ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

Dysgraphia หรือ เด็กแอลดีที่บกพร่องทางการเขียน เป็นอย่างไร 21/08/2009

โดย ศูนย์บกพร่องทางการเรียนรู้แห่งชาติ (2006)

Dysgraphia หรือ เด็กแอลดีที่บกพร่องทางการเขียนจะได้รับผลกระทบในเรื่องความสามารถทางการ เขียน มีความยุ่งยากในการสะกดคำ ลายมือที่แย่ และมีความลำบากในการเขียน ความคิดลงในกระดาษ เพราะว่าการเขียนต้องการทักษะการแปลข้อมูลและการใช้ กล้ามเนื้อมือที่ซับซ้อน ดังนั้น จึงไม่ควรกล่าวเพียงว่า เป็นนักเรียนที่บกพร่องทางการเขียนเท่านั้น นักเรียนแอลดีที่มีปัญหาในการ แสดงออกทางการเขียนจะได้รับประโยชน์จากการให้ทางเลือกในการแสดงออกทางการ เขียนเป็นการเฉพาะจากสภาพแวดล้อมที่เหมาะแก่การเรียนรู้ ร่วมกับการฝึก ทักษะการเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อที่จะเป็นนักเขียนที่ประสบความสำเร็จ

อะไรคือสัญญาณเตือนว่า เป็น Dysgraphia หรือ เป็นเด็กแอลดีที่บกพร่องทางการเขียน
เพียงแค่มีลายมือที่แย่ไม่ได้หมายความว่า คนๆ นั้น เป็นDysgraphia หรือเป็นเด็กแอลดีที่บกพร่องทางการเขียน เพราะว่าการบกพร่องทางการเขียน เป็นเรื่องของความผิดปกติของกระบวนการ และความยุ่งยากสามารถจะเปลี่ยนแปลง ได้ตลอดชีวิต อย่างไรก็ตามเนื่องจากการเขียนเป็นกระบวนการที่ต้อง พัฒนา เด็กๆ จะเรียนรู้จักการใช้ทักษะกล้ามเนื้อมือเพื่อการเขียน ขณะเดียวกับต้องเรียน รู้จักใช้ทักษะการคิดเพื่อสื่อสารลงบนกระดาษ ดังนั้น ความยุ่งยากสามารถจะซ้อนกันด้วย

ถ้าบุคคลนั้นมีความยุ่งยากในหัวข้อข้างล่างนี้ ความช่วยเหลือเพิ่มเติมอาจจะเอื้ออำนวยผล

  • มีท่าทางและจับดินสอ ปากกาแน่นและเงอะงะ
  • ลายมืออ่านยาก
  • หลีกเลี่ยงงานเขียนหรืองานวาดรูป
  • มือล้าอย่างรวดเร็วเมื่อเขียนหนังสือ
  • พุดออกมาดังๆ ในขณะเขียน
  • เขียนคำที่ไม่สมบูรณ์ในประโยค
  • ยุ่งยากในการรวบรวมความคิดลงบนกระดาษ
  • ยุ่งยากกับการสร้างประโยคให้ถูกไวยากรณ์
  • มีความแตกต่างระหว่างความคิดที่เขียนออกมากับความเข้าใจที่แสดงออกทางการพูด

จะช่วยด้วยกลยุทธ์อะไรดี
มีหนทางมากมายที่จะช่วยคนที่เเป็นแอลดีที่บกพร่องทางการเขียน โดยทั่วๆ ไปมี 3 ยุทธวิธีคือ

  • ให้ทางเลือกในการแสดงออกทางการเขียน
  • เปลี่ยนหรือลดความคาดหวังหรืองานให้น้อยลง หรือหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นจุดอ่อน
  • ช่วยเหลือแนะนำเพื่อทำให้ลายมือและทักษะการเขียนดีขึ้น

แต่ ละวิธีการควรนำมาพิจารณาเมื่อจะวางแผนให้คำแนะนำและสนับสนุน บุคคลที่เป็น แอลดีจะได้รับผลที่ดีจากความช่วยเหลือของผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่เขาใกล้ชิด ที่สุด การค้นหาว่าวิธีสนับสนุนวิธีใดให้ผลมากที่สุดเป็นกระบวนการของการ ทดลองความคิดที่แตกต่างกันและการแลกเปลี่ยนความคิดอย่างเปิดเผยว่า อะไรได้ผลที่สุด

ข้างล่างนี้เป็นตัวอย่างของการสอนผู้บกพร่องทางการเขียนแต่ละคนให้เอาชนะความยุ่งยากในการแสดงออกทางการเขียน

นักเขียนวัยเด็กเล็ก

  • ใช้กระดาษที่มีเส้น เพื่อเป็นแนวให้เขียนอยู่ภายในเส้น
  • ลองใช้ปากกาหรือดินสอ ที่เหมาะมือที่สุด
  • ฝึก การเขียนตัวอักษรหรือตัวเลขในอากาศ ด้วยการเคลื่อนไหวของวงแขนอย่างกว้างๆ เพื่อพัฒนาความจำเรื่องรูปร่างที่สำคัญต่างๆ ของกล้ามเนื้อ พร้อมกับฝึกเขียนด้วยการเคลื่อนไหวแบบวงแคบเของนิ้วด้วย
  • สนับ สนุนให้เด็กวางท่าทาง วางกระดาษและใช้มือจับดินสอให้เหมาะสมในเวลา เขียน มันสำคัญที่จะส่งเสริมเรื่องนี้แต่แรกเริ่ม เพราะมันยากที่จะเลิก นิสัยแย่ๆ ในภายหลัง
  • ใช้ เทคนิคหลายประสาทสัมผัสเพื่อเรียนรู้ตัวอักษร รูปร่างและตัวเลข ตัวอย่าง เช่น พูดไปด้วยขณะเขียน เช่น ตัว “b” พูดว่า ขีดเส้นตรงลงมา ขีดเส้นวงกลมออกจากตัว
  • แนะ นำให้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่เนิ่นๆ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรให้เด็กเลิกเขียนหนังสือ ขณะที่การพิมพ์ช่วยให้เขียน ง่ายขึ้นเพราะไม่ต้องคับข้องใจในการเขียนตัวอักษร แต่การเขียนลายมือก็เป็นเรื่องสำคัญของความสามารถแต่ละบุคคลต่อการดำรงอยู่ ในโลก
  • อดทนและมองโลกในแง่ดี แนะนำให้ฝึกฝนและส่งเสริมความพยายาม เพราะการจะเป็นนักเขียนที่ดีต้องใช้เวลาและการฝึกฝน

นักเรียนวัยเยาว์

  • อนุญาตให้ใช้งานพิมพ์ได้
  • ให้ใช้กระดาษกราฟขนาดใหญ่สำหรับการคำนวนณทางคณิตศาสตร์เพื่อให้อยู่ในคอลัมน์ในแถวเป็นอย่างดี
  • ให้เวลาพิเศษในการทำงาน
  • เริ่มต้นงานเขียนอย่างสร้างสรรค์ด้วยการวาดรูปหรือเล่าความคิดใส่เทป
  • ให้ ทางเลือกจุดเน้นในการเขียน เช่น ใส่น้ำหนักของงานไปที่ความปราณีตและการ สะกดคำ ชิ้นอื่นๆ ให้น้ำหนักที่ไวยากรณ์และการเรียบเรียงความคิด
  • สอนแบบอย่างการเขียนแบบต่างๆ กันอย่างชัดเจน เช่น เรียงความบรรยายส่วนบุคคล เรื่องสั้น บทกวี เป็นต้น
  • อย่าตัดสินการให้งานที่จำกัดเวลาด้วยความปราณีตและการสะกดคำ
  • ให้นักเรียนอ่านพิสูจน์อักษรในเวลาต่อมา เพราะว่า สามารถเห็นข้อตกหล่นได้ง่ายขึ้นหลังจากพักสักครู่
  • ช่วย นักเรียนให้สร้างบัญชีตรวจสอบงานที่กำลังบรรณาธิการอยู่ เช่น การสะกดคำ ความปราณีต ไวยากรณ์ วิธีสร้างประโยค การแสดงความคิดที่ ชัดเจน เป็นต้น
  • สนับสนุนให้ใช้ตัวตรวจสอบการสะกด
  • ลดจำนวนการเขียนตาม แทนที่จะทำอย่างนั้น ให้เน้นไปที่การเขียนคำตอบหรือความคิดที่ริเริ่ม
  • ให้นักเรียนทำงานให้สำเร็จทีละน้อยแทนที่จะทำสำเร็จหมดทีเดียว
  • ค้นหาทางเลือกในการประเมินความรู้ เช่น การรายงานด้วยการพูด หรือ โครงการการมองภาพ
  • สนับสนุนการฝึกฝนที่ไม่เคร่งเครียดนัก ในการเขียนตัวอักษร เขียนบันทึกประจำวัน ทำงานภายในบ้าน หรือร่วมทีมกีฬา

วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่

  • ให้เตรียมเครื่องบันทึกเทบสำหรับการจดบันทึก และสำหรับตระเตรียมการบ้านงานเขียน
  • วางแผนการเป็นขั้นๆ ที่จะช่วยแบ่งการบ้านงานเขียนเป็นงานย่อยๆ ไป
  • เมื่อเรียบเรียงโครงการงานเขียน ให้สร้างบัญชีคำสำคัญ จะเป็นประโยชน์มาก
  • ให้ ผลตอบกลับที่สร้างสรรค์และชัดเจนในคุณภาพของงาน อธิบายถึงจุดแข็งและจุด อ่อนของโครงการ ให้ความเห็นเกี่ยวกับโครงสร้างและเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้อง ด้วย

ข้อ แนะนำเหล่านี้สามารถนำมาใช้ได้ทุกกลุ่ม จะไม่มีคำว่า เร็วไปหรือสายเกินไปที่จะสนับสนุนการฝึกทักษะที่จำเป็นเพื่อเป็นนักเขียนที่ ดี

บรรดา ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องอาจจะไม่รู้ว่าจะช่วยได้อย่างไร ให้พูดให้คนเเหล่า นี้ฟังเกี่ยวกับ dysgraphia หรือ การเป็นแอลดีที่บกพร่องทางด้านการเขียน อธิบายถึงเรื่องท้าทายที่คนที่บกพร่องทางด้านการเรียนรู้ต้องเผชิญ

วิธีทำการบ้านงานเขียน

  • วางแผนงานของคุณ (รวบรวมความคิดของคุณเข้าด้วยกัน และพิจารณาว่า คุณต้องการจะเขียนมันอย่างไร)
  • เรียบเรียงความคิด
  • วางโครงร่างให้แน่ใจว่า คุณได้รวบรวมความคิดทั้งหมดของคุณไว้แล้ว
  • ทำบัญชีความคิดหรือคำหลักๆ ที่คุณต้องการจะใช้ในงานเขียนของคุณ

เขียนร่างแรก
ร่าง แรกนี้ควรจะเน้นไปที่คุณได้วางความคิดของคุณลงบนกระดาษแล้ว อย่างกังวล เกี่ยวกับการสะกดหรือความผิดด้านไวยากรณ์ ให้ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยเพราะจะทำ ให้คุณง่ายต่อการแก้ไขภายหลัง
บรรณาธิการงาน

  • ตรวจสอบงานให้เหมาะสม ทั้งการสะกด ไวยากรณ์ วิธีสร้างประโยค และให้ใช้ตัวตรวจสอบการสะกดถ้าจำเป็น
  • ปรับปรุงเนื้อหาและรายละเอียดให้มากขึ้น -พจนานุกรมจะเป็นประโยชน์มากในช่วงนี้

ทบทวนงานและทำร่างสุดท้าย

  • ปรับปรุงการเขียนเป็นร่างสุดท้าย
  • อ่านครั้งสุดท้ายให้มั่นใจก่อนส่ง
แปลและเรียบเรียง จาก what is dysgraphia ? ของ ศูนย์บกพร่องทางการเรียนรู้แห่งชาติ (2006)
แปลและเรียบเรียงโดย พรรษชล ศรีอิสราพร

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก