ขณะนี้คุณอยู่ที่ ›

การแก้พฤติกรรมรบกวน: ปัญหาในการปฏิบัติตนของเด็กๆ แอลดี 23/07/2009

โดย Joyce Cooper-Kahn and Laurie Dietzel (2008)

การให้หลักการที่มองเห็นได้
การให้หลักการที่มองเห็นได้โดยการสอนกฎกติกาซึ่งสามารถนำไปใช้กับสถานการณ์ต่างๆ ได้ ตัวอย่างเช่น

  • “มัน ทำให้คนอื่นทำงานลำบากหรือฟังครูไม่ได้ยิน ถ้ามีเสียงดึงดูดความสนใจ อย่าใช้ปากทำเสียงยกเว้นเมื่อต้องการพูดในเวลาที่ตกลงกัน ขณะอยู่ในห้องเรียน”
  • “มัน หยาบคายที่จะฉกฉวยหรือแย่งชิงอาหารจากจานกลาง ถ้าต้องการขนมสักชิ้นจาก จาน ก็ควรจะขอร้องใครบางคนให้ผ่านจานมา แล้วจึงค่อยๆ หยิบขนมจากจานมาอย่างนุ่มนวล”
  • “การ ผลักคนอื่นในแถวเป็นเรื่องไม่สุภาพ ควรต้องคอยจนกว่าจะถึงคิวของตน และ เมื่อยืนอยู่ในแถว ให้อยู่ในที่ อย่าผลักคนอื่นที่อยู่ข้างหน้า”

วาดภาพความคาดหวังให้เขาเห็นชัดเจน
 
วาดภาพความคาดหวังให้เขาเห็นชัดเจนในสถานการณ์เฉพาะต่างๆ เพื่อที่เด็กจะได้ทราบสิ่งที่เขาถูกคาดหวัง ตัวอย่างเช่น

  • “รา เชล ดูเหมือนว่าเราจะต้องคอยในคิวนานหน่อยนึง ฉันหวังว่า เธอจะยืนต่อจากฉันตรงนี้ จนกระทั่งถึงคิวของเธอสั่งอาหาร อย่าดัน หรืออย่าวิ่งออกไปไหนล่ะ”
  • “แจ็ค พี่ชายเธอต้องทำการบ้านให้เสร็จเดี๋ยวนี้แล้ว อย่าชวนเขาคุยหรือคลานไปใต้ โต๊ะล่ะ เขาต้องการเวลาสงบ เงียบๆ จนกระทั่งเขาทำการบ้านเสร็จ ”

เสนอแนะและสนับสนุนให้หยุดการกระทำ
เสนอแนะและสนับสนุนให้หยุดการกระทำ เช่น ช่วยให้เด็กรู้ตัวว่าเมื่อไรควรจะหยุดการกระทำ ตัวอย่างเช่น

  • ใช้ภาษาธรรมดา ที่ไม่เป็นการประนามบอกเด็กให้หยุด ตัวอย่างเช่น

“อาเธอร์ ใช้ดินสอเคาะอย่างนั้น รบกวนเด็กคนอื่นเขานะ เธอควรจะต้องหยุดทำ”

  • ร่วม กับเด็กๆ โดยตรงสร้างสัญญาณที่ไม่ใช่คำพูดและไม่เป็นการบีบบังคับเด็กให้เด็กหยุดการ กระทำที่ไม่ถูกเสีย สำหรับคนที่ชอบเคาะดินสอ ก็อาจทำสัญญาณยกดินสอขึ้นให้เขาเห็น ก็น่าจะใช้วิธีนี้ได้ ลองพิจารณาร่วมกันลองผิดลองถูกระหว่างคุณและเด็กว่า วิธีใดใช้การได้
  • ใช้ การเตือนด้วยคำพูดเพื่อช่วยเหลือเด็กให้คิดถึงกฏกติกาต่างๆ ตัวอย่างเช่น “แมทธิว เรากำลังจะไปรับพี่ชายเธอที่โรงเรียนดนตรี เราอาจจะต้องคอยเขาเรียนจนจบบท เรียน เธอจำกฎระหว่างการเรียนดนตรีของไมเคิลได้ไหม เธอต้องคอยอยู่ในบริเวณข้างนอกและไม่ทำเสียงดัง”

วางแผนล่วงหน้า
วางแผนล่วงหน้า ถ้าเป็นไปได้ ให้หลีกเลี่ยงปัญหาโดยให้คำแนะนำแก่เขาล่วงหน้าก่อน ตัวอย่างเช่น

  • “ซารา ก่อนที่เราจะลงจากรถ เราต้องพูดกันก่อนที่เราจะเข้าไปในออฟิศหมอ ฉันรู้ว่า มันน่าเร้าใจที่จะร้องเพลงตามที่เธอฟัง MP 3 แต่ได้โปรดเถอะ ให้ฟังเพลงแต่ในหัวของเธอ โดยไม่ต้องร้องเพลงออกมาดังๆ ”
  • “เอม ม่า เรากำลังจะเข้าไปในภัตตาคารนาทีนี้แล้ว จำไว้นะ ถ้าเธอแกว่งเท้าใต้ โต๊ะ เท้าเธอจะเตะคนอื่น แต่เราจะให้เธอมีพื้นที่ใต้โต๊ะมากขึ้น โดยให้เธอนั่งอยู่ที่มุมโต๊ะ เพราะฉะนั้น ระวังเท้าของเธอให้อยู่ใต้เก้าอี้ของเธอด้วย”

สอนทางเลือกอื่นแก้ไขพฤติกรรมทางลบ
 
สอน ทางเลือกอื่นเพื่อแก้ไขพฤติกรรมทางลบ ทั้งนี้ ทดแทนพฤติกรรมทางลบด้วยพฤติกรรมที่เป็นไปได้ที่แตกต่างไป ตัวอย่างเช่น ให้ถือของเล่นนุ่มนิ่มที่ไม่ส่งเสียงดังขณะดูรายการแสดงหรือภาพยนตร์ แทน ที่จะปล่อยให้เด็กมือว่าง แล้วแหย่ หรือกระทุ้งหรือดึงเสื้อคนที่ไปด้วยกัน

ใช้การให้รางวัล
ใช้การให้รางวัลเป็นการเสริมแรงสนับสนุนต่อพฤติกรรมที่ประสบผลสำเร็จ

  • เมื่อ ต้องจัดการให้เด็กที่มีพฤติกรรมเฉพาะบางอย่างควบคุมตนเองได้ดีขึ้น มัน สำคัญมากที่จะต้องเสริมแรงช่วงที่เขาควบคุมตนเองได้ดี ยิ่งมีพฤติกรรมที่ ยุ่งยากมากเท่าไร ก็ยิ่งต้องให้การเสริมแรงด้วยคำชมหรือรางวัลที่เป็นรูปธรรม
  • อาจ จะมีพฤติกรรมเฉพาะบางอย่างที่ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นมาอีก การวางแผนควบคุม ความประพฤติเด็กโดยการเสริมแรงเมื่อเด็กควบคุมตนเองได้ดีจะช่วยได้ มีวิธี การมากมายในการวางแผนควบคุมความประพฤติเด็ก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เกี่ยวข้องกับการให้รางวัลที่เหมาะสมกับอายุเมื่อทำ พฤติกรรมที่พึงประสงค์ ให้สร้างความสำเร็จโดยการให้รางวัลบ่อยๆ และปรับเป้าหมายให้อยู่ในระดับที่เด็กสามารถบรรลุความคาดหวังได้มากที่ สุด และควรดำเนินการปรับเป้าหมายที่คาดหวังให้สูงขึ้นเสมอเมื่อเด็กมีความ สามารถมากขึ้น

ทดลองวิธีนี้ !
เมื่อ ต้องจัดการกับเด็กที่หุนหันพลันแล่น เราขอแนะนำให้ใช้การอุปมานี้นั่นคือ “ใส่เบรคเสีย” แม้แต่เด็กๆ ก็ต้องเข้าใจว่า เด็กๆ บางคนก็เหมือนกับรถยนตร์ที่มีเบรคอ่อน เราต้องอธิบายให้เด็กฟังว่า เขาต้องบริหารเบรคเสมอเพื่อให้ตนเองเข้มแข็งขึ้น และพ่อแม่ควรจะต้องช่วย เขาบริหาร มันเป็นอุปมาที่สามารถเข้าใจได้ทันที ด้วยการเตือนด้วยคำพูดตรงๆ สั้นๆว่า “เดนิส เธอวิ่งเร็วจนกระแทกคนอื่นๆ แล้วนะ เธอต้องใส่เบรคหน่อยแล้ว”

แปลและเรียบเรียงจาก Helping Children with Executive Functioning Problems Stop Irritating Behaviour โดย Joyce Cooper-Kahn, Ph.D. & Laurie Dietzel, Ph.D. จาก www.woodbinehouse.com แปลและเรียบเรียงโดย พรรษชล ศรีอิสราพร

ภาพประกอบบทความหน้าต่าง LD

แบบประเมินคุณภาพสื่อ สสพ.

คุณพอใจกับคุณภาพสื่อข้างต้นมากน้อยเพียงใด
  • พอใจมาก0
  • พอใจ0
  • ปานกลาง0
  • ไม่พอใจ0
  • ไม่พอใจมาก0
^ กลับสู่เนื้อหาหลัก