดคำควรจะรวมการศึกษาเรื่องแก่นของคำที่สำคัญ ที่จำเป็นสำหรับการสะกดคำที่ถี่ถ้วนในแต่ละระดับการศึกษาด้วย
  5. เน้นหนักกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเขียนหรือการสร้างคำเขียนด้วยแผ่นตัว อักษร ไม่ใช่ด้วยการสะกดคำด้วยปาก กิจกรรมการสะกดคำด้วยปาก เช่น การแข่งสะกดคำ ตามปกติไม่มีผลเหมือนกิจกรรมที่ต้องการให้เด็กๆ ดูคำที่เขียนอย่างระมัดระวัง
  6. สนับสนุนให้เด็กๆ ใช้ความรู้เกี่ยวกับรากของศัพท์และความสัมพันธ์ระหว่างคำเพื่อช่วยให้เด็กๆ สะกดคำใหม่ได้ แม้ว่า เมื่อพวกเขามีความรู้เหล่านี้แล้ว นักเรียนยังจะไม่สามารถนำความรู้มาใช้ อย่างทันทีทันใดได้เสมอไป มันจะช่วยมากทีเดียวที่จะชี้ให้เห็นถึงความ สัมพันธ์ระหว่างคำและแสดงให้เห็นว่า การรู้ถึงการสะกดคำๆ หนึ่งจะช่วยในการสะกดคำที่เกี่ยวข้อง เช่น คำว่า colony colonist เป็นตัวอย่าง
  7. สนับสนุนให้อ่านหนังสืออย่างอิสระเพื่อเพิ่มความรู้ในคำเขียน การอ่านอย่าง อิสระไม่สามารถทดแทนได้ด้วยการสอนการสะกดอย่างตรงๆ แต่มันสามารถช่วยส่ง เสริมความรู้ในการสะกดคำ และแน่นอน มันมีคุณค่าสำหรับเหตุผลอื่นๆ ด้วย
  8. สอนนักเรียนโตๆ ให้ใช้วิธีตรวจสอบการสะกดคำจากคอมพิวเตอร์ เช่นเดียวกับ การอ่านอย่างอิสระ ตัวตรวจสอบการสะกดไม่ใช่ตัวแทนการสอนการสะกดคำที่ชัดเจน จากครูที่มีความรู้ นักเรียนต้องการความรู้เรื่องการออกสียงบ้างเพื่อที่จะ ใช้ตัวตรวจสอบการสะกดได้อย่างเห็นผล อย่างไรก็ตาม ตัวตรวจสอบการสะกดคำจะช่วยนักเรียนที่ดิ้นรนกับการสะกดคำได้อย่างมากและ นักเขียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักเรียนในระดับสูงๆ ขึ้นเมื่อปริมาณงานเขียนเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย
แปลและเรียบเรียงจาก Spelling and Students with Learning Disabilities
โดย Louise Spear- Swerling (2005) จาก www.ldonline.com
แปลและเรียบเรียงโดย พรรษชล ศรีอิสราพร

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก